ปงพาหวาน


การประสานความรู้จากภูมิปัญญามาปรับใช้ คงไม่มีข้อเสียอะไร ตรงกันข้ามจะส่งผลดีทางด้านจิตใจอีกด้วย

     จากการที่นักเรียนโรงเรียนบ้านเม็กดำ  ได้สั่งสม บ่มเพาะชุดความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  จากครูกลุ่มช้างน้าว ทำให้กระบวนการคิด  การทำงานของเด็กหนุ่มรุ่นกระทง  ห้อง 3/4  มีแนวคิด  ที่ไม่ลืม  สิ่งที่พ่อแม่ได้ถือปฏิบัติ  ถือเป็นข้อคิด  ข้อขะลำ  ในการทำงานต่าง ๆ
    

          ในเช้าวันต่อมา  อดิศักดิ์  เกรียมไธสง หรือที่เพื่อน ๆ เรียกว่าเหลี่ยม,  บรามั่น   ได้ชวนเพื่อน ๆ  มาทำพิธีปงพาหวาน  เพื่อบอกเจ้าที่เจ้าทาง  ให้ปกปักษ์รักษา  คุ้มครอง  วัวที่เขาพึ่งซื้อมา  ให้สุขภาพแข็งแรง  สมบูรณ์  เลี้ยงง่าย 
      กระบวนการพวกนี้  เขาบอกว่า  ไม่เชื่ออย่าลบหลู่   การประสานความรู้จากภูมิปัญญามาปรับใช้  คงไม่มีข้อเสียอะไร  ตรงกันข้ามจะส่งผลดีทางด้านจิตใจอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 117182เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
         ทางใต้(ปัตตานี) ก็มีพิธีกรรมอย่างนี้เหมือนกันครับ แต่ไม่มีชื่อเรียกพิเศษ     เรียกว่า  บอกเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อให้ปกปักรักษาให้กิจกรรมที่ทำ เช่น การเริ่มนำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยง   การเริ่มไถนา เป็นต้น  ส่วนการแรกดำนา ก็จะเรียก "แรกดำนา" การแรกเก็บ(ไม่ใช่เกี่ยว) เรียก การทำขวัญข้าว  ส่วนเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จก้เรีกว่า การเอาขวัญข้าว(กลับบ้าน)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท