บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

การละเล่นพื้นเมือง( 1 )


แบบแผนเฉพาะถิ่น
 Geisha การละเล่นพื้นเมือง Japanese Umbrella  

       ขอขอบคุณทุกท่านกับการเข้ามาเยี่ยมชมใน  บันทึกที่ผ่านๆมา ทำให้ผู้เขียนมีกำลังใจ ที่จะนำสาระเกี่ยวกับนาฏศิลป์และประเพณีวัฒนธรรมต่างๆมาเล่าในบันทึกต่อๆไป      ในบันทึกนี้ ผู้เขียนจะเล่าถึง  การละเล่นพื้นเมือง ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในวิชานาฏศิลป์ว่ามีความหมายและที่มาอย่างไรStilts                                   Kite Flying 

การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นรื่นเริง หรือมหรสพ  ซึ่งจัดแสดงเพื่อความสำเริงอารมณ์ของผู้เล่น  แต่เน้นที่อารมณ์ของผู้ชมเป็นสำคัญ  มีผู้แสดง  หรือคณะผู้แสดงเป็นฝ่ายให้ความบันเทิง  และมีผู้ชมซึ่งไม่อาจกำหนดตัวหรือจำกัดจำนวนเป็นฝ่ายรับความบันเทิง หรืออาจร่วมกันทั้งสองฝ่าย  การละเล่นพื้นเมือง แต่ละอย่างมีรูปแบบการแสดง และมีการสืบทอดรูปแบบหลักต่อ กันมา  มิใช่เป็นเพียงการแสดงออกของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นเฉพาะคน หรือเฉพาะคราว ( สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์  และคณะ 2528 : 1  )              

                       Hula-hoop

           การละเล่นพื้นเมือง  หมายถึง  กิจกรรมการละเล่นของสังคมซึ่งอาจจะไม่ทราบที่มาก็ได้  แต่ได้ยอมรับ และถ่ายทอดการเล่นต่อ ๆ กันมาโดยไม่ขาดสาย  เป็นกิจกรรมการเล่นซึ่งมี  การเคลื่อนไหวกิริยาอาการเป็นส่วนใหญ่  อาจมีการขับร้อง ดนตรี หรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น  มีจุดมุ่งหมายในการเล่น  เพื่อความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ (  ธิดา  โมสิกรัตน์  2533 : 651  )

                             Frisbee 1             

              การละเล่นพื้นเมือง  หมายถึง  การฟ้อนรำพื้นเมืองที่เกิดควบคู่กันกับเพลงพื้นเมืองมาแต่โบราณ  ไม่ว่าประเทศใดก็มีเพลงพื้นเมือง (  Folk  Song  )  มีการเต้นรำพื้นเมือง (  Folk  Dance  ) เป็นของตนเองด้วยกันทั้งนั้น  ดังนั้น  ลีลาท่าเต้นรำ  การแต่งกาย  เพลงและเครื่องดนตรี  ตลอดจนโอกาสในการแสดงจึงแตกต่างกันออกไป  (  สุดใจ  ทศพร  2535 :  86  )

 Seesaw  

              กล่าวโดยสรุปได้ว่า   การละเล่นพื้นเมือง  อาจจัดเป็นมหรสพชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่น และได้มีการสืบทอดต่อ กันมาจนมี

 แบบแผนเฉพาะถิ่น  ลักษณะการเล่น ประกอบด้วยทำนองเพลง เครื่องดนตรี ลีลาท่าทาง การแต่งกาย   โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง

  Great Wall Of China    Tiananmen Square    Golden Temple  Taj Mahal





หมายเลขบันทึก: 114900เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เข้ามาให้กำลังใจจ้า...
  • จะติดตามอ่านบันทึกต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากครูหญ้าบัว
  • รออ่านบันทึกใหม่ของครูหญ้าบัวอยู่ครับ
  • จะบันทึกต่อไป ถ้ามีผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท