ส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์พื้นบ้านไทย : โสนำและเล่าสู่กันฟัง


ใช้กระบวนการ KM ธรรมชาติโดยชุมชน โดยไม่จำเป็นต้องเรียกว่าใช้ KM

โสนำ

     ในช่วงเย็นของวันแรกของการเสวนาหมอพื้นบ้านไทยอีสาน มีการจัดเวที โสนำ ซึ่งผมเข้าใจเอาเองว่า เป็นการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  ก่อนที่จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ และพักรับประทานอาหารเย็นกัน แล้วในตอนกลางคืนจะมีการ จัดเวทีที่เรียกว่า ใครทำอะไรเล่าสู่กันฟัง
        ผมมีความชื่นชมท่านที่ทำหน้าที่ ที่อาจจะเรียกว่า วิทยากรกระบวนการ หรือ ถ้าจะเรียกตามแนวของ การจัดการความรู้ ก็น่าจะเป็น  คุณอำนวย ที่ต้องขออภัยที่ผมไม่ทราบชื่อของท่าน   ท่านทำหน้าที่ในช่วงที่เรียกว่า โสนำ ได้อย่างดีมาก ๆ โดยการเสนอประเด็นให้ ผู้เข้าร่วมเสวนาและหมอพื้นบ้าน ได้เตรียมคิดในประเด็นสำคัญ ที่จะไปจัดเวทีกันที่วัด ในตอนกลางคืนหลังจากรับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำอาบท่าให้สดชื่นกันแล้ว   โดยเฉพาะเรื่องของการจัด เวทีที่เรียกว่า ใครทำอะไรเล่าสู่กันฟัง ของกลุ่มหรือชมรมหมอพื้นบ้านไทยจากจังหวัดต่าง ๆ  ที่มาร่วมงานครั้งนี้  ผมเห็นว่าเป็นวิธีการเดียวกับการจัด Show and Share โดยใช้วิธีการ Storytelling หรือ เรื่องเล่าเร้าพลังของชาว KM นั่นเอง
       ขอชื่นชมท่านวิทยากรและทางทีมผู้จัดด้วยใจจริงอีกครั้งครับ   นี่แหละการใช้กระบวนการ
KM ธรรมชาติโดยชุมชน  โดยไม่จำเป็นต้องเรียกว่าใช้ KM
<p> </p>

หมายเลขบันทึก: 117073เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะอาจารย์Panda เห็นด้วยค่ะที่วิธีการต่างๆที่ชาวบ้านทำอยู่แล้วเป็นการทำKMตามธรรมชาติ หรือแม้ใครก็ตามที่ทำงานด้วยหัวใจอยากให้งานดีก็จะมีการทำKMตามธรมชาติอยู่ โดยไม่รู้ตัว หรือไม่ได้เรียกชื่อเช่นนั้น

อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วนึกถึง"การสังคายนาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา" ที่ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเป็นผู้ทำโครงการค่ะ

ดีใจที่เรื่องแพทย์พื้นบ้านไทยได้รับความสนใจจริงจัง เป็นทางหนึ่งนะคะในการพึ่งตนเองได้

  • เป็นวิธีการที่น่าชื่นชมครับอาจารย์
  • แต่ไม่เข้าใจ โสนำ ครับ
  • เคยได้ยินแต่ โสเหล่ ซึ่งแปลว่าคุยกันอย่างสนุกสนาน ออกรสออกชาด คุนกันทุกเรื่องทั้งไร้สาระได้สาระ แล้วแต่ใครจะเก็บได้
  • เข้ามาติดตามอ่านครับท่านอาจารย์ Panda
  • "โสนำ" ผมก็พึ่งเคยได้ยิน คงคล้ายๆกับ"เกริ่นนำ"ไช่ไหมครับ

ขอบคุณครับ

  • ผมก็ดีใจมากครับที่ทางกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสนใจเรื่องแพทย์พื้นบ้านไทยมากขึ้น  สำหรับแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือกของทางภาคอีสาน รู้สึกว่าจะยังรวมตัวกันสู้ทางภาคเหนือหรือล้านนายังไม่ได้ครับ คุณนายดอกเตอร์ P
  • คุณ ออต P ครับ ผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจเรื่องความหมายของคำว่า "โสนำ"  แต่คิดว่า น่าจะแปลว่า พูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง สนุกสนานด้วยกันหรือร่วมกัน  เพราะแถวบ้านผม ถ้าพูดว่า "ไปนำกัน"  แปลว่า "ไปด้วยกัน" ครับ  อันนี้ผมไม่ยืนยันนะครับ
  • หรืออาจจะแปลว่า "เกริ่นนำ" หรือ "พูดนำ" อย่างที่ คุณ สะ มะ นึ กะ P ก็อาจจะเป็นได้
  • คงต้องรอผู้รู้จริง มาเฉลยต่อไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท