ความพอดีของชีวิต


ความพอดีของชีวิต

 ตอนเด็กอยากได้อะไรหลายอย่าง อยากทำอะไรหลายสิ่งแต่ทำไม่ได้ เห็นคนอื่นเล่นของเล่น เครื่องกีฬา อยากแต่ไม่มีปัญญา  แต่ก็ไม่ได้อิจฉา รู้แต่เพียงอยาก โตมา พอมีปัญญาหาได้ แต่ก็โตเกินไปที่จะมี เชื่อไหม บางครั้งแอบซื้ออะไรบางอย่าง เช่น..เก็บไว้เพราะอยากได้มากว่า 50 ปี แต่ต้องเก็บไว้ ไม่อยากให้ใครรู้ อายเขาเพราะโตเกินไปที่จะเล่น บางครั้งอยากเล่นเหมือนเด็ก เชื่อว่าหลายคน คงไม่ต่างกัน สังเกตุจากงานศิษย์เก่า งานรุ่น หลายคนถอดหัวโขน ถอดเนคไท ถอดความเป็นผู้จัดการ เป็นอาจารย์ ออกมาทำเป็นเด็ก ตอนแรกก็นึกว่าเพราะความเมา แต่ไม่ใช่นะ นี่คือสิ่งทดแทนสิ่งที่ขาดไปใช่หรือเปล่า เลยถามว่าความพอดีของชีวิตอยู่ไหน  

คำสำคัญ (Tags): #ความพอดี
หมายเลขบันทึก: 116644เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความพอดีก็คือการเดินสายกลาง

 และทางสายกลางก็มีคุณลักษณะหนึ่งที่ระบุไว้ในบท ธรรมานุสติ วรรคสุดท้ายครับ

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ 

  • ยากจังครับ คำถามของอาจารย์
  • ผมเล่นตามประสาเด็กบ้านนอกครับ
  • สนุกแบบบ้านนอก
  • แต่ผมว่ามันใช้จินตนาการดี
  • ผมเคยสร้างจดหนังและเครื่องฉายหนังด้วยนะครับเอาดินเหนียวปั้น
  • โตมาชอบดูหนัง
  • ไม่เกี่ยวกับ ความพอดี นะครับแต่เล่าเรื่องเด็ก
ผมเชื่อในการเดินทางสายกลางว่าถูกต้อง ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินความพอดี แต่ผมมาคิดถึงชีวิตในช่วงหนึ่ง ทำไมในชีวิตเรา ไม่กี่สิบปี มันถึงแตกต่างกันเหลือเกิน ผมเมื่อคิดถึงวัยเด็กโดยเฉพาะช่วง ม.ต้น ผมมักจะโทร.ไปหาเพื่อนสนิทบางคน ทั้งๆที่ไม่เคยเจอหน้ามากว่า 30 ปี แต่ก็คุยกันอย่างสนุกได้ ผมคิดหัวข้อนี้ขึ้น วันที่สังคมไทยกำลังแตกกัน กอรปกับวันที่ผมถูกถามบางเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของผม แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนถาม แล้วเขาก็ว่า ผมไม่ได้เรื่องที่ตอบไม่ ได้ ก็เลยคิดว่าเป็นผู้ใหญ่นี้ยาก เป็นเด็กดีกว่า แต่คิดว่าวัยเด็กเราก็ขาดอะไรไปเยอะ
  • เห็นด้วยกับคุยไม่แสดงตนนะคะ
  • ผ่านมาไม่กี่ปี แต่ความแตกต่างของสังคมมากเหลือเกิน
  • ส่วนตัวเองสมัยเด็กก็เหมือน อ.ตู้ที่อยากได้อะไรบางอย่างแล้วไม่เคยได้
  • อยากเรียนก็เกือบไม่ได้เรียน
  • ต้องแสวงหาหนทางเอง ไม่มีใครปูไว้ให้
  • แต่เด็กสมัยนี้พ่อแม่ปูทางไว้สวยงาม
  • มีเทคโนโลยีสนองตอบทุกด้าน
  • สะดวกสบายไปหมด
  • แต่ทำไมหนอไม่ใส่ใจรับเอา
  • มัวเมาแต่สิ่งเหลวไหลไร้ตัวตน
  • ไม่สำนึก...วันไหนเถอะ
  • จะรอให้พ่อแม่ไม่อยู่หรือ...ถึงจะรู้สึก
  • ความพอดีอาจอยู่ที่ความพอใจของเรา
  • แต่ต้องถูกครรลองคลองธรรม

อาจารย์ครับ ผมคิดว่า คำว่าความพอเพียงถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อให้คนเราค้นพบความสุขได้ง่ายขึ้น หรือทางพุทธศาสนาก็คือทางสายกลาง   

คนเราทำงานเพื่อแลกเงิน  ได้เงิมมาแลกความต้องการ(ความสุข)  แต่เราก็ลืมไปว่าความสุขใช่จะแลกมาด้วยเงินอย่างเดียว  คนเราก็เลยตั้งหน้าตั้งตาทำงานเพื่อหวังเก็บเงินให้มาก  เพื่อที่จะได้แลกความสุขมากๆในอนาคต  แต่บางทีมันก็สายเกินไป บางคนโชคร้าย คือไม่ได้ใช้ความสุขที่ต้องการนั้นเลย...

ความพอเพียง  ของแต่ละคนไม่เท่ากัน  ใครที่มีความพอน้อยที่สุดคนนั้นก็จะได้พบความสุขมากที่สุด  เมื่อใครมีความพอน้อยก็จะต้องการน้อย  ต้องการน้อยก็จะเบียดเบียนคนอื่นน้อย  มีความพอน้อยเมื่อได้มากก็จะแบ่งบันให้คนอื่นมาก  คนที่แบ่งบันคนอื่นมากก็จะได้รับความสุขที่แท้จริงมาก

เนื่องด้วยคนเราอิทธิพลจากสังคมตั้งแต่เล็กจนโต

เช่น ครอบครัว การศึกษา การทำงาน มวลมิตรสหาย

ส่งผลให้คนเรามีตัวแบบหรือฐานคิดในการดำรงชีวิต

ที่แตกต่างกันออกไป...ความพอดีของชีวิต

ความพอเพียงของชีวิต...ในความหมายของแต่ละคน

จึงอยู่ที่ฐานคิด/ความทรงจำ/ประสบการณ์ในอดีต... 

...เช่น...ความทรงจำสมัยเด็กของท่านอาจารย์อำนวย

ตลอดจน...การนิยามความหมายของความพอดี

ของแต่ละท่าน...ในที่นี้...สิ่งที่สังคมเราต้องร่วมกัน

สร้างคือ ตัวแบบอันพึงประสงค์ให้มากที่สุด...เช่น

เศรษฐกิจพอเ้พียงของในหลวง เป็นต้น 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท