จุดหมายที่ตามหา


ช่วยเหลือการอ่านเขียนของนักเรียน

      ดิฉันเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่  4   ปีการศึกษา  2550    ทุกเช้าต้องพบปะพูดคุยกับนักเรียนในชั้นก่อนวันละ  5  นาที  ก่อนที่จะไปเวียนสอนในชั้นอื่นประกอบกับที่ได้สอนวิชาภาษาไทยซึ่งจำเป็นที่จะต้องให้เด็กได้อ่านและเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง  พบปัญหานักเรียนอ่านไม่ได้จำนวน  5  คน   ได้สนทนากับนักเรียนถึงสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละคน   สภาพปัญหาคล้าย ๆ กันคือ

สัมผัส มุ่งสู่บ้าน               กล่าวเล่าขานทุกเรือนไป

อยากรู้ เพราะอะไร          เด็กทำไมอ่อนจริงเจ้า

สาเหตุ  ต้องรีบแก้          เพราะ พ่อ แม่ไม่อยู่เหย้า

ฝากญาติดูแลเขา           ทิ้งลูกเหงาโดดเดียวดาย

       สาเหตุเพราะพ่อ  แม่   มีหลายกรณี   เช่น   ไปทำงานต่างจังหวัด    หย่าร้าง    ฝากลูกไว้กับญาติ   ญาติไม่มีเวลาดูแลปล่อยปะละเลย  ทำให้เด็กขาดวินัยในตัวเองไม่สนใจการเรียนจึงเป็นปัญหาที่ทำให้เด็กอ่าน  เขียนไม่ได้  ดิฉันจึงออกเยี่ยมบ้านเด็กในความรับผิดชอบ  พบปะผู้ปกครอง   สัมภาษณ์ซักถามความเป็นอยู่ในการดำเนินชีวิตที่บ้านของเด็ก  เมื่อพบปัญหาแล้วกลับมาคิดแก้ไขช่วยเหลือการอ่าน  เขียนของเด็กโดยการสร้างนวัตกรรมจัดทำแบบฝึกคำง่าย    ที่เด็กคุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวัน  มาซ่อมเสริมฝึกบ่อย ๆ  จนเด็กเริ่มอ่าน  เขียนได้  ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมที่ใช้คำยากขึ้นเป็นประโยคเป็นร้อยแก้ว  ร้อยกรองเป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติม  เป็นเรื่องสั้น   เป็นนิทาน  สอดแทรกคติธรรม  วาดภาพการ์ตูนระบายสีสดใสเรียกร้องความสนใจจากเด็กทำให้เด็กอยากอ่านและรักการอ่าน  แล้วประเมินผลการอ่าน  เขียนเด็กสามารถอ่าน  เขียนได้เป็นผลสำเร็จ  ขณะนี้นักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  อ่านหนังสือได้ทุกคนแล้วค่ะ
หมายเลขบันทึก: 117116เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท