การสร้างความเข้มแข็งให้PCU


POWER3 of PCU

                  ผมได้มีโอกาสไปร่วมเสวนาในการประชุมวิชาการเรื่อง การพัฒนากระบวนการนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตไปใช้เพื่อรองรับการบริการปฐมภูมิ จัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายใต้ความร่วมมือกับคณะแพทย์ใหม่ 6 แห่ง ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยในระหว่างวันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยผมได้รับเกียรติจากอาจารย์หมอวณิช วรรณพฤกษ์ คณบดีสำนักวิชาการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ให้ไปร่วมเสวนาในหัวข้อ การสร้างความเข้มแข็งให้PCU” โดยมีผู้ร่วมเสวนาอีก 2 ท่านคืออาจารย์หมอสำเริง แหยงกระโทก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและอาจารย์หมอสุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ซึ่งผมเองก็เรียนอาจารย์ไปว่าผมไม่ได้เป็นผู้ชำนาญด้านนี้ แต่อาจารย์วณิชก็บอกผมว่าเชื่อว่าผมพูดเรื่องนี้ได้เพราะอาจารย์เคยไปประเมินโรงพยาบาลบ้านตากในเรื่องของHPH           

                    ผมพยายามควักความรู้ในตัวออกมาเพื่อนำเสนอในการเสวนาโดยไม่เปิดตำราหรือเอกสารเกี่ยวกับการทำเรื่อง PCU เพราะผมชอบพูดในสิ่งที่ผมได้ทำมากกว่า พูดตามเอกสารตำรา  เวลาใครเชิญผมไปพูด ถ้าผมไม่ได้ทำเอง ผมจะไม่พูดเพราะรู้สึกว่าพูดแล้วไม่มัน ไม่ได้อรรถรส ถ้าพูดจากประสบการณ์แล้วมันจะลื่นไหลได้ดีกว่า           

                     การสร้างความเข้มแข็งให้PCU ผมได้สรุปออกมา 3 หลักการใหญ่ๆ 3 ข้อ คือ

          Give & Care เริ่มจากการให้            ให้ความไว้วางใจ/เชื่อใจ ยอมรับในศักยภาพของผู้ปฏิบัติเป็นการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของแต่ละคนโดยเคารพความรู้หรือศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนตามแนวคิดองค์ประกอบ 10 ประการของอาจารย์หมอประเวศ วะสีให้ความเข้าใจในความรู้ แนวคิด การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ให้ความสนใจให้ความเห็นอกเห็นใจให้ความรู้สึกที่ดีต่อกันให้การสนับสนุนด้านบริหารจัดการ

          Share & Learn เจอกันบ่อยๆ            มีการประชุม, มีการติดตามงาน, มีการประเมินผล, มีเครือข่ายการเชื่อมโยง, มีการสนับสนุนจากชุมชน

          Show & Shine มีเวทีโชว์ผลงาน, มีการยกย่องชมเชย

                         หน่วยปฐมภูมิที่เข้มแข็ง : POWER3 of Primary care unit ประกอบด้วย 7 ปัจจัย คือ

          Participation การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

          Organization การจัดโครงสร้างหน่วยงาน กรรมการ

          Local Wisdom เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

          Empowerment เสริมพลังอำนาจ เจ้าหน้าที่และคนในชุมชนร่วมตัดสินใจ

          Resource จัดสรรทรัพยากรทั้งภายในภายนอกเหมาะสม

          Response ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชน

          Result ทำงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของชุมชน

                 ปัจจัยทั้ง 7 ประการนี้ ผมได้พยายามสกัดออกมาจากการทำงานโดยปรับปรุงมาจาก POWER3 of Community

คำสำคัญ (Tags): #pcu#บรรยาย
หมายเลขบันทึก: 117714เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • แวะมาเรียนรู้ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ได้แนวคิดที่ดีมากค่ะ เป็นหัวหน้า PCU แห่งหนึ่ง แต่กำลังรู้สึกอึดอัด กับการบริหารงานของตน ที่ดูจะไม่ดีเท่าที่ควร ปีหน้าจะให้พัฒนาเป็น CMU ก็เห็นเพื่อนๆเขาเป็นกันแล้ว แต่มันไม่เป็นเหมือนฝัน แค่หาแพทย์มาอยู่ก็มีปัญหาแล้ว ได้แพทย์ที่เกษียณแล้ว และไม่ใช่ที่ปรึกษาด้านชุมชน สิ่งหนึ่งที่ได้มาอย่างไม่ได้คาดหมายคือ คนไข้ล้นหลาม ฝืนวิถีชีวิต ชาวอนามัยที่สุดๆเลยค่ะ บุคลากรน้อยมากจนเริ่มท้อ

ถ้าคุณหมอมีข้อเสนอแนะก็เชิญนะคะ

                 สวัสดีครับคุณตันติราพันธ์ ผมขอส่งแรงใจมาช่วยให้ผ่านภาวะอึดอัดนี้ไปให้ได้ครับ

                 ในความเห็นของผม ผมไม่เห็นด้วยกับCMUและโรงพยาบาลที่ผมเคยอยู่ก็ไม่อยากทำCMUครับ ผมไม่อยากทำอนามัยให้เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กในตำบล เพราะคิดว่าเป้นการลงทุนที่ไม่คุ้มและลดทอนศักยภาพและความถนัดอันมีค่าของสถานีอนามัยลงไปพึ่งพาศักยภาพทางการแพทย์ของแพทย์ที่อาจไม่เข้าใจชุมชนเพียงพอ จนอาจเกิดสภาพย้ายโอพีดีจากโรงพยาบาลมาอยู่ที่อนามัยชั่วครู่ชั่ววันเท่านั้น

               ผมจำได้ สมัยเด็กๆ ที่หมู่บ้านมีหมออนามัยคอยให้การดูแลรักษาชาวบ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือของชาวบ้านมาก สมัยนั้นไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีFamily folderในกระดาษหรือคอมพิวเตอร์คอยเก็บข้อมูล แต่หทออนามัย่ทานั้นรุ้จักหมดเลยว่าใครเป้นลูกใคร บ้านไหนมีคนท้อง ครอบครัวนั้นมีใครบ้าง หม่บ้านมีอะไรกันบ้างช่วงไหนทำไร่ทำนา ช่วงไหน เก็บเกี่ยว ซึ่งปัจจุบันก็มากำนดให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน แต่ไม่แน่ใจว่าที่มีโฟลเดอร์ครบนั่นนะ รู้จักชาวบ้านหมู่บ้านแค่ไหน

             การลงทุนในCMUต้องหาเครื่องมือเพิ่ม คนเพิ่ม นอกจากหมอก็ต้องหาเจ้าหน้าที่แล็บ เอกซ์เรย์และอื่นๆอีก ค่าใช้จ่ายตามมาอีกเพียบ นี่ยังไม่รวมการปรับตัวเข้าหากันของหมออนามัยกับหมอโรงพยาบาลที่จะลงไปทำงานร่วมกัน บนพื้นฐานความคิดที่ไม่ค่อยเหมือนกันอีก

               ในใจผมอยากให้ทำให้หมออนามัยสามารถดูแลคนไข้แบบองค์รวมได้ดีเหมือนอดีต ทำให้เกิดGood Health at Low cost ที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง ใชความใกล้ชิดสนิทสนมไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อสรางความเข้าใจ โน้นมน้าวใจให้ชาวบ้านมีวุขภาพดี เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้น้อยลงและร่วมช่วยกันดูแลสุขภาพในชุมชนของตนเองให้เป็นลักษณะ All for Health, Health for all โดยใช้ Low Technology, High touch เพื่อทำให้เกิดLow cost, Low riskแต่High Happiness

ขอบคุณกำลังใจ จากผู้ที่เข้าใจสภาวะของชาวอนามัยไดดีคนหนึ่ง ดิฉันเสียดาย วัฒนธรรม การทำงานของสถานีอนามัย มันเป็นเอกลักษณ์             เทคนิกเราอาจจะด้อยไปบ้าง ตามสภาพที่มีจริง แต่ศิลปของเราไม่เคยด้อยกว่าใครเลย เรารักชุมชน ซึ่งก็บอกไม่ได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แค่มีแพทย์มา เดือนละ 1 ครั้ง ก็ทำให้ชีวิตคนไข้เปลียนไปมาก คุณหมอเชื่อไหม ลุงป้า สมัยนี้ ที่มารักษา กลายเป็น ยานิยมแล้ว บางคนได้ยาไปถึง 12 ชนิดต่อครั้ง ตรวจสอบยังไง เขาก็ไม่เคย บอกวิธืกินยาได้ถูกต้องสักที รู้สึกเป็นห่วง วันหนึ่งมีคนไข้อายุ 90 ปี มาบอกว่า เมื่อวานหมอ(จาก รพ.) จ่ายยาขาดไป 2 ชนิด พอนับดูยายมียาประจำ 7 ชนิดแล้ว ยาที่ไม่ได้ไป เป็นยาเฉพาะอาการ คนไข้เริ่มมีทัศนคติว่า พบหมอ ก็ต้องได้ยาไปเสียแล้ว และเป็นความผิดของดิฉันเองด้วย ที่ไม่ได้ดูแล คนไข้อย่างใกล้ชิด เหมือนแต่ก่อน เพราะวันไหนหมอออกหน่วย ข้าวเช้าก็ไม่ได้กิน แถมกว่าจะหมดคนไข้ ก็ บ่ายค่ะ แต่ตราบใดที่ระบบของเรา ยังเป็นUp-Down ก็คงมี โรงพยาบาลตำบล ที่อ่อนแอ เกิดขึ้นอีก 1 แห่ง อย่างแน่นอนในปีหน้านี้ค่ะ

เรียนคุณตันติราพันธ์

              สมัยผมเป็นนักศึกษาแพทย์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ผมชอบไปออกหน่วยแพทย์มาก แต่พอมาในปีหลังๆ ผมกลับมีความรู้สึกว่า เหมือนการออกไปแจกยาให้ชาวบ้าน บางคนถามไปถามมาบอกว่าที่บอกอาการป่วยของเรานั้นเป็นเมื่อ 6 เดือนก่อน แต่วันที่มารับยาไม่เป็นแล้ว ที่มาเพื่อขอยาเก็บไว้เผื่อจะเป็นอีกในวันข้างหน้า ผมก็รุ้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่พอได้คุยแลกเปลี่ยนกันหลายๆคนก็กลับได้คิดว่า นั่นเป็นบริบทของชาวบ้านที่อยู่ห่างไกล เวลาเขาป่วย เราไม่อยู่ เขาไม่รุ้จะไปเอายาที่ไหน พอเรามาเขาก็มาขอเก็บไว้ก่อน ก็ทำให้ได้คิดเหมือนกัน

             ในบางสภาพที่ไม่ยุ่งยากในการมารักษาเพราะอยู่ใกล้อนามัยหรือใกล้โรงพยาบาลก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงเราก็เจอแบบที่คุณบอก เวลาไปออกพีซียู บางทีก็อธิบาย บางทีก็เหนื่อยจนไม่อยากอธิบาย ก็ให้ๆไป ถ้าไม่ให้ก็จะหาว่าเราหวงอีก ก็น่าเห็นใจครับ ระบบสุขภาพที่สอนให้ประชาชนต้องพึ่งแพทย์ ยาและบริการมากเกินไปนี้ น่าจะเป็นผลเสียต่อระบบสุขภาพของประชาชนในอนาคต

               ระบบสุขภาพที่ดี ต้องสอนให้คนพึ่งตนเองมากกว่าพึ่งบริการ สอนให้คนรู้สิทธิของตนเอง ไปพร้อมกับสอนให้คนรู้หน้าที่ของตนเองเช่นกัน บ้านเรามีแต่ให้สิทธิ มีสิทธิผู้ป่วย แต่ไม่มีหน้าที่ แต่ต่างประเทศหลายแห่งเขากำหนดสิทธิไปพร้อมๆกับหน้าที่ของผู้ป่วย

                อย่าท้อเลยครับ ทำเท่าที่เราทำได้อย่างเต็มที่ พอมีเวลาบ้าง ก็ออกไปพักผ่อนนอกอนามัยด้วยการพูดคุยกับชาวบ้าน อย่ามุ่งหวังมากเกินไปในช่วงสั้นๆ มองภาพฝันอันสวยงามในอนาคตที่เรามุ่งหวังและมีส่วนร่วม แม้จะไกล แต่มันคือกำลังใจของคนทำงาน มีความสุขกับความสำเร็จเล็กๆน้อยๆที่เราทำ เช่นคำชมของผู้ป่วย สุขภาพที่ดีขึ้น(บ้าง)ของประชาชน...แล้วเราจะมีความสุขอันยิ่งใหญ่ตามมาในอนาคตได้โดยไม่รู้

                การทำงานก็เหมือนเราอยู่บนเส้นทางการเดินทาง ใจเรารู้ว่าจุดหมายอยู่ตรงไหน แต่ตาเราอย่าไปมัวมองเฝ้าหาอยู่แต่เป้าหมายสุดท้ายของการเดินทางเท่านั้น เราควรหยิบจับ ชื่นชมความสวยงามของทิวทัศน์ริมทาง ดอกไม้ใบหญ้าอันสวยงามพร้อมหยิบมันติดมือไปด้วย เราจะถึงปลายทางได้อย่างมีความสุขตลอดเวลา

 

เข้ามาเยี่ยมค่ะ   หมอยังอยู่ที่บ้านตากหรือเปล่าคะ

เรียนอาจารย์อัจฉราครับ

               บ้านพักยังอยุ่ที่บ้านตาก แต่ที่ทำงานอยู่ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตากครับ ช่วง4-5 เดือนมานี้ ผ่านทางสถาบันบำราศนราดูรบ่อย เห็นการพัมนา เห็นสิ่งดีๆมากมาย ชื่นชมมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท