การเขียนวิทยานิพนธ์ : การเขียนบทความวิจัย


การเขียนวิทยานิพนธ์ : การเขียนบทความวิจัย

             เมื่อนิสิต นักศึกษา ทำวิทยานิพนธ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว บางมหาวิทยาลัยหรือสถาบันมีข้อกำหนดการจบตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา ต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร อาจจะเป็นวารสารในประเทศหรือต่างประเทศที่ได้รับยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ผู้เขียนจึงขอเสนอโครงสร้าง รูปแบบการเขียนบทความวิจัยซึ่งวารสารแต่ละเล่มมักจะกำหนดรูปแบบไม่เหมือนกัน (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2536 : 29)

        1. วารสารต่างประเทศ เช่น The Journal of Education Research กำหนดโครงสร้างให้มีหัวข้อ ดังนี้

             1.1 ชื่อเรื่อง

            1.2 บทคัดย่อ

            1.3 บทนำ(Introduction)

              1.4 วิธีการ(Methods)

          1.5 ผล(Results)

           1.6 อภิปรายผล(Discussion)

             1.7 เอกสารอ้างอิง(References)

          2. วารสารภาษาไทย ส่วนมากมิได้กำหนดโครงสร้าง รูปแบบไว้เป็นเฉพาะ ผู้เขียนบทความวิจัยส่วนใหญ่จะยึดตามหัวข้อวารสารต่างประเทศและปรับให้มีหัวข้อรายละเอียดเพิ่มขึ้นบ้าง ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

            2.1 ชื่อเรื่อง

           2.2 บทคัดย่อ

         2.3 บทนำหรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         2.4 วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย

         2.5 สมมติฐานของการวิจัย

         2.6 วิธีดำเนินการวิจัย

          2.7 ผลการวิจัย

         2.8 อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

        2.9 บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง

หมายเลขบันทึก: 117290เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นักศึกษาส่วนใหญ่มักกลัวการนำเสนอผลงานคะ...ทั้งๆที่ทำมากับมือ..เอหรือไม่ได้ทำเอง...เคยเห็นบางคนจะถึงคิวพูดอยุ่แล้วกับเดินไปบอกคนจัดว่าไม่สบายขอกลับก่อนนะคะ...ฮ่าๆ(เห็นคนอื่นถูกถามแล้วถอดใจ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท