โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ตราบาปของผู้ที่ทำร้ายตนเอง


     

วันนี้ฉันมีโอกาสได้คุยกับผู้ป่วยที่ทำร้ายตัวเองด้วยการกรีดข้อมือมา  จากการสังเกตที่ข้อมือทั้งสองข้างของเขามีรอยแผลเป็นที่เกิดจากการกรีดแบบนี้จำนวนมาก  ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาทำร้ายตนเอง ฉันจึงนั่งคุยหาสาเหตุและหาแนวทางการช่วยเหลือ และสิ่งที่ได้ยินจากปากของผู้ป่วยรายนี้ทำให้ฉันเศร้าใจไม่น้อย "มีหลายๆคนว่าผมว่า  ผมเป็นคนอ่อนแอ  คนขี้แพ้หนีปัญหา  ตัวเองยังไม่รักตัวเองเลยแล้วจะเรียกร้องให้ใครมารัก  พวกชอบทำประชดคนอื่นเรียกร้องความสนใจ" เขาพูดพร้อมกับน้ำตาลูกผู้ชาย  ทำให้ฉันต้องกลับมาคิดว่าหลายๆประโยคเหล่านี้เราเคยได้ยินจากผู้ที่พบเห็นคนทำร้ายตนเอง  หลากหลายความรู้สึกและนานาทัศนะที่มีต่อผู้ที่ทำร้ายตนเอง   จะมีใครคิดบ้างว่าสิ่งที่คนเหล่านั้นทำลงไปด้วยความเจ็บปวดที่มีอย่างมากในใจจนเกินจะทนไหว  จนต้องมาทำร้ายร่างกายตนเองให้เจ็บปวด  ถ่ายโอนความรู้สึกที่เจ็บปวดในใจมาที่ร่างกาย  เพื่อให้ความเจ็บปวดที่มีอยู่ในใจลดลง  ถ้อยคำเหล่านั้นทำให้เขาต้องเจ็บปวดมากขึ้นหลังการทำร้ายตนเองทั้งโดยบังเอิญและเจตนา          ฉันได้แต่หวังและพยายามทำความเข้าใจกับคนอื่นทุกครั้งที่มีโอกาส  และหวังว่าซักวันหนึ่งเขาเหล่านั้นจะหลุดพ้นจากตราบาปที่ผู้คนในสังคมประทับให้

 

หมายเลขบันทึก: 116323เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้อ่านแล้วก็ฉุกคิดมาหลายเรืองว่า

  • ในฐานะที่เราทำงานจิตเวชมาหลายปีก็เจอปัญหาแบบเดียวกันคือเรืองของ การตีตราคนไข้ (Stigmatisation) ไม่ได้เป็นเฉพาะคนฆ่าตัวตาย เป็นเปนปัญหากับผู้ป่วยโรคจิตเกือบทุกประเภท
  • ปีก่อนผมจำได้ว่าทีเมืองไทยทำโครงการลดรณรงค์ลดตราบาปในคนไข้จิตเวช แบบปูพรมทั่วประเทศ ไม่ทราบว่าตอนนี้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว
  • จะมีวิธีการใดหนอที่จะช่วยให้สังคมเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น และมองเห็นเขาเป็นคนคนหนึ่งในสังคม
  • จะวิธีการใดหนอที่จะช่วยให้ คนไข้ ยอมรับว่าเขาเป็นโรคทางจิต ไ่ม่อายที่จะบอกว่า เขาป่วยเป็นแบบนี้   เพราะการยอมรับตัวเองเป็นบันไดสำคัญที่จะทำให้เขาเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู (recovery process)
  • ในฐานะเจ้าหน้าที่เราคงต้องเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากคนไข้  เพราะสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขา เขารู้ดีที่สุด  แม้จะมีทฤษฏีมาอธิบาย แต่ท้ายที่สุด เขาย่อมรู้ปัญหาของเขาดีทีสุด
ขอบคุณค่ะที่เข้ามาร่วมแบ่งปันความคิดเห็น ที่คุณบอกว่ามีการรณรงค์ลดตราบาปในคนไข้จิตเวช แบบปูพรมทั่วประเทศ ถ้าถามว่าได้ทำไหม คำตอบคือได้ทำ แต่ถ้าถามถึงผลที่ได้ คงยังได้ผลไม่ดี และคิดว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเปลี่ยนทัศนคติเรื่องนี้ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท