ยุทธศาสตร์ของมหาชีวาลัย (๒) ฦๅ จะเป็นแค่ฝันกลางวัน


มหาชีวาลัยลับเผชิญปัญหาท้าทายสะท้อนกลับอย่างแรง ในเชิงของ “ความพร้อมของผู้เรียน” ที่เคยชินกับระบบการเรียนแบบเดิมๆ ที่ ท่องไปสอน-ท่องไปสอบ ไม่ใช้การจัดการความรู้ในการเรียน ไม่วัดหรือประเมินผลการศึกษา (ระดับการพัฒนาตนเอง) จึงทำให้ความฝันที่จะสร้างทางเลือกให้หน่วยงานหรือคนอื่นได้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด

  เท่าที่จำได้ แนวคิดของมหาชีวาลัยได้ก่อร่างเชิงแนวคิดที่สมบูรณ์ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ ที่นำเสนอในที่ประชุมของเครือข่ายปราชญ์อีสาน ที่โรงพยาบาลขอนแก่น เพื่อเป็นทางเลือกในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนัก ขาดการใช้ความรู้ (KM) ในการเรียนการสอน (มีแต่การใช้ข้อมูล (IM) และเอกสาร(document)) จนแทบจะไม่เหลือซากของระบบ การศึกษา (การพัฒนาตนเอง) หรือ แม้แต่การเรียนรู้ (การจัดการความรู้) และเป็นเพียง 

·        ผู้สอน ท่องคำพูดหรือตำราไปสอน

o       โดยผู้สอนก็ไม่ค่อยรู้มากกว่าการจำได้ บอกได้

o       ถึงรู้บ้างก็ใช้ความรู้ที่ตนสอนไม่ค่อยเป็น

o       ถึงใช้เป็นบ้างก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลจริงหรือเปล่า

o       แม้จะได้ผลบ้าง ก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิดประโยชน์กับใคร ในเรื่องใด ยั่งยืนแค่ไหน ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

·        ผู้เรียน ท่องคำบรรยายไปสอบ หรือ ลอกคำตอบ โดยวิธีต่างๆ 

o       ขอให้ได้สอบผ่าน (แล้วก็ลืมไปเลยว่าเคยได้ยินมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เมื่อมีคำถาม มักจะตอบว่า ลืมไปแล้ว”)

o       ขอให้ได้กระดาษรับรองไปแผ่นหนึ่ง (โดยไม่สนใจว่าจะมีความรู้อะไรหรือไม่) 

เพราะ

·        เราตั้งเกณฑ์ประเมิน ผลการเรียนการสอน กันเท่านั้น

·        ก็มีคนทำตามขั้นต่ำกันเท่านั้น และ

·        ได้ผลกันเท่านั้น (เป็นส่วนใหญ่)  

จึงน่าสงสัยว่า เรามีระบบการศึกษา (การพัฒนาตนเอง) ที่แท้จริง อยู่ในตอนไหนบ้าง ของการพัฒนากำลังคนของชาติ หรือเราตั้งความหวังว่าระบบการศึกษา เกิดขึ้นตอนทำงาน เท่านั้น 

 แล้ว ระบบการเรียน (ท่องจำ) ที่เป็นอยู่ควรจะเรียกว่าอะไร ถ้าไม่หวังผลด้านการศึกษา 

เพื่อให้เกิดทางเลือกในการพัฒนา ทางมหาชีวาลัยจึงได้คิดวางเกณฑ์ใหม่ในเชิงประจักษ์ คือ ผู้ที่จะจบการศึกษา (ที่แปลว่า การพัฒนาตนเอง) ในระดับปริญญาต่างๆ ต้องมีผลการเรียน (KM หรือ การจัดการความรู้) จนเกิดผลเชิงประจักษ์ในเชิงผลงาน (การศึกษา) เพื่อเป็นผู้รู้ (บัณฑิต) ในระดับต่างๆ ดังนี้

·        ปริญญาตรี ต้องสามารถพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงตนเองและครอบครัวจนรอดได้

·        ปริญญาโท ต้องสามารถใช้ความรู้ที่มีไปทำงานในระบบเครือข่ายระบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาในด้านที่ตนถนัด (สาขาวิชาต่างๆ)ได้

·        ปริญญาเอก ต้องสามารถสร้างพัฒนาเครือข่ายระบบเศรษฐกิจพอเพียง ได้  

แต่เมื่อ มหาชีวาลัยได้เข้ามาจับมือกับ สคส. และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อปี ๒๕๔๘ เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโทและเอกนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนคำให้เป็นศัพท์ของ KM มากขึ้นเป็น ๓ เส้า หลักๆ คือ

·        KM ธรรมชาติ (จัดการความรู้เพื่อชีวิต)

·        อิงระบบ (ทำงานเชื่อมโยงที่ยังประโยชน์แบบบูรณาการรอบด้าน)

·        สร้างพันธมิตรทางวิชาการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) 

ทั้งสามยุทธศาสตร์นี้ถือว่าเป็นหลักการที่จะนำไปสู่เป้าหมายของ ทางเลือก ของระบบการศึกษาที่สามารถแก้ไขระบบกระดาษเปื้อนหมึกไปเป็นระบบการศึกษาได้ 

แต่ มหาชีวาลัยก็กลับเผชิญปัญหาท้าทายสะท้อนกลับอย่างแรง ในเชิงของ ความพร้อมของผู้เรียน ที่เคยชินกับระบบการเรียนแบบเดิมๆ ที่

·        ท่องไปสอน-ท่องไปสอบ

·        ไม่ใช้การจัดการความรู้ในการเรียน

·        ไม่วัดหรือประเมินผลการศึกษา (ระดับการพัฒนาตนเอง)  

จึงทำให้ความฝันที่จะสร้างทางเลือกให้หน่วยงานหรือคนอื่นได้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด  

เพราะเมื่อวัตถุดิบไม่พร้อม ระบบผลิตจะดีอย่างไรก็ทำอะไรไม่ได้ 

มหาชีวาลัยจึงต้องถอยหลังย้อนมาพัฒนา วัยก่อนเรียน”  

แต่การพัฒนาวัยก่อนเรียนก็ไม่รวดเร็ว หรือง่ายอย่างที่คิด เพราะ

·        ผู้สนใจที่จะร่วมกระบวนการที่ค่อนข้างยากของมหาชีวาลัยมีน้อย

·        แถมยังมีสิ่งล่อใจแบบขนมหวานหลอกเด็กในระบบ ท่องไปสอบแลกกระดาษเปื้อนหมึก และ กระดาษเปื้อนหมึกแลกตำแหน่ง มีมากมายอยู่ทั่วไป

·        ทำให้ วัยก่อนเรียน ไม่ค่อยสนใจพัฒนาตนเอง แต่กลับไปนั่งแอบคิดอิจฉาผู้อื่นที่อยู่ในระบบ ขนมหวานเคลือบความว่างเปล่า หรือแม้กระทั่ง แทรกยาพิษ ไว้ข้างใน 

วันนี้(๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐)ตอนบ่าย มหาชีวาลัยจะได้จัดประชุมกันที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อทบทวนว่าเราจะทำกันอย่างไรต่อไป 

ฦๅ ความหวังของทางเลือกใหม่ จะเป็นแค่ความฝันที่ทำจริงไม่ได้ 

แต่ก็ยังเสียดายมากๆ ว่าถ้ามหาชีวาลัยมี ผู้พร้อมจะเรียน ยุทธศาสตร์มหาชีวาลัยน่าจะทำได้จริง และ เป็นทางเลือกของสังคมได้แน่นอน 

และไม่ทราบว่า เราจะพัฒนาความพร้อมของผู้เรียนในภาวะสังคมที่ไม่สนับสนุน และไม่พร้อมได้อย่างไร 

คำถามนี้จึงกลับเป็นคำท้าทาย ความอยู่รอด และความสำเร็จของ มหาชีวาลัย ที่จะแสดงให้เห็นว่า เรายังมีทางเลือกอีกทางหนึ่ง ให้สังคมไทยได้เห็น และพิจารณาเลือกไปใช้ในการพัฒนา ระบบการศึกษา ที่เป็นไปได้ และมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อทุกคน และประเทศชาติ 

ด้วยความหวังที่ริบหรี่ 

สนามบินดอนเมือง

๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 114743เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะอาจารย์...ไม่เจออาจารย์เสียนานค่ะ

 

ผมกำลังกลับไปพัฒนาตนเอง แบบที่พ่อเล็ก กุดวงศ์แก้วพูดเสมอว่า "จะพัฒนาใคร ต้องพัฒนาตัวเองก่อน"

ผมใช้เวลาวางฐานงาน ฐานความรู้ ฐานการวิจัย และฐานชีวิตครับ

ขอบคุณครับที่ติดตาม

ผมจะกลับมาพร้อมกับความพร้อมของตัวเองครับ

ตอนนี้กำลังพัฒนาตัวเองครับ

กราบเรียน ท่านอาจารย์ ดร.แสวง ที่นับถือ

  • มหาชีวาลัยแห่งอีสาน เป็นที่ที่สั่งสม และ สะสมองค์ความรู้เป็นที่ประจักษ์
  • ประเด็นที่ขออนุญาตให้ความคิดเห็น และ ขอแสดงความเป็นห่วง คือ เรื่องสุขภาพ ของท่านครูบาครับ
  • รบกวนท่านอาจารย์ลองคุย กับ รศ.นพ.พิศาล ไม้เรียง ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ด้วยครับ หรือ ท่านอาจารย์ สมพิศ ไม้เรียง ก็ได้ครับ
เรียน ท่านอาจารย์ JJ ที่เคารพ
  • มหาชีวาลัยอีสาน เป็นงานของเครือข่ายปราชญ์อีสาน ที่เน้นการทำงานอยู่ใน 5 จังหวัดของอิสานใต้ มีแกนนำกระจายอยู่ทั่วไป โดยมีครูบาสุทธินันท์ เป็นผู้นำ ด้านการเผยแพร่สู่สาธารณะ
  • ผมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน  ที่ร่วมกิจกรรมมาตลอดกว่า 5 ปี ได้กำหนดยุทธศาสตร์ต่างๆ ร่วมกัน ทั้งยุทธศาสตร์หลักและยุทธศาสตร์ย่อย
  • มหาชีวาลัยอีสาน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญของบุคลากรที่เป็นแกนนำ ด้านต่างๆ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ ที่สามารถปฎิบัติได้ อย่างกว้างขวางและได้ผลมากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ซึ่งประเด็นสำคัญ อยู่ที่แนวทางการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล แม้จะมีใครอยู่หรือไม่ก็ตาม
  •  ฉะนั้นผลงานองมหาชีวาลัยอีสาน จึงสำคัญมากต่อความอยู่รอดของมหาชีวาลัย ซึ่งเชื่อมั่นว่า ถ้ามีวัตถุดิบที่ดี กระบวนการผลิตของมหาชีวาลัยอีสานน่าจะได้ผลดีและก้าวหน้า สืบไป 
  • เกี่ยวกับสุขภาพของครูบานั้น ผมได้รับทราบข้อมูลจาก ดร สมพิศ ไม้เรียง อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เมื่อวันที่ 18 กค ที่ผ่านมา ผมได้ไปทานอาหารเย็นร่วมกับครูบาและ ดร สมพิศ ก่อนที่ครูบาจะเดินทางมาตรวจสุขภาพในวันที่ 19 กค แล้วผมก็ได้โทรฯ ติดต่อกับทั้งครูบาและ ดร สมพิศ เกือบทุกวัน 

ขอขอบคุณที่เป็นห่วงทั้งครูบาและมหาชีวาลัย ซึ่งผมเข้าใจว่า ท่านทราบดีว่า ทั้งสองส่วนนี้มีทั้งแยกกันและเกี่ยวข้องกัน แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน 

จึงเรียนมาด้วยความเคารพ 

เขียนขณะที่ อยู่ที่วาปีปทุม..มหาสารคาม (กำลังขับรถไปบ้านครูบา)

สวัสดีค่ะท่าน ..ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ครูอ้อยจะได้พบท่านไหมคะ...ที่มหาชีวาลัยอีสาน
  • กำลังจะไปค่ะ   ต้องได้พบใช่ไหมคะ

ดีใจค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.แสวง ฝากกราบสวัสดีท่านพี่สุทธินันท์ และ ทีมงานด้วยครับ คาดว่าทีมงาน มมส จะไปคารวะท่านในเร็ววันนี้ครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่แนะนำความรู้เรื่อง km ซึ่งทางกลุ่มที่ 2 ศูนย์เรียนรู้อำเภอภูพาน ของสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กำลังเรียนอยู่พอดีเลย พวกเราจะได้นำความรู้จากท่านมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

  • ขอบคุณมากครับอาจารย์
  • ทำให้ผมเข้าใจเรื่องของมหาชีวาลัยอีสานมากกว่าเดิมหลังจากทราบจากท่านอาจารย์ประเวศ
  • ยังยากเห็นมหาวิทยาลัยอีสานคงอยู่ตลอดไป
  • มาให้กำลังใจทุกท่านครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท