อาหารสุขภาพ+ป้องกันธาตุไฟ(การอักเสบ)กำเริบ


ความเสื่อมของคนเราส่วนหนึ่งเกิดจากการอักเสบ (inflamation) หรือธาตุไฟกำเริบภายในอวัยวะต่างๆ

<p>ความเสื่อมของคนเราส่วนหนึ่งเกิดจากการอักเสบ (inflamation) หรือธาตุไฟกำเริบภายในอวัยวะต่างๆ</p>

การอักเสบมีส่วนทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อมเร็วขึ้น เช่น ผนังเส้นเลือดหัวใจที่มีการอักเสบเรื้อรังจะบวม และอุดตันเร็วขึ้น ฯลฯ

ท่านอาจารย์นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ด้านความชรา (anti-aging medicine) แนะนำอาหารต้านธาตุไฟ(การอักเสบ) ในวารสารใกล้หมอ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2550

คำแนะนำในการกินอาหารต้านธาตุไฟ(การอักเสบ)ได้แก่

(1). หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์บก:

ไขมันที่ควรลดได้แก่ ไขมันที่เสริมธาตุไฟได้แก่ ไขมันจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ หมู ฯลฯ และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันเต็มส่วน

ถ้าดื่มนมหรือกินผลิตภัณฑ์นม ควรเปลี่ยนนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นชนิดนมไม่มีไขมัน (nonfat) หรือนมไขมันต่ำ (low fat) นอกจากนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์นมชนิดน้ำตาลต่ำเสมอ โดยเฉพาะโยเกิร์ต

(2). เลือกกินไขมันชนิดดี:

ไขมันที่ควรกินเป็นประจำ เพื่อช่วยต้านธาตุไฟได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (monounsaturated fats) ซึ่งพบมากนน้ำมันมะกอก ถั่ว เมล็ดพืช อะโวคาโด ฯลฯ

อาจารย์ท่านแนะนำให้เลือกน้ำมันพืชที่มีสีเข้มหน่อย เช่น น้ำมันมะกอกชนิดเอกซทราเวอร์จิน (extra virgin) ฯลฯ ไว้ก่อน เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านธาตุไฟได้ดี

(3). กินปลาทะเล:

ควรกินปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน ฯลฯ เพื่อให้ได้กรดไขมันชนิดดีมาก (โอเมกา-3)

(4). หลีกเลี่ยงอาหารดัชนีน้ำตาลสูง:

อาหารที่ควรลดได้แก่ อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (high glycemic index) ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามาก เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ข้าวขาว ขนมหวาน น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเติมน้ำตาล ฯลฯ

(5). กินอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ:

อาหารที่ควรกินเป็นประจำ เพื่อช่วยต้านธาตุไฟคือ อาหารดัชนีน้ำตาลต่ำได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ฯลฯ เมล็ดพืช ถั่ว ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้คือ ผักสด

ข้อควรระวังในการกินเมล็ดพืชคือ เมล็ดพืช เช่น ฟักทอง(มีธาตุสังกะสีสูง) ทานตะวัน ฯลฯ มีน้ำมันปนอยู่ค่อนข้างมาก จึงไม่ควรกินเกินวันละ 1 ฝ่ามือ และไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน

ควรระวังนมถั่วเหลืองที่ผสมเนยเทียมหรือครีมเทียม(คอฟฟีเมต) เนื่องจากมีไขมันแปรรูป หรือไขมันทรานส์ ซึ่งทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง และโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เพิ่มขึ้น

(6). กินผักสดผลไม้สด:

ผักใบเขียวสด เช่น คะน้า บรอคโคลี ฯลฯ และผลไม้สด เพื่อลดธาตุไฟ

ควรกินมะเขือเทศหรือผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ฯลฯ เสริม เนื่องจากมีสารไลโคพีนที่ช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก และมีธาตุสังกะสีสูง

(7). ลดน้ำผลไม้:

น้ำผลไม้มีดัชนีน้ำตาลสูงกว่าผลไม้ทั้งผล เนื่องจากย่อยได้เร็วกว่า จึงควรกินผลไม้ทั้งผลแทน ซึ่งให้ผลดีกับสุขภาพมากกว่า และช่วยต้านโรคอ้วน โรคอ้วนลงพุงได้ดีกว่า

(8). หลีกเลี่ยงไข่แดงและเครื่องในสัตว์:

เครื่องในสัตว์และไข่แดงมีกรดอะแรกคิโดนิค (arachidonic acid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารอักเสบไซโทคายน์ค่อนข้างสูง ถ้ากินมากเกินอาจทำให้ธาตุไฟกำเริบได้ถ้ากินมากเกิน

พวกเราควรหลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ส่วนไข่แดงควรถือหลัก “พอประมาณ” ไว้ก่อน คือ ไม่ควรเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ (ไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล)

(9). ใส่ใจสุขภาพช่องปาก:

ควรตรวจช่องปากกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจหาโรคเหงือก โรคฟัน ซึ่งอาจมีการอักเสบเรื้อรัง เช่น ฟันผุ ปริทนต์อักเสบ(เนื้อเยื่อรอบโคนฟัน) ฯลฯ

นอกจากนั้นควรเรียนปรึกษาหมอฟัน เพื่อขอคำแนะนำในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันโรคปริทนต์อักเสบ(เนื้อเยื่อรอบโคนฟัน) ซึ่งอาจปล่อยสารก่อการอักเสบเข้ากระแสเลือด ทำให้ธาตุไฟกำเริบได้คราวละนานๆ

อาจารย์ท่านแนะนำตัวอย่างอาหารดีๆ ไว้ดังต่อไปนี้

  • สลัดน้ำใสใส่น้ำมันมะกอก 3-4 ช้อนโต๊ะ กินพร้อมผักสด และมะเขือเทศ... ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลงเกือบ 40%
  • เมี่ยงคำ... เมี่ยงคำมีสารเรสเวราทรอลในถั่วลิสง และแคโรทีนอยด์ในผักห่อเมี่ยง ช่วยให้อายุยืนอย่างมีคุณภาพ

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี ไม่มีธาตุไฟกำเริบ จะได้มีอายุยืนอย่างมีคุณภาพไปนานๆ ครับ

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อาหาร"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อาหารเสริม"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อนุมูลอิสระ / แอนตี้ออกซิแดนท์"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ดัชนีน้ำตาล"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

</span><ul>

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช. รีบหาอาหารต้านการอักเสบกิน. ใกล้หมอ Health & well-being. ปี 31 ฉบับ 6 กรกฎาคม 2550. หน้า30-33.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 3 สิงหาคม 2550.
  • </ul></font></span></span></span></span></span></span>

    หมายเลขบันทึก: 116608เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท