ความงดงามแห่งเฉลิมหล้า


ความเรียง บทบันทึกในความงดงาม และความทรงจำต่อสะพานเฉลิมหล้า 56 สะพานหัวช้างในดวงใจ และสะพานซึ่งชีวิตได้ก้าวผ่าน ท่ามกลางเรื่องราวมากมายที่ผ่านเข้ามา และผ่านพ้นไป ทุกเรื่องราวล้วนมีคำตอบในกาลเวลา

ความงดงามแห่งเฉลิมหล้า

     

ผู้คนมักผูกพันตนเองไว้กับเรื่องราว

มัดตรึงอดีตมากมายไว้กับกาลเวลา

      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป จะยิ่งใหญ่หรืออับจน ก็ล้วนแต่มีความทรงจำไว้กำกับชีวิตอยู่เสมอ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่สำคัญคือการหวนรำลึกเรื่องราวแห่งอดีต ผู้คนแต่ละคนต่างเลือกจัดสรรคัดสรรเรื่องราว และจัดวางตำแหน่งแห่งนี้ของความทรงจำไว้แตกต่างกัน มากไปก็ไม่อาจว่ากล่าว น้อยไปก็ไม่อาจตำหนิติเตียนได้ เพราะสุดท้ายแล้วที่ทางเหล่านี้ ล้วนเป็นสมบัติเฉพาะตน เฉพาะตัวคนในแต่ละจิตใจ มิอาจก้าวล่วงคาบเกี่ยว เพื่อเข้าไปจัดการในพื้นที่ของความทรงจำเหล่านั้นได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ความทรงจำจึงเป็นปริศนาสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เท่ากับความหมายที่เราจะเรียนรู้ได้ จากแววตาของศิษย์เก่ามากมาย ที่ได้ย้อนกลับไปเยี่ยมเยือนสถานศึกษา มักชี้ชวนกันมองเก้าอี้ แหงนคอมองตึก รอคอยเงาของเหลี่ยมประตู จ้องมองโค้งมุมตึกที่จะทอดเงาให้เห็น ให้ได้ระลึกชื่นใจว่า ครั้งหนึ่งตนเองเคยประทับใจในสถานที่เหล่านี้เช่นใด ห้วงเวลานั้นตนเองอยู่ในอารมณ์ใดของชีวิตบ้าง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไม่มากไม่มายไปกว่า จะได้มีโอกาสเห็นใครสักคน แอบน้ำตาไหลเมื่อเห็นสถานที่เก่าๆของชีวิต</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จะว่ายิ่งใหญ่ก็ได้ จะเล็กน้อยก็ปาน ล้วนมิมีสิ่งใดมากมายกว่าความประทับใจในสิ่งเหล่านี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ผมมีโอกาสค้นพบเรื่องราวแห่งพลังในชีวิต เดินก้าวข้ามสะพานของความจริง และสะพานของชีวิตด้วยความคะนอง ในภาษาเด็กวัยรุ่นเพิ่งจบมอสาม ในวันประกาศพ้นการสอบปลายภาค วันที่ชีวิตเริ่มเปลี่ยนผ่านมากมาย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพื่อนบางคนเตรียมสอบเข้าเตรียมอุดมฯ บางคนเตรียมล้างแค้นสอบเข้าสวนกุหลาบฯ เพื่อแก้คำหยามหยันของคนรอบข้าง มีบ้างเตรียมต่อเรียนต่อพระนครเหนือ ด้วยต้องการปักเฟืองแดงบนกระเป๋าเสื้อ มีบ้างเตรียมตัวอยู่โรงเรียนเดิมละแวกสะพานปลา เพราะได้ที่ทางตามใจอยาก อยากอยู่กับเพื่อน หรืออยากอยู่กับความฝันเดิมๆ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพื่อนในชีวิต และเพื่อนในความทรงจำ ล้วนมีพื้นที่อยู่ในใจและไม่ค่อยหนีหายไปไหน หากนั่งให้ความนึกคิดถึงนำทาง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนั้นเป็นวันที่ชัดเจนแม้ผ่านมานานก็ตาม อารมณ์สังสรรค์และฉลองชัยในชีวิต ได้เริ่มต้นขึ้นอีกเมื่อสามารถรวบรวมคนได้กว่า 11 คน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนของเหตุผลแบบใด นำพาให้ก้าวไปสู่ที่ทางของโรงภาพยนตร์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อาจเป็นเพราะสิ้นหนทาง หรือเบื่อหน่ายกับห้างก็ตามแต่ สุดท้ายโรงภาพยนตร์แมคแคนนา คือที่หมายในวันสุดท้ายของเด็กมัธยมต้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ลงรถหน้าห้างมาบุญครอง เพราะแวะเดินเที่ยวพอเป็นพิธี ก่อนเริ่มเดินข้ามสะพานหัวช้าง สะพานซึ่งงดงามมากสำหรับชีวิตผม พอๆกับสะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานฆัฆวานรังสรรค์  และสะพานกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่ก้าวผ่าน นั่งรถผ่าน ผมต้องพยายามสังเกตุทุกอย่างของสะพาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เช่นเดียวกับวันนั้น เมื่อก้าวผ่านไปพร้อมเพื่อนอย่างสนุกสนาน เพื่อไปดูหนังฝรั่งเต็มเรื่อง ที่ไม่มีบทพากย์ภาษาไทย มีเพียงบทบรรยายเท่านั้นที่ทำให้ชีวิตเด็กมัธยมสามรู้เรื่อง หากนับไม่ผิด หนังเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของชีวิต ที่เรียนรู้ว่าภาษาดั้งเดิมของคนอื่นนั้นงดงามเพียงใด </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพื่อนที่พาไปดูเป็นเด็กติดหนัง ตั้งแต่ ม.1 ติดทุกอย่างในความเป็นหนัง รวมทั้งติดหนังภาษาอังกฤษในทุกเรื่อง และเขาคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เราเริ่มต้นดูหนังด้วยความสนุกสนาน เปิดเรื่องดันกล่าวเป็นเรื่องราวของเด็กมัธยม ในอเมริกา ครึกครื้นด้วยการนั่งเรียงหน้ากระดานกันสลอน 11 คน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จนสุดท้ายความจริงของชีวิตก็จบลง บทสุดท้ายและฉากสุดท้าย ล้วนเรียกน้ำตาอย่างบ้าระห่ำ กระหน่ำใจแทบจะไม่เหลือ ที่แข็งใจไม่อยากให้เพื่อนเห็นว่าตัวเองอ่อนแอ ก็แกล้งกระแอมกระไอเสียงดัง ก่อนแอบเอามือปาดน้ำตา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขาไปเดินอย่างกระหยิ่มยิ้มย่องในความสนุกสนานของชีวิต กับความอิสระที่กำลังเริ่มต้นขึ้น ขากลับจากการเดินข้ามสะพานกลับหน้าหมอง ตั้งทุกคำถามกับชีวิต เดินกอดคอเพื่อนอย่างหงอยเหงา มีบ้างตบบ่าตบไหล่ ร่ำลาก่อนจะถึงป้ายรถเมล์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สุดท้ายจุดหมายปลายทางก็จบลง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต่อให้เดินจากกันหรือเคียงกันไปนานเพียงใด เราก็ถึงป้ายรถเมล์ จะเฝ้ารอรถ อ้อยอิ่งให้รถเมล์คันแล้วคันเล่าผ่านไปเพียงใด เราก็ต้องกลับ เราลากันที่ป้ายรถเมล์แทบทุกคน เพราะมีบางคนเท่านั้นที่มีหมายเลขโทรศัพท์ของบ้าน หลายคนไม่มี และหลายคนรู้ว่า เราจะไม่ได้เจอกันอีก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลายครั้งของชีวิต เราก็พบน้ำตาที่อยู่ในแววตา เจ็บปวดมากกว่าน้ำตาที่ไหลออกมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนั้นเราไม่ค่อยอยากให้ใครเห็นน้ำตาของกันและกัน เพื่อนทุกคนพยายามเล่นมุข เพื่อเห็นอีกคนจะเริ่มต้นร้องไห้ และอีกคนก็พยายามจะร้องตาม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไม่ใช่วิสัย และไม่ใช่สิ่งที่เราเชื่อว่าลูกผู้ชายควรจะทำ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไม่รู้เพราะติดนิสัยสันดานจากหนังไทยดั้งเดิม ที่พระเอกต้องเข้มแข็งเท่านั้น หรือเพราะความเขินอายแบบเด็กผู้ชาย ทุกอย่างในชีวิตจึงต้องไม่มีน้ำตา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แล้วเราแต่ละคนก็ร่ำลากัน มีบ้างกลับรถเมล์ทางเดียวกันสายเดียวกัน มีบ้างแยกตามทางเดี่ยวๆ ตามทางคนเดียว เหมือนแทบทุกอย่างในชีวิตวันสุดท้ายหลังมัธยมสาม และวันที่ต้องก้าวสู่อนาคตที่ไม่มีใครรู้</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนั้นเราก้าวผ่านสะพานหัวช้าง เพื่อไปดูหนัง เรื่อง Dead Poets Society</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนั้นหนังเรื่องนี้ ที่ฉายในปี 1989</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนี้ผมไม่มีวันที่จะลืมวันนั้น และไม่มีทางที่จะลืมภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากนั้นระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมดูภาพยนตร์เรื่องนี้วนไปวนมา กลับหน้ากลับหลัง ดูวนเฉพาะฉาก ดูซ้ำไปซ้ำมาไม่ต่ำกว่า 50 รอบ จนไม่รู้ว่าตัวเองประทับใจกับเรื่องราวใด ในหนังเรื่องนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่ก็ดูด้วยความอิ่มเอิบใจในทุกครั้ง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และรำลึกขึ้นมาในทุกครั้งของการเดินทางในชีวิต ในทุกครั้งที่ก้าวผ่านสะพานของชีวิต ก้าวผ่านสะพานหัวช้าง และก้าวผ่านแต่ละช่วงของชีวิต</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นวันนี้มีความงดงามของสะพานเฉลิมหล้า สะพานหัวช้างในความงดงามของชีวิต</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สะพานที่ผมเดินข้าม ที่สร้างขึ้นมาเมื่อปี 1908 และ เปิดใช้สะพานในปี 1909</p><p>    </p><p> </p><p>อ้างอิง</p><p>http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E:Bangkok_26_th_bridge-1909.jpg  </p><p></p><p>สะพานเฉลิมหล้า 56</p><p>สะพานหัวช้าง   </p><p>ภาพ:Bangkok 26 th bridge-1909.jpg</p><p>จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  </p><p>สะพานเฉลิมหล้า 56จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้างวิกิแมเปีย มีภาพถ่ายทางอากาศของ: </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สะพานเฉลิมหล้า 56สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้าง เป็นสะพานในชุดเฉลิม สะพานที่ 15 สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ที่ถนนพญาไท เพื่อเชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้ คู่กับสะพานเฉลิมโลก 55 สะพานนี้อยู่ติดกับวังสระปทุม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สะพานเฉลิมหล้า 56 เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 56 มีลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานเป็นคอนกรีตรูปโค้ง มีรายละเอียดงดงามมาก หัวสะพานทั้งสี่มุม มีรูปประดับเป็นช้าง 4 ด้าน ลูกกรงหล่อแบบลูกมะหวดฝรั่ง กลางสะพานมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ซึ่งในปีนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาเท่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมอัยกาธิราช </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีพระชนมายุมงคลเสมอรัชกาลที่ 2 และฉลองวัดอรุณราชวรารามด้วย และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีช้างเผือกในแผ่นดินถึง 4 เชือก จึงพระราชทานนามว่า สะพานเฉลิมหล้า ซึ่งมาจากพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และหัวเสาของสะพานออกแบบเป็นหัวช้างเผือก 4 หัว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปัจจุบันสะพานเฉลิมหล้า 56 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าสะพานหัวช้างยังคงปรากฏอยู่ โดยกรุงเทพมหานครได้พยายามรักษาลักษณะเดิมของสะพานไว้เป็นอย่างดี แม้จะได้มีการขยายถนน และสะพานเพื่อให้รับกับความเจริญของบ้านเมืองและการคมนาคมที่คับคั่งขึ้น</p><p>     </p><p></p><p>Postcard of Thailand - the bridge over Klong Saen Saeb on Phaya Thai Road near Sra Paduma Palace ("Lotus Pond Palace"). It was built in 1908 in the reign of King Rama V., originally named "Saphan Chalerm Lar 56” to commemorate the king's 56th birthday, but usually called "Saphan Hua Chang" ("Elephant Head Bridge"). Today this bridge is under the Skytrain route. It is the 15th of the 17 “Chalerm"-bridges built in the reign of King Chulalongkorn, and one of the three bridges that survived modernisation of Bangkok; one can still be seen on Ratchadamri Rd. crossing Klong Saen Saeb, the other one directly underneath Saphan Taksin Skytrain station. Bangkok, Thailand 1908</p>

หมายเลขบันทึก: 117184เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณKati  

        ดิฉันล็อกเอาท์ไปแล้ว  และต้องล็อกอินเข้ามาใหม่ เพราะ Dead Poet Society โดยเฉพาะ  และเคยจะถามคุณ Kati  อยู่หลายหนว่าคำหลักในบล็อก carpe diem  มาจากภาพยนตร์เรื่องนี้รึปล่าว   

         ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ที่โรงหนังวอชิงตัน  แถวสุขุมวิท  ถ้าจำไม่ผิดนะคะ  เพราะนานเหลือเกินแล้ว  แต่ความประทับใจยังไม่จาง  "seize the day"  ยังฝังแน่นอยู่ในใจดิฉันเสมอ 

         เป็นผู้หญิงนี่ก็ดีเหมือนกัน  เพราะน้ำตาของเราสามารถร่วงได้โดยไม่ฝืนขนบสังคม  ดิฉันดูหนังทีไรตาแดงเรื่อๆออกมาทุกที   แม้ในชีวิตจริง  ดิฉันจะไม่ใช่คนร้องไห้ง่ายนัก

         สงสัยเพราะความคิดตลกๆแบบเด็กๆที่ว่า เสียตังค์เข้าไปแล้ว  จะนั่งอึดอัดอยู่ทำไม  อยากร้องก็ร้องไปเถิด   แต่ก็กลัวคนข้างๆเห็นทุกทีเหมือนกัน  ใครบ้างอยากให้คนอื่นเห็นว่าเรากำลังอ่อนแอ

        ในจังหวะอันแสนเศร้านั้น  ดิฉันจะค่อยๆรูดตัวลงไปให้เตี้ยติดเก้าอี้ที่สุด  แล้วม้วนทิชชูเตรียมไว้   ก้มหน้านิดนึง   ขยับมือขึ้นมาซับน้ำตาแล้วเอามือลงให้เร็วที่สุด   นึกย้อนไปแล้วขำตัวเองชะมัด

        ขอบคุณมากนะคะสำหรับบันทึกที่พาย้อนไปหาอดีตอันแสนสนุก  ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ในโรงสามรอบ  แล้วมาดูวีซีดี เมื่อตอนอายุมากแล้วอีกหลายครั้ง   แต่ละครั้งจะได้มุมมองที่ต่างออกไปเรื่อยๆ     และในความเศร้านิ่งๆนั้น ก็มีความอิ่มใจอยู่ด้วยทุกครั้ง  

        เพราะได้มาเป็นครูจริงๆ  ได้เห็นหัวใจอิสระของนักเรียน และนักศึกษามารุ่นแล้วรุ่นเล่า  เห็นแล้วก็รู้สึกเข้าใจ    โดยเฉพาะเมื่อมีเด็กๆบางคนพูดขึ้นคล้ายๆอย่างนี้
                "I exercise the right not to walk"  
         ดิฉันก็เข้าใจ  และให้เขาเลือกในแบบของเขา  จนกว่าเขาจะได้รู้ว่า สิทธิ์ ที่เขามีในชีวิตจริงนั้น มิใช่อิสระเสรีแบบที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจตัวเสมอไป   ......จนกว่าจะถึงวันนั้น  

                     sieze the day  นะคะ  : )

  • สวัสดีครับ คุณครู
    P
  • ขอบคุณอย่างมากครับ สำหรับคำกล่าวที่งดงาม
  • ในภาพยนตร์เรื่องนี้
  • ขอให้ฉกฉวยวันเวลา ด้วยความงดงามของชีวิตเช่นกันครับ
  • สำหรับการเดินทาง ก้าวย่าง อิสระ เสรีภาพ คำถาม คำตอบของผู้คน
  • ล้วนต้องให้แต่ละคน ตอบด้วยตนเอง ทั้งสิ้นครับ
  • ไม่มีใครจะสามารถตอบแทนกันและกันได้
  • ไม่มีใครจะมาตอบแทนผู้อื่นได้อย่างเด็ดขาดครับ
  • สำหรับชีวิต และการเรียนรู้ ล้วนเป็นเรื่องแปลก และมหัศจรรย์ครับ
  • สำหรับชีวิตและเรียนรู้ ล้วนต้องค้นหา
  • ค้นหา และค้นหาต่อไป
  • ตราบใดก็ตามที่การเดินทางไกลครั้งสุดท้ายของชีวิตยังไม่เริ่มต้นขึ้น
  • ขอบคุณสำหรับประสบการณ์อันงดงามต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ ของคุณครูครับ
  • ที่ได้นำมาร่วมแบ่งปัน
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือเป็นหนังในดวงใจในหลายๆเรื่องของชีวิตครับ
  • ทุกอย่างที่ทำให้ชีวิตเราเข้าใจโลกที่โหดร้ายด้วยรอยยิ้ม
  • และมองโลกที่สดสวย โดยไม่หลงระเริง
  • ก้าวในทุกขณะด้วยความเท่าทัน และเข้าใจ
  • สิ่งเหล่านั้นล้วนงดงาม สำหรับชีวิตของเราอย่างมากครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็นอันน่าสนใจ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท