เมืองแห่งการเรียนรู้?


ถ้าทีมงานยังรู้สึกว่าถูกบังคับก็คงไม่สนุกนัก นครศรีธรรมราชคงไม่สิ้นคนใจอาสา

โรงเรียนคุณอำนวยตามระบบงบประมาณยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขรอบ2   มีเวลาดำเนินการไม่ถึง2เดือน (ผมเคยสรุปไว้ว่าระบบงบประมาณรายปีของทางราชการเป็นอุปสรรคในการพัฒนาทั้งโครงสร้างที่มีหน่วยจัดการรวมศูนย์อยู่ที่กรม ระยะเวลาและการดำเนินงานที่เน้นตัวกิจกรรมมากกว่าผลลัพธ์)

พวกเราพยายามแก้ไขข้อจำกัดด้วยการทำงานร่วมกันในระดับจังหวัด ที่เรียกว่า "บูรณาการ" ซึ่งที่จริงก็มีคณะกรรมการชื่อนี้ตั้งอยู่ในทุกๆจังหวัดอยู่แล้ว แต่ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนักเพราะต่างก็ห่วงงานหน้าตักของตนเอง

บทเรียนของจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดวางroadmapการพัฒนาระยะเวลา6ปีในชื่อโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครด้วยงบบูรณาการในยุครัฐบาลไทยรักไทยต้องปรับใหม่เพราะนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่

โรงเรียนคุณอำนวยถือเป็นโครงการเล็กๆที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด   นำมาใช้เพื่อจัดโครงสร้างการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชในระยะยาวด้วยการพัฒนากำลังคนหน้างานอย่างบูรณาการในบทบาทของผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนประกอบด้วย 1)ทีมจัดการความรู้ระดับตำบลๆละ 6-7คนรวม1,000คน
2)ทีมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของนักจัดการความรู้ตำบล120คน 3)ทีมเอื้ออำนวยการทำงานของนักจัดการความรู้ตำบลอำเภอละ2คน4)ทีมสนับสนุนระดับจังหวัด 1 ทีม

ยุทธศาสตร์หลักคือ การพัฒนาคน
เพื่อสร้างคุณค่าในงานที่ทำอย่างมีความสุข
เพื่อพัฒนาความสามารถตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างดีที่สุด

ความหมายคือ
1)คนทำงานใน4บทบาทดังกล่าวเห็นคุณค่าในงานและมีความสุขกับงานที่ทำ จนไม่รู้สึกว่าเป็นงานแต่เป็นหน้าที่ของชีวิต
2)คนทำงานใน4บทบาทดังกล่าวได้พัฒนาความสามารถของตนเพื่อให้ผลของงานเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากยิ่งขึ้น

ประเด็นสำคัญคือ ทีมงานทั้งหมดต้องมีความรักในงานที่เรากำลังจะดำเนินการกันคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในบทบาทของผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้หรือคุณอำนวยในแต่ละระดับ ผมจึงเสนอให้เป็นการสมัครใจ แต่ที่ประชุมเห็นว่า ถ้าสมัครใจคงไม่ได้ครบตามจำนวนแน่ จึงต้องขอร้องแกมบังคับกันซึ่งไม่ค่อยดีนัก

อย่างไรก็ตาม พวกเรารู้ว่าแต่ละคนมีงานหน้าตักที่ต้องรับผิดชอบ     จึงพยายามออกแบบภารกิจให้หนุนเสริมงานหน้าตักหรือให้กลมกลืนกับงานหน้าตักเพื่อให้เกิดประโยชน์กับงานในภาพรวม และงานที่แต่ละคนรับผิดชอบ โดยเฉพาะเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการทำงานเพื่อการเติบโตก้าวหน้าในอนาคตด้วย

พวกเราคิดว่าถ้ามีทีมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในทุกตำบลๆละ6-7คนจากภาคส่วนต่างๆก็จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำรงอยู่ในโลกโลกาภิวัฒน์อย่างรู้เท่าทันและมีความสุขได้อย่างพอเพียง

ถ้าทีมงานยังรู้สึกว่าถูกบังคับก็คงไม่สนุกนัก
แต่นครศรีธรรมราชคงไม่สิ้นคนใจอาสา

ใน2เดือนนี้ จะเป็นการเตรียมทีมงานและเนื้อหาการเรียนรู้ทั้งหมด     อยู่ดีมีสุขปี2551 ถึงจะเริ่มกระบวนการเรียนรู้กัน

หมายเลขบันทึก: 117587เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนสร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน ลำปาง

สวัสดีคะท่านอาจารย์ภีมลูกศิษย์ลำปาง (เถิน)

รายงานที่คุณภีมเขียนนั้น คุณภีมจำได้ไหมคะว่ามีวันหนึ่งที่ลำปางเจอเหตุการณ์อะไรขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวันที่นกได้พูดไว้ว่าสิ่งที่ชุมชนต้องพร้อมคือคนทำงาน งานไหนที่ชุมชนอยากทำต้องพร้อมอันดับแรกคือคนทำงาน นกได้แลกเปลี่ยนกับพี่ดาที่สงขลาเรื่องการทำงานชุมชนตลอด นำสิ่งที่ดีมาแลกเปลี่ยนกันตอนนี้เครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทฯ  ได้คิดจะพัฒนาระบบโปรแกรมที่เป็นระบบบัญชีให้องค์กรชุมชนอื่น ที่อยากจะนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มของตัวเองได้โดยมาศึกษาแลกเปลี่ยนการทำงานของแต่ละพื้นที่ได้ทำกิจกรรมด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็ตามชุมชนต้องการสิ่งที่ทำแล้วไม่ซับซ้อน ตรวจสอบง่าย ทำแล้วรวดเร็ว โปร่งใสมีความเชื่อมั่นสูง ไม่ต้องมาเสียเวลากับงานในระบบบัญชีให้มากนักเน้นเรื่องการทำกิจกรรมให้ชุมชนเข้มแข็ง ระบบก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชุมชนมีความเชื่อมั่นในการทำงานของคนทำงานเพราะสามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา รู้ที่มาที่ไปของเงินหรือสิ่งที่ชุมชนอยากรู้ได้ เมื่อก่อนพวกเราไม่คิดว่ามันจะมีประโยชน์มากขนาดนี้แต่เดี๋ยวนี้ ชุมชนรู้อะไรมากขึ้นจากข้อมูลที่ชุมชนได้เก็บไว้  และได้พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ กว่าจะมีการพัฒนาได้ในระดับนี้ก็ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ที่ทางคุณภีมได้มาจับทิศทางเพื่อไม่ให้เดินหลงทางไปในทางตันไม่มีทางที่จะเดินต่อ  ฉะนั้นสิ่งนี้นับว่าการจัดการความรู้ก็คือกระบวนการที่ชุมชนได้เรียนรู้ด้วยชุมชนเอง ตัดสินใจเองกล้าที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น และง่ายขึ้นตอนนี้เครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทได้มีคนที่ร่วมขบวนการแล้วหลายกลุ่ม  พี่ใหญ่อย่างกลุ่มที่มีสมาชิกมากก็เป็นครูพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเล็ก และช่วยกันพัฒนาเส้นทางที่จะเดินต่อไป ให้ถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งเป้าไว้จนกว่าจะหมดแรง

 

 

ขอบคุณคุณนกที่ติดตามและส่งข่าวให้ทราบอยู่เนืองๆ อยากให้นกช่วยเป็นกระบอกเสียงรายงานผลการดำเนินงานของเครือข่ายโซนใต้ให้ผู้สนใจทราบด้วย

เขียนเป็นตอนๆก็ได้ เช่น

ตอนที่1 ความเป็นมาและจำนวนสมาชิก
ตอนที่2 เรื่องประทับใจจากการทำงาน
             เรื่องที่1
             เรื่องที่2       
             เรื่องที่3

เขียนเล่าดีๆ ผมจะขอพิมพ์รวมเล่มเพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งๆขึ้นครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท