ศูนย์บริการสุขภาพในมหาวิทยาลัย


            สภาจุฬาฯ เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค. ๕๐  พิจารณาเรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพ     ทำให้มีการเสนอความเห็นเชิงหลักการ

• หน่วยงานนี้เปรียบเสมือน PCU – Primary Care Unit ในชุมชน      แต่กรณีนี้อยู่ในชุมชนจุฬาฯ    

• PCU เน้นทำหน้าที่ ให้บริการนำบัดความเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ     และดำเนินการเชิงรุกด้านป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสภาพ     ที่เน้นมากที่สุดคือการลดปัจจัยที่บั่นทอนสุขภาพในระยะยาว และระยะสั้น     ซึ่งตัวบั่นทอนที่สุดคือความเครียด  และปัญหาเชิงจิตตปัญญา (spiritual)

• ดำเนินการโดยคนในสหสาขา    และที่สำคัญ ผู้ให้บริการกับผู้รับบริการไม่แยกกัน     ผู้รับบริการเองอาจแสดงบทบาทเป็นผู้ให้บริการด้วย  
 
• หลักการสำคัญคือ voluntarism หรือจิตอาสา     กิจกรรม PCU จะมีพลังมากหากดำเนินการโดยใช้พลังของอาสาสมัคร มากกว่าพลังที่เป็นราชการหรือเป็นทางการ    แต่ดำเนินการร่วมกับพลังที่เป็นราชการหรือเป็นทางการ ให้เกิดพลังเสริมซึ่งกันและกัน  

• น่าจะเน้น “บริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์” (humanistic health services)   

• มหาวิทยาลัยน่าจะพัฒนารูปแบบของศูนย์บริการ PCU ในชุมชนเมือง ที่มีความก้าวหน้า     คล้ายๆ ทำงาน R2R ไปพร้อมๆ กันด้วย     และพัฒนา public policy ด้วย

วิจารณ์ พานิช
๒๖ ก.ค. ๕๐

 

หมายเลขบันทึก: 118076เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท