นักวิชาการกับชุมชน มาเป็นหุ้นส่วนความรู้กันดีไหม


  

โจทย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะเจ้าภาพจัดงานเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย หัวข้อเรื่อง การเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน ในวันที่23-24 สิงหาคม 2550 เพื่อให้สมาชิกระหว่างมหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดแนวทางในการขับเคลื่อนเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชนของมหาวิทยาลัย  นับเป็นโอกาสดีที่สถาบันการศึกษาจะได้มานำเสนอวิธีคิดวิธีการเกี่ยวกับการนำวิชาการเข้าไปสู่วิชาชีพภายในชุมชน

มีการพูดกันมากเรื่องมหาวิทยาลัยมุ่งผลิตบัณฑิตสนองตอบตลาดแรงงาน เมื่อเห็นดีเห็นงามตรงกันในมุมมองนี้ แต่ละมหาวิทยาลัยต่างเปิดภาควิชาขึ้นเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ในขณะเดียวกันเราละเลยมองไม่เห็นว่า ในวิถีชุมชนก็ต้องการวิชาความรู้และขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้มาช่วยฟื้นฟูกลไกการพัฒนาท้องถิ่นเช่นกัน แต่ความต้องการประเภทหลังนี้ ไม่ทราบว่านับเข้าไว้ในระบบที่จะสนองความต้องการแรงงานหรือเปล่า  

ผมไม่ทราบว่าเราตีความเรื่องแรงงานกันอย่างไร แต่มองว่าทุกคนต่างก็เป็นแรงงานด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่มีคุณสมบัติมีสถานการปฏิบัติงานแตกต่างกันไป การผลิตบัณฑิตเพื่อสนองตอบตลาดแรงงานเป็นความคิดที่พอรับได้ แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับกลุ่มแรงงานในขณะนี้  คนงานกำลังถูกโล๊ะออกจากโรงงาน เท่าที่ประมาณการคร่าวๆนับเป็นแสนคน บวกกับบัณฑิตตกงานอยู่ก่อนแล้วรวมกันทั้ง2ส่วนนี้ประมาณ300,000 คน 

ถามว่าเราจะเอาแรงงานกลุ่มนี้ไปวางไว้ตรงไหน แต่ถ้าเราผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ที่พอที่จะพลิกแพลงเอาตัวรอด สามารถที่จะสร้างงานเองได้ คำว่าตกงานก็จะไม่สาหัสสากรรจ์เช่นในขณะนี้ การผลิตบัณฑิตให้ความรู้ความความสามารถอย่างแท้จริง น่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของสถาบันการศึกษา ควรเอาเรื่องการผลิตบัณฑิตไปสนองแรงงานเป็นเรื่องรั้งท้าย ถ้าคิดได้คิดทำอย่างนี้แนวทางผลิตบัณฑิตก็จะครอบคลุมตามความเป็นจริงของสังคมไทย  

บัณฑิตที่ดีมีความรู้จริงนั้น ไปตกหล่นอยู่ตรงไหนก็จะแพร่เชื้อการเรียนรู้ การยกระดับความรู้ การพัฒนางาน การสร้างงาน ความรู้ก็จะเข้าถึงทุกซอกทุกมุมของสังคมไทย ไม่ใช่ไปออกันอยู่หน้าโรงงาน แผนการต้อนบัณฑิตเข้าลู่เดียวก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ในประเด็นการเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน ยังมีคำถามอีกมาก เช่น 

  • ใครจะเชื่อมใคร
  • เชื่อมด้วยอะไร
  • ใช้กระบวนการอะไรเข้าไปเชื่อม
  • มีวิชาการที่พร้อมเชื่อมเข้ากับบริบทของชุมชนแล้วหรือยัง
  • ความพร้อม ความรู้ ความต้องการ จูนตรงกันแล้วใช่ไหม
  • แต่ละขั้วเข้าใจเรื่องนี้ว่าอย่างไร
  • เห็นความหมายความสำคัญตรงกันแค่ไหน
  • ตระหนักอย่างถ่องแท้แล้วหรือยังว่านี่คือ หน้าที่ บทบาท และจุดยืนของสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น

 ไม่ทราบว่าจะผิดหรือถูกนะครับ เรื่องการเชื่อมโยงวิชาการเข้ากับชุมชนที่ว่านี้ ที่ผ่านมาทั้ง2ฝ่ายต่างอ่อนล้าอ่อนแรง ไม่ค่อยมีการเอาจริงเอาจังด้วยกันสักเท่าไหร่ ถ้าชวนทำเรื่องนี้ก็จะเหมือนขืนโคให้กินมาม่า ทำท่าว่าจะผละลูกเดียว มองเป็นยาขมหม้อใหญ่ ไม่ยอมลงทุนไม่ยอมเหนื่อยยาก บางพื้นที่ทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองด้วยซ้ำไป 

  โจทย์ข้อนี้ถ้าจะให้เป็นไปในเชิงรุกได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่  ทั้งสองฝ่ายต้องเข้าใจตรงกันว่าทำไมถึงต้องร่วมมือกันทำเรื่องนี้ ตัวชุมชนเองต้องมีเจ้าภาพมาเตรียมความพร้อมด้านติดอาวุธทางปัญญา เพื่อให้เกิดความต้องการเรียนรู้อย่างจริงจังมากขึ้น 

วันไหนที่ชุมชนเรียกร้องหาความรู้ วันนั้นละครับ..

ที่บุคลากรในสถาบันการศึกษาจะต้องคิดหนักว่าจะเอาความรู้อะไรไปให้เขา 

อย่าบอกนะว่าเรามีอยู่ป๊ะเลอะปะเต๋อ ในความเป็นจริงแล้ววิชาความรู้ในสถาบันบางเรื่องก็ดีมาก บางเรื่องก็เหลาเหย่เหมือนกัน บางเรื่องต้องมาปอกเปลือกเสียก่อนชุมชนถึงจะบริโภควิชาความรู้ได้ วิชาการที่มาทั้งดุ้นทื่อๆแบบลอกพิมพ์เขียวจากต่างประเทศ ชาวบ้านเขาโยนทิ้งจนขี้เกียจแล้วละครับ ถ้าให้ดีต้องมานั่งจับเข่าคุยกัน จนเกิดความรู้สึกว่าทั้งสองฝ่ายหัวอกเดียวกัน เป็นที่พึ่งของกันและกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ถ้าทำได้ควรหาเจ้าภาพจับวิชาการแต่งงานกับวิชาเกิน หรือจะผูกเสี่ยวผูกดองก็แล้วแต่อัธยาศัย ผมไม่เชื่อว่าเราจะเชื่อมโยงวิชาการเข้าสู่ชุมชนได้ด้วยการตะโกนว่า ยู้ฮู ชุมชนอยู่ไหน หรือการจัดแบบปล่อยให้ผู้ใหญ่ลีไปตีกลองประชุมฝ่ายเดียว ไม่มีพันธมิตรวิชาการไปร่วมด้วย   

ยุคนี้ชุมชนบางแห่งเขาพัฒนาไปจนเป็นเครือข่ายG2K มีBlogไปเชื่อมโยงข้ามมหาวิทยาลัยไปแล้ว คิดผิดคิดใหม่ได้นะครับ ไม่มีอะไรสายเกินแก้ เว้นแต่อย่าทำแบบ ไร๋ทำเถิด อย่าเปิดผ้า ..ปิดผ้า กับ แก้ผ้า คนละความหมายใช่ไหมครับ ถ้าเข้าใจผิดก็แนะนำผมด้วย. อิอิ..

หมายเลขบันทึก: 117382เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
เรื่องเล่าจากดงหลวง 146
ประเด็น"การเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน"ของบางทราย
มีสาระอย่างน้อย 5 เรื่อง(Key word) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ กล่าวคือ วิชาการอะไร / ใครเป็นผู้เชื่อมโยง / เครื่องมืออะไรที่จะเอาความรู้ไปเชื่อม / เชื่อมด้วยการบวนการอะไร / ใครคือชุมชนที่เป็นเป้าหมาย

สืบเนื่องจาก การเสวนาจัดการเครือข่ายความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11 ของอาจารย์ขจิต และ  KM ในมหาชีวาลัยอีสาน » นักวิชาการกับชุมชน มาเป็นหุ้นส่วนความรู้กันดีไหม ของท่านครูบาสุทธินันท์ ผู้บันทึกจึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในหัวข้อเรื่อง การเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน ที่ มมส.กำลังจะจัดเสวนาขึ้นในวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ เนื่องจากผู้บันทึกลองใช้มุมมองในฐานะคนทำงานกับชุมชน ซึ่งอาจจะแตกต่างจากมุมมองอื่นๆ หากเป็นประโยชน์บ้างก็ใคร่เสนอไว้ในที่สาธารณะนี้ดังต่อไปนี้ 

มีสาระอย่างน้อย 5 เรื่อง(Key word) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ กล่าวคือ วิชาการอะไร / ใครเป็นผู้เชื่อมโยง / เครื่องมืออะไรที่จะเอาความรู้ไปเชื่อม / เชื่อมด้วยการบวนการอะไร / ใครคือชุมชนที่เป็นเป้าหมาย   เพราะหัวข้อนี้น่าสนใจมาก และเป็นเจตนาที่ดีของสถาบันที่จะดำเนินการ จึงใคร่เสนอความคิดเห็นเป็นเชิงประเด็นคำถาม หรือประเด็นอภิปราย ต่อไปนี้ 

วิชาการอะไร: ที่จะเอาไปเชื่อมกับชุมชน อาจมองได้สองส่วนคือ

  • วิชาการที่สถาบันมีอยู่แล้ว แล้วเอาไปสู่ชุมชน
  • วิชาการที่ถูกกำหนดความต้องการโดยชุมชน ซึ่งสถาบันอาจจะมีบ้างและไปแสวงหามาจากที่อื่นๆบ้าง

แต่ทั้งหมดต้องเน้นว่าชุมชนได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเรานิยมมองแบบเอาชุมชนเป็นตัวตั้งหลัก แล้วจัดวิชาการไปให้สอดคล้อง ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาเสมอว่าวิชาการไม่เหมาะสมกับชุมชน อาจจะไม่ได้ย่อยให้ง่าย และหรือ วาการนี้เหมาะกับชุมชนนี้ แต่อาจจะไม่เหมาะกับชุมชนอื่นๆ ฯลฯ 

ใครเป็นผู้เชื่อมโยง: หากจะเข้าใจไม่ผิดจะหมายถึงมหาวิทยาลัย หรือเรียกรวมๆก็คือ สถาบันการศึกษา องค์ความรู้ของสถาบันมีมากมายก่ายกอง แต่ผู้เชื่อมมีทักษะ ความจัดเจนแค่ไหนถึงจะเชื่อมกันติด เชื่อมแล้วเกิดประโยชน์ต่อเนื่อง ยั่งยืน  หรือเพียงแต่เบื้องต้น แล้วก็จางหายไปในเบื้องกลางและเบื้องปลาย ฯลฯ 

มีเครื่องมืออะไรเชื่อมโยง: เราเคยเห็นที่อ่านหนังสือพิมพ์ในหมู่บ้านที่ล้มครืน เราเคยเห็นที่พักเกษตรตำบลในหมู่บ้านร้าง ผุ พัง ทั่วประเทศ ไม่มีเจ้าหน้าที่อาศัยอยู่ เราเคยเห็นหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านที่ยังคงทำงานเพียงไม่กี่แห่งจากทั่วประเทศ เรากำลังเห็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลรกร้าง ว่างเปล่าฝุ่นจับหนังสือ ตำราเกรอะไปหมด เรากำลังเห็นศูนย์คอมพิวเตอร์ที่อบต.เป็นที่เล่นเกมส์ของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ 

มีกระบวนการอะไรในการเชื่อม: ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต. และผู้แทนกลุ่มองค์กรชาวบ้านต่างๆในวันพิธีเปิด ใช่หรือไม่ มีการประชุมทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชนบ้าง แต่เนื้อหาสาระยังห่างไกลจากวิถีชีวิตของเขาหรือเปล่า หรือวิธีการอะไรในการเชื่อม มีความต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร จัดทำที่ไหน ช่วงไหนของฤดูกาล สอดคล้องกับวิถีเข้าแค่ไหน ? ฯลฯ 

ใครคือชุมชนที่เป็นเป้าหมาย: ชุมชนในเมืองกับชนบท ต่างกัน ชุมชนชนบทที่มหาสารคามกับที่ดงหลวง ต่างกัน  ทั้งในแง่ระบบภูมินิเวศน์วัฒนธรรม และวิถีชีวิต และลักษณะเฉพาะของชนเผ่า ต่างกันมาก เมื่อชุมชนต่างกัน ทุกเรื่องข้างต้นที่กล่าวมาแล้วสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะนี้อย่างไร? ฯลฯ  

ผู้บันทึกเพียงตั้งประเด็นให้ทุกท่านที่จะเข้าร่วมสัมมนาได้นำไปถกต่อ แล้วนำผลมาเล่าสู่กันฟังด้วยครับ  ทั้งหมดนี้ผู้บันทึกอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนก็ได้ ต่อสาระ ต้องขออภัยล่วงหน้าก่อน แต่หากไม่คลาดเคลื่อน ลองอภิปรายประเด็นดังกล่าวซิครับ ??

ขออนุญาต ท่านบางทรายเอายอดความคิดพันธุ์ดี มาเสียบยอดกับต้นพันธุ์พื้นเมือง ยอดของดีก็จะเจริญเติบโตไปได้ด้วยวิธีเรียนลัดนี้ เสนอทางเลือกในการจัดเสริมวิธีค้นหาความรู้ ที่อาจารย์หนักใจในวัฒนธรรมCopy

 บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 23:25 [ 341839 ]

ถูกจริตผมจริงๆ "อะไหล่ความคิด"  มันเป็นโรงเรียนในอากาศ เสกเอาความรู้มาได้จริงๆ  คนโบราณมาเห็นคงต๊กกะใจ เสกความรู้มาได้

 

กูเรียนจากมึง มึงเรียนจากกู จะเรียนแบบเงียบๆ จะเรียนแบบดังๆ จะเรียนไปนั่งไขว่อีเก็ก ซดกาแฟโฮกใหญ่ก็ไม่มีใครมาดุด่า ใครขยันมากจะแหกตาเรียนกันยันสว่างตำรวจก็ไม่จับ  เรียนไปโดดไปออกกำลังกายสักพักแล้วเข้ามาก็ไม่ผิดประเพณี ฮีตคองอะไรที่ไหน

 

เพื่อร่วมเรียนก็มีสารพัด คนก็มี สัตว์ป่าก็มี อิ.อิ.(ก็นายเสือ(ครูเสือ) กะนายสิงห์(สิงห์ป่าสัก) อยู่ร่วมกัน รักกันจะตายไป นี่แหละห้องเรียนจริงๆหละ เรียนแบบธรรมชาติจริงๆ

 ทฤษฎีชั้นเรียนนั้นหมดสมัยตั้งแต่เริ่มศัตวรรษที่ 20 แล้วนะครูนะ  ไม่เชื่อ ดูครูลูกหว้าบ่นซิ ลูกศิษย์แอ๊บแบ๊วอะไรน่าเขกเข่านัก ให้ทำรายงานดันไป copy มาส่งครูลูกหว้า ทั้งผิดๆ อย่างนี้เขกเข่าไม่พอ เอาหนังยางยิงตะปอมข้างละทีอีกด้วย แล้วสำทับไปว่า "หัวมีไว้ให้คิด ไม่ใช่เอามาตั้งบนบ่าเฉยๆ หนักคอเปล่าๆ" หา ห่า ห้า....

 

P
ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ อ. 07 ส.ค. 2550 @ 00:21 [ 341895 ] จาก 202.28.35.1 ลบ
  • เจอความคิดเห็นพี่บ่าว handyท่านอาจารย์แสวง
  • ท่านพี่บางทรายเล่นเอาสะอึก
  • มือไม้สั่นเขียนอะไรไม่ออก
  • แต่อยากบอกพ่อว่าพรุ่งนี้จะเตรียมคณอำนวยและคุณลิขิตไว้ครับผม
  • ขอบคุณครับ
ความคิดเห็น
P
Handy
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 18:33 [ 341467 ] จาก 202.151.41.2 ลบ
สวัสดีครับ
    นักวิชาการกับชุมชน ยาขมหม้อใหญ่เลยล่ะครับ แต่ว่า ยาหวาน นั้นพิษแรงมาก  น่าจะชวนกันเลิกกิน เลิกทาได้บ้างแล้ว .. หวานเป็นลม  ขมเป็นยา   ไม่น่าลืมกันง่ายๆเลย  ที่ว่าขมนั้นกินบ่อยๆก็ติดใจได้ไม่ยาก ดูแต่ มะระ สะเดา เป็นตัวอย่าง
    ก่อนที่จะงงไปมากกว่านี้ ขอร่วมฟันธงว่า วิชาการ ที่ละทิ้งหรือห่างเหินจากชุมชน จะเป็น วิชาเกิน ไปในที่สุดครับ มีก็เหมือนไม่มี หรือ น่ารำคาญเสียจนรู้สึกว่าไม่ต้องมียังจะดีเสียกว่าก็ได้ครับ
   
P
นายสายลม อักษรสุนทรีย์
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 18:33 [ 341469 ] จาก 222.123.222.169 ลบ
กราบสวัสดีครับพ่อครู 
ผมเห็นด้วยครับกับการเป็นหุ้นส่วนความรู้ แต่ ขอโหวตรับเพิ่มอีกสักอย่างนะครับ คือ  หุ้นส่วนความดี  เพราะ ความรู้ กับ ความดี ต้องเดินคู่กันไปครับ  สังคมจะงดงามได้ ด้วยการเสริมสร้างความรู้ให้แข็งแกร่งและสานต่อความดีให้แน่นเหนียว  ครับ

ขอบพระคุณครับ

ขออนุญาติชมอีกครั้งหนึ่งครับ ว่า  รูปใหม่ของพ่อ เท่ห์จริง ๆ ครับ    อิอิ
P
ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 18:40 [ 341480 ] จาก 203.170.150.103 ลบ

P

ได้เลยพ่อหนุ่ม ความรู้+ความดี=รู้ความพอดี

รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี มีงานต้องทำอีกเยอะ

P
ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 18:44 [ 341481 ] จาก 203.170.150.103 ลบ

P

  • คงต้องมีนักวิชาการอิงระบบมาทำผ่านเพ่นพ่านให้มากขึ้น เผื่อเขาจะฉุกคิดได้
  • ขอบคุณอาจารย์ที่แนะนำเรื่องโน๊ตบุคส์ คงต้องไปเรียนวิชานี้กับอาจารย์ที่เชียงใหม่
  • ผมจะโหลดข้อมูลออกให้หมด เผื่อได้ลงโปรแกรมใหม่ได้ด้วย
P
paew
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 19:15 [ 341524 ] จาก 202.12.97.116 ลบ

กำลังคิดค่ะว่า เราควรเพิ่มทางเลือก หรือเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีมุมมองในด้านการนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นด้วย ... เผื่อเมื่อเรียนจบแล้วจะได้มีบัณฑิตกลับไปพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆค่ะ

P
ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 19:24 [ 341539 ] จาก 203.170.150.103 ลบ

P

ดีครับอาจารย์ มี2-3มุมยิ่งดี

  1. รับจ้างคนอื่น
  2. รับจ้างตัวเอง
  3. รับจ้างสังคม
P
ครูเสือ
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 19:24 [ 341540 ] จาก 125.26.182.241 ลบ
  • สวัสดีครับพ่อครู
  • งานนี้ต้องมีคนในชุมชนเข้ามามีส่วนในการรับรู้ว่าวิชาการที่ต้องการเชื่อมโยงนั้นเกี่ยวข้อง หรือเป็นที่ต้องการมากแค่ไหน
  • ต้องมีความเหมาะสมกับแต่ชุมชนด้วย
P
ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 19:26 [ 341544 ] จาก 203.170.150.103 ลบ

P

แม่นแล้ว บรึมส์ บรึมส์

P
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 20:03 [ 341585 ] จาก 202.12.97.116 ลบ

ขอสนับสนุนอาจารย์ พินิจครับ

ยาขมดี มีประโยชน์ แต่หาคนกินยาก

ส่วนใหญ่ นักวิชาการจะรังเกียจการทำงานกับชุมชน เพราะ

  • ได้ผลงาน(ไปอ้างขอตำแหน่ง) น้อย
  • ใช้เวลามาก
  • ใช้ความพยายามมาก
  • หลอกชุมชนยาก หลอกตัวเอง(ในห้องทำงาน)ง่ายกว่า
  • ใช้ทรัพยากรมาก
  • และนักวิชาการส่วนใหญ่ขาดทั้งทรัพยากร และเวลา
  • และ ยังขาดความรู้ที่พอเพียง หรือเหมาะสม
  • และ ขาดความมั่นใจ
  • และ..............

จนทำให้มีนักวิชาการที่ทำงาน กับชุมชนมีน้อยมาก

แม้แต่ในกลุ่มที่เหลือน้อย ก็ยังมี นักวิชาการที่

  • อ้างชุมชนไปสร้างผลงาน
  • อ้างชุมชนไปหางานทำ
  • ใช้ชุมชนเป็นวัสดุวิจัย

แม้จะพยายามเคลือบยาขมด้วยน้ำตาลหนาขนาดไหน ก็หาคนกินยาก และบางคนก็แค่ชิมเปลือกนอกแล้วคายทิ้งก็มีมาก

ถ้าทิศทางลม(นโยบาย)ยังไม่เปลี่ยน คนทำงานกับชุมชนคงมีอยู่ประมาณนี้แหละครับ

แต่ถ้าใครรอให้เปลี่ยน ก็คงจะเป็นชาติหน้านั่นแหละครับ

P
ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 20:14 [ 341597 ] จาก 203.170.150.103 ลบ
  • ในชาติหน้าจะเจอจริงรึเปล่าครับเล่าฮู ไม่ใช่บอกผมไปหาก่อน ไม่เจอ ผมจะทำยังไงละทีนี้
  • ขอเจอในชาตินี้ดีกว่า คิดว่าผมเจอแล้วหลายสิบคน มีคนหนึ่งชื่อเหมือนอาจารย์เปี๊ยบเลย

ครูบาครับ ผมเอาของดีมาฝากครับจากน้องยอดดอย

P
ยอดดอย
เมื่อ อ. 07 ส.ค. 2550 @ 02:31 [341938] [ลบ]

ว่าจะเข้านอนแล้ว เห็นบันทึกพี่บางทรายมาแหย่ไว้ ก็เลยมาแจมสักนิด

  • ปัญหามาตั้งแต่วิธีคิด วิธีมองชุมชนเลยครับ ถ้ามองชุมชนแบบเน้นกายภาพแน่นิ่งเป็นท่อนๆแยกส่วนกันก็พังแต่แรก
  • หมู่บ้าน (village) กับชุมชน (community) คนละความหมายกันครับ แต่คนไทยชอบเอามาใช้ทับเป็นความหมายเดียวกัน
  • อย่าง gotoknow นี่เป็นชุมชนหนึ่งนะ แต่ไม่ใช่หมู่บ้าน เวลาพัฒนาต้องชัดเหมือนกันว่าจะเน้นอะไร ถ้าเน้นชุมชน  มันก็อาจจะกินพื้นที่ทับซ้อนไปหมู่บ้านอื่นด้วย เพราะชุมชนมันเป็นระบบและเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ไม่ได้เป็นภาพแบนๆอยู่นิ่งๆให้ใครไปจับต้องทำโน่นทำนี่เอาง่ายๆครับ
  • อีกทั้งในหนึ่งหมู่บ้าน อาจจะมีหลายชุมชนก็ได้ และชุมชนก็ไม่จำเป็นต้องถูกสถาปนาโดยรัฐให้เป็นหมู่บ้านเสมอไป
  • เวลาผมทำวิจัยก็ดี ทำงานพัฒนาเด็กก็ดี ผมจะเน้นทำงานกับชุมชนในความหมายของระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ครับ รู้ว่าคิดแบบนี้ถ้าจะทำงานพื้นที่ใหญ่คงยาก ก็เลยทำกับกลุ่มเล็กๆนี่แหละ ขอบเขตพื้นที่การทำงานที่แท้จริง แม้จะจำต้องระบุเป็นหมู่บ้าน เพื่อให้เข้าใจกันง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วทำในความหมายของ "ชุมชน" หรือขอบเขตที่ความสัมพันธ์นั้นๆไปถึงครับ
  • สำหรับผม คำตอบจากชุมชน สำคัญกว่าคำตอบจากหมู่บ้าน แต่ต้องมองให้เห็นภาพเชิงซ้อนที่เชื่อมโยงระหว่างสองสิ่งนี้ด้วยนะครับ เพราะเราต้องทำงานกับทั้งหมู่บ้าน ควบคู่ไปกับชุมชนเสมอ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ล่มเอาง่ายๆ
  • นิยามพื้นที่ทำงาน ถ้าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในพื้นที่แต่แรก เรื่องอื่นก็เบี้ยวๆบูดๆตามมาอีกเป็นกระพรวนครับ
  • ช่วงนี้เห็นมีแต่คนจะนัดรวมพลกัน ผมไม่ค่อยมีโอกาสไปร่วมเวทีรวมพลบล็อกเกอร์ที่ไหน คิดว่าครอบครัวต้องการเวลาจากเรามากกว่า โดยเฉพาะตอนนี้ที่ลูกชายกำลังน่ารักน่าชัง และคุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ต่างจังหวัดก็แก่เฒ่าประการหนึ่ง ผมก็ต้องประหยัด ลำพังค่าโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตต่อเดือนนี่ก็หลายร้อยอยู่ ผมจึงพยายามเลี่ยงเวทีใหญ่ๆถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็จะไม่ไป ก็คงแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบพอเพียงอย่างนี้ดีกว่า มีอะไรก็คุยกันผ่านบล็อกนะครับ

P

ดีครับที่มีนักปฏิบัติอย่างยอดดอยมาสะท้อนคิด เราจะเห็นภาพความจริงมากขึ้นว่า กระแสชุมชนกำลังเบี่ยงแบบไปในทางใด จะต้านกระแสสังคมโลกาภิวัตน์ได้สักกี่น้ำ จะถูกกลืนหรือยืยหยัดต่อไปได้ก็ยากจะตอบได้ แต่ถ้าดูตัวอย่างทั้งโลกแล้วก็พบว่ายังไม่มีประเทศไหนทำได้สำเสร็จ เพราะเรากำลังแพ้สงครามกิเลศ ความสะดวกสบาย แสงสี ไม่มีแมลงเม่าตัวไหนยั้งคิดที่จะไม่บินเข้าไปเสียด้วย อัฟริกา ลาติน เอเซีย แม้แต่จีนยักษ์ใหญ่ ก็กำลังถูกโรคนี้คุกคามอย่างหนัก มาตรฐานโลกหรือกระแสโลก ทรงพลังยิ่งนัก เราต้องหาคำตอบตัวเองให้พบ งานชุมชนยังอยู่แค่การเปิดสารบัญเท่านั้น ยังฟันธงอะไรไม่ได้หรอก อิอิ

สวัสดีครับ ท่านครูบา

อ่านแล้ว คิดแล้ว กำลังทำอยู่แล้ว แต่ยังไม่พอครับ  สิ่งที่คิดไว้ว่าจะทำกลับมีน้อยเกินไปครับ ยิ่งได้เจอกับประโยคนี้ " วันไหนที่ชุมชนเรียกร้องหาความรู้  วันนั้และครับ...ที่บุคลากรในสถานบันการศึษกาจะต้องคิดหนักว่าจะเอาความรู้อะไรไปให้เขา"  ยิ่งต้องคิดหนักไปกว่าเก่าอีกครับ นักวิชาการ  มีหลายประเภทอย่างที่อาจารย์แสวง บอก แต่จริง ๆ แล้วเราลืมนึกถึงบุคลากรที่สำคัญที่สุดไปอีกอย่างคือ  ครู  ... ใช่ครับ ครูที่อยู่กับชุมชน ถ้าให้ความสำคัญกับครู ส่งเสริมให้มีการวิจัยร่วมระหว่างครูกับชุมชน หรือครูกับสถานบันการศึกษา ก็จะสามารถช่วยเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปสู่การกินดีอยู่ดี มีสุขของชุมชนได้ครับ  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ โรงเรียนบ้านของครูบาครับ...

P ขอบคุณครับที่สละเวลามาร่วมวง ที่ผมทำก็ไม่สำเร็จครับ ต้องทำไปแก้ไป ต้องดิ้นรอบตัวเพราะพลังสนับสนุน โดยเฉพาะตัวบุคคลแรงใจยังไม่ถึง จึงยาก แต่ก็ไม่มีทางอื่นที่ดีกว่านี้ ถ้าไม่เรียนก็โง่ มันก็เท่านั้นเอง  แต่คนไม่กลัวโง่นี่สิ เราเปิดตำราแทบไม่ทัน และหาคำตอบยังไม่ได้เสียด้วย ลองคิดต่อนะครับ  ขอให้กำลังใจสู้ต่อไป อิอิ

Key Word

" นักวิชาการจะเอาความรู้อะไรไปใส่ลงในชุมชน"

  พ่อครูบาค่ะ    

            ตอนนี้  มี  12  ชุมชน  ต้องเข้าด่วนไม่รู้จะเอาอะไรไปให้ดี    เจ้าของโครงการให้แต่งบ  และกำหนดเวลาอย่างอื่นไม่สน     ปวดใจจริงๆ  คิดถึงพี่จุ๋มและนักวิชาการทั้งหลายมากๆ     เพราะต้องโทรหาด่วนแล้วค่ะ 

ผมขออนุญาติให้ท่านครูบาเอา

Key Word

" นักวิชาการจะเอาความรู้อะไรไปใส่ลงในชุมชน"

ไปเสนอต่อที่ประชุม ผมอยากฟังนักวิชาการในที่ประชุมตอบจังเลยครับ น่าจะมีความเห็นดีดีออกมาบ้างครับ

P

  • พี่องุ่นคนสวย
  • บ่ายวันที่23 เชิญที่ราชภัฏมหาสารคาม จะชวนขึ้นเวที เล่าให้นักวิชาการฟัง ว่างบมีแต่จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบอื่นอะไรอีกบ้าง
  • ว่างไหมครับ

 

พ่อค่ะ

  •     20- 26  ส.ค.อยู่เด็กรักป่าค่ะ   แต่ บ่าย  23 อาจจะหนีออกมาได้เพราะโปรแกรมไม่แน่นเท่าใหร่  ส่วนมากอยู่ในครัว  ขึ้นเวทีเสร็จกลับเย็นได้ค่ะ
  • ช่วง  2 เดือนนี้ จะเป็นงบแบบเทกระจาดเสียส่วนใหญ่ค่ะพ่อ  แน่นเอี๊ยด ลดแลกแจกแถม มีทั้งบังคับเรียน  บังคับสอน  บังคับไม่ให้ ให้รับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท