สวัสดีครับทุกท่าน
คุณเคยหัดผวนคำกันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ ในชีวิต
ยกตัวอย่างเช่น สวัสดี ผวนเป็น สะ หวี ดัด
ฝึกหัดคำแบบนี้ก็สนุกดีนะครับ มึนดีครับ
ผมสังเกตว่า การผวนคำเป็นการบริหารของสมองทั้งสองซีก โดยซีกซ้ายทำหน้าที่ผวน และซีกขวาทำหน้าที่ตกแต่งคำตามภาษาศิลป์
มองๆ แล้วก็เหมือนกับ การ เอ็นโค๊ด ดีโค๊ด ในการเข้าและถอดรหัสลับนะครับ
ยกตัวอย่างเช่น นายสมพร
เข้ารหัสไปเรื่อยๆ เช่น
-
นายสมพร เป็น นอนสมพาย
-
นอนสมพาย เป็น นอนสายพม
-
นอนสายพม เป็น นมสายพอน
-
นมสายพอน เป็น นมสอนพาย
-
นมสอนพาย เป็น นายสอนพม
-
นายสอนพม เป็น นายสมพร
เห็นไหมครับ นี่คือความงามของภาษาแบบครบวงจรนะครับ สามารถเขียนได้ตามหลักและสูตรของการเรียงสับเปลี่ยน ว่าด้วย วรรณคำผวน
คุณเห็นไหมครับ ว่า นั่นจากคำสามพยางค์ เรามองได้โดยการสลับที่เป็น 6 กรณี
ใน 6 กรณีนั้น จะเข้าสู่ระบบหลักทางคณิตศาสตร์ว่า สามารถเรียงสับเปลี่ยนกันได้ 3! (สามแฟกตอเรียล) กรณีที่ไม่มีสระซ้ำครับ
ซึ่ง 3! = 1x2x3 = 6 กรณีครับ
แล้วเช่น โกทูโนว หล่ะครับ ผวนได้ กี่วิธีครับ
เห็นไหมครับ ว่า คณิตศาสตร์ อยู่ทางซ้ายซ้าย ภาษาอยู่ด้านขวาของสมอง
สรุปคือ การผวนคำเป็นการบริหารสมองทั้งสองซีกของคุณอย่างสมบูรณ์ครับ
คุณเห็นอย่างไร ผมเห็นแบบนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
ขอบคุณมากครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ใน ลานคณิตศาสตร์