clinical tracer aids


clinical tracer aids

ลองวางดูครับถ้าดีไม่ดียังไงช่วยวิจารย์ด้วยนะครับ

ภก.มด

Clinical Tracer เรื่องการดูแลผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์  งานเอดส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม20 กรกฎาคม 2550  

1. บริบทโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม    เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับกลาง  ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาด้านอายุรกรรม และมีคณะกรรมเอดส์จำนวน 22 คน ซึ่งให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งในเขตความรับผิดชอบ ผู้ป่วยที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง และผู้ป่วยลาว โรคเอดส์เป็นโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคและเป็นโรคเรื้อรังที่ติดต่อได้เนื่องจากปัจจุบันประชาชนทุกคนที่เป็นคนไทยต้องเข้าถึงบริการยาต้านไวรัส ทำให้ต้องมีการดูแลผู้ป่วยในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นโดยปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนนมต้องดูแลอยู่จำนวน 92 คน กินยาต้านไวรัสอยู่ 82 คน ไม่ได้กินยา 10 คน เสียชีวิตไปแล้ว 11 ราย แพ้ยา 1 ราย ไม่มาตามนัด 11 คน ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้องได้รับยาสม่ำเสมอและมีความเสี่ยงต่อการเกิดการดื้อยาของเชื้อได้  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อไม่ให้มีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

2. ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ 1.       การได้รับการตรวจ CD4 viral load การได้รับยาต้านไวรัสตามเกณฑ์มาตรฐาน2.       การรับยาป้องกันโรคฉวยโอกาสและการรับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ3.       การได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสและการดูแลหญิงติดเชื้อที่ตั้งครรภ์4.       การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและการติดตามการเยี่ยมบ้าน

3. วัตถุประสงค์ / เครื่องชี้วัดและการใช้ประโยชน์ 

วัตถุประสงค์

เครื่องชี้วัด
1 ผู้ป่วยได้รับการตรวจ CD4 viral load  และได้รับยาต้านไวรัสตามเกณฑ์มากที่สุด -ร้อยละการได้รับการตรวจ CD4 Viral load และได้รับยาต้านไวรัส
2 ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันโรคฉวยโอกาสหลังตรวจ  CD 4 -ร้อยละการได้รับยาป้องกันโรคฉวยโอกาส(PCP cryptococosis  MACและ penicillosis) 
3 ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสทุกรายและหญิงติดเชื้อได้รับการดูแล -ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาส(วัณโรคและซิฟิลิส์)ร้อยละของหญิงติดเชื้อได้รับการตรวจ pap smear โรคทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
4.จัดตั้งกลุ่มผู้ติดเชื้อเพื่อติดตามเยี่ยมบ้านกันเอง การจัดตั้งกลุ่มผู้ติดเชื้อและดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายและผลลัทธ์ (ตั้งแต่ ตุลาคม 2546 ถึง กันยายน 2549)

ตัวชี้วัด

2547 2548 2549 2550*
1.  1.1การติดตามCD4 เกณฑ์  ³ 90 %      1.2การติดตาม  Viral load**  ³ 90 % 93.3% (40/41)0 97.05% (33/34)0 100(36/36)0  -
2.การได้รับยาต้านไวรัสในผู้ที่สมควรได้รับ เกณฑ์³ 90 % 88.0% (22/25) 100.0%(28/28) 100%(23/23) -
3.การได้รับยาป้องกันโรคฉวยโอกาสในผู้ทีสมควรได้รับ   3.1 จาก PCP เกณฑ์  ³ 85 %   3.2 จากCryptococcosis เกณฑ์ ³ 85 %   3.3 จาก MAC ไม่ได้บังคับในปีนี้   3.4 จาก Penicillosis ไม่ได้บังคับในปีนี้  96.6% (25/26)5.36 % (1/9)0%(0/11)0 %(0/19)  96.77(30/31)45.45 % (5/11)0%(0/13)0 %(0/10)  100%(23/23)100%(10/10)0%(0/10)0%(0/8)  ----
4. การคัดกรองวัณโรค**  เกณฑ์ ³ 95 % 0 % (0/23) 88.23 %(30/34)  78.1%(25/32) -
5. การคัดกรอง VDRL**  เพื่อดูซิฟิลิส เกณฑ์ ³ 90 % 20 % (6/30) 44.12 % (15/34) 63.9(23/36) -
6. การดูแลผู้ติดเชื้อผู้หญิง**6.1 การตรวจ PAP smear ในผู้หญิง เกณฑ์ ³ 60 %6.2 การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์(STI) เกณฑ์ ³ 50 %6.3  การป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เกณฑ์ ³ 95 %  10.5 % (2/19)0 % (0/19)66.7%(2/3)  26.08(6/23)0 % (0/23)75.0% (3/4)  21.7(5/23) 0%(0/23)100% (1/1)  ---
7. การจัดตั้งกลุ่มผู้ติดเชื่อ (เป้าหมาย 1 แห่ง)     - ตั้งกลุ่มผู้ติดเชื้อ     - ตั้งศูนย์องค์รวม     - จำนวนแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อ     -  จำนวนครั้งของการประชุมกลุ่มสมาชิก          (เป้าหมาย เดือนละ 1 ครั้ง)  ----  1 แห่ง-26  1แห่ง-48  -1 แห่ง77

*อยู่ในระหว่างการดำเนินการ** ยังไม่ผ่านเกณฑ์

4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

4.1 กระบวนการพัฒนา                งานเอดส์ได้ทำการพัฒนากระบวนการการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางของกรมควบคุมโรคติดต่อตามแนวทางโครงการการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ในประเทศไทย (NAPHA)และได้นำโปรแกรม HIVQUAL-T เข้ามาเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการการดูแลรักษา และนำมาทำ Clinical CQI ต่อเรื่องการปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อ / ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม  อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในปีงบประมาณ  2548 และเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและโรคซิฟิลิส ในผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม  อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมในปี 2549 พบว่ามีแนวโน้มการรักษาดีขึ้น                จัดทำแนวทางการบริการการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มารับบริการให้กับทีมเอดส์ทราบเพื่อปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน                อบรมแกนนำเพื่อให้ความรู้แก่แกนนำผู้ติดเชื้อในการดูแลผู้ติดเชื้อด้วยกันเองและประสานงานกลับกลุ่ม NGO เพื่อให้ความอนุเคราะห์งบประมาณคือกลุ่มรณรงค์เพื่อการรักษาเอดส์(TTAG) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งงบประมาณและตัวบุคลากร

4.2 กระบวนการดูแลผู้ป่วย               

. การดูแลขณะอยู่ในหอผู้ป่วยโรงพยาบาล                ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมหากเป็นแพทย์ท่านอื่นสามารถขอคำปรึกษาได้ โดยผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลจะได้รับบริการในการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่ผู้ป่วยเป็นในระหว่างการรักษาจะได้รับบริการ VCT หากอยู่ในช่วงบริการการตรวจ CD4  ก็จะได้รับการส่งตรวจเลือดเพื่อการพิจารณาเข้าเกณฑ์การรักษาต่อไป                 ขณะที่นอนอยู่หอผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากทั้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล และหากผู้ป่วยต้องการที่จะมีเพื่อนโรงพยาบาลมีกลุ่มผู้ติดเชื้อที่คอยช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยด้วยกันเอง                เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาหายจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสก็จะส่งต่อเข้ารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอกต่อไป                

. การดูแลผู้ป่วยนอก                ประชาชนหากมีความประสงค์ที่จะเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่าตนติดเชื้อหรือไม่นั้นสามารถขอตรวจได้และจะได้รับบริการ VCT ก่อนเจาะเลือดและหลังจากเจาะเลือดแล้วหากไม่พบก็จะให้บริการเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ หากติดเชื้อจะได้รับการนัดมาเพื่อตรวจดูระดับ CD4 หากเข้าเกณฑ์การรักษา แพทย์ก็จะสั่งจ่ายยาต้านไวรัส โดยจะได้รับคำแนะนำในการรับประทานยาจากเภสัชกร เพื่อติดตามและประเมิน Adherance และผู้ป่วยนั้นจะได้รับการติดตาม ADR ที่สำคัญคือ ตับอักเสบโดยจะได้รับการตรวจ SGPT ALk ก่อนกินยา และหลังกินยาไปแล้ว 2 สัปดาห์ เมื่อกินยาครบหกเดือน ผู้ติดเชื้อจะได้รับการตรวจ CD4 ซ้ำ เพื่อประเมินผลการรักษา ผู้ป่วยทุกรายเมื่อมารับบริการจะได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจ VDRL เพื่อประเมินการติดซิฟิลิส และหากเป็นหญิงจะได้รับการตรวจ pap smeare เพิ่มเติมเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ใน 1 ปีผู้ป่วยที่กินยาจะได้รับการตรวจ Viral load เพื่อดูการดื้อยาของเชื้อเริ่มดำเนินการ ปี 2550 เป็นต้นไป ผู้ป่วยทุกรายที่ยินดีเปิดเผยตัวกับกลุ่มผู้ติดเชื้อจะได้รับการบริการเพิ่มเติมจากสมาชิกกลุ่มผู้ติดเชื้อ(กลุ่มสานน้ำใจสองฝั่งโขง              

  . การป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก                หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์จะได้รับการฝากครรภ์ 4 ครั้งคุณภาพและจะได้รับบริการการตรวจดูว่าติดเชื้อหรือไม่หากติดเชื้อจะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันทุกรายและได้รับการตรวจดู CD4 หากเข้าตามเกณฑ์จะได้รับยาต้านไวรัส เมื่อคลอดแม่จะได้รับยาป้องกันขณะคลอดและเด็กเมื่อคลอดแล้วจะได้รับยาป้องกันและได้รับนมผสมทุกรายและตรวจติดตามว่าติดเชื้อหรือไม่ทุกเมื่อ อายุ 12 เดือน และ 18 เดือน               

. การดูแลที่บ้านและผู้ที่ได้รับผลกระทบ                ผู้ติดเชื้อและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์(ผู้สูงอายุและเด็ก)ที่เป็นสมาชิกกลุ่มสานน้ำใจจะได้รับการเยี่ยมบ้านจากแกนนำกลุ่มเดือนละ 1 ครั้ง

4.3 ระบบงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง                . ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการติดตามและบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม NAPHA และเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านระบบบันทึกข้อมูลในโปรแกรม NAP-Program  ที่เป็นความลับ          . การฝึกฝนทักษะของแพทย์ / พยาบาล เภสัชกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อเป็นการทบทวนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์           . ระบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มสานน้ำใจสองฝั่งโขงพัฒนาตนเองเพื่อเยี่ยมบ้านผู้ป่วยแทนเจ้าหน้าที่ 

5. แผนการพัฒนาต่อไป / ปัญหาอุปสรรค

1.       คู่มือการดูแลตนเองที่บ้านและแนวทางการให้คำปรึกษากรณีเกิดภาวะแทรกซ้อน

2.       การได้จัดทำ competency ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเอดส์ขึ้น

3.       นำผู้ติดเชื้อเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยด้วยกันเองมากขึ้น

4.       การให้ความรู้แก่ชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนร่วมกับผู้ติดเชื้อและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลดผู้ติดเชื้อรายใหม่

5.       การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ 

 

คำสำคัญ (Tags): #clinical tracer
หมายเลขบันทึก: 116944เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เก่งมากครับน้องมด ที่เขียนกระชับ ได้ใจความ อ่านแล้วเข้าใจงานที่ทำอยู่ทั้งหมดออกเลยครับ

ถ้าเพิ่มประเด็น เด่นๆที่เป็นนวัตกรรมเพิ่มไป จะเจ๋งมาก เช่นเรื่องตอนที่นำอาสาสมัครมาเป็นส่วนร่วม  อาสาสมัครที่เข้มแข็ง  หรือบางเรื่องที่เล่าแล้วต้องหลั่งน้าตาจาก caseที่ดูแล เพื่อแสดงว่า เราดูแลอย่างองค์รวมขนาดไหน โดยเฉพาะการดูแลด้านจิตใจ ซึ่งพี่ว่ามันสำคัญมาก ในคนไข้กลุ่มนี้ ซึ่งเรามีเรื่องเล่าอยู่แล้ว พี่ว่า

สู้ๆนะ น้องนะ

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมค่ะ    เขียนได้กระชับดีค่ะ   จะนำไปเปรียบเทียบตัวชี้วัดของHIVQUAL ค่ะ

การทำPap ของสถาบันไม่ดี   แต่หลังจากให้ข้อมูลและความสะดวกผู้ป่วยมาตรวจมากขึ้นค่ะ

ขอให้กำลังใจคนทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท