นักวิชาการและนักวิจัยมืออาชีพ (บริบทของมหาวิทยาลัย)


โดย ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ บรรยายพิเศษ ณ ห้อง Acc.Biz.405 คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                       โดยสรุปวิทยากรได้นำเสนอเกี่ยวกับการเป็นนักวิจัยมืออาชีพ  ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นได้  7  หัวข้อ  ดังนี้

 1.  แนวคิดการวิจัยของนักวิจัยมืออาชีพ

                                1.1  การค้นหาหรือสร้างสิ่งที่ยังไม่มีการค้นพบและสร้าง

 (ความรู้)

                                1.2  การเปลี่ยนปัญหา  เป็น  ปัญญา  (ความเข้าใจ)

                                1.3  การสร้างองค์ความรู้  จาก  ความรู้  (ความลึกซึ้ง)

                                1.4  การกระจายความรู้  (การเผยแพร่ความรู้)

                                1.5  การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์  (ความมีคุณค่า)

                                1.6  การฝึกฝนให้เกิดทักษะของความรู้  ความเข้าใจ  ความลึกซึ้ง  และความมีคุณค่าของงานอย่างต่อเนื่อง  (การวิจัย)

                                1.7  องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย  ถือเป็น  ทรัพย์

 2.  วงจรการวิจัย - ความรู้และการจัดการความรู้ในมุมนักวิจัย

                                        1.โจทย์วิจัย                       2.   นักวิจัย  

                                        3.  ผู้ใช้ผลงานวิจัยหน่วยงานภายนอก      4.  ผลงานวิจัย

 3.  ผลลัพธ์โดยตรงและระยะยาวจากงานวิจัย  (ความสอดคล้องกับวงจรวิจัย)

                                3.1  สร้างคนหรือนักวิจัยมืออาชีพ

                                3.2  สร้างองค์ความรู้

                                3.3  สร้างและพัฒนาหน่วยงาน  สังคมและประเทศด้านการวิจัย

                                3.4  สร้างโจทย์ใหม่ของปัญหา

 4.  ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัย

                                4.1  สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ (ต้องทำงานเป็นทีม)

                                4.2  ได้ความรู้ใหม่  และการเพิ่มพูนความรู้  (จนเป็นองค์ความรู้)

                                4.3  ยืนยันความถูกต้องของความรู้ที่ได้มาในอดีต

                                4.4  สามารถนำความรู้ไปใช้งานโดยตรง  และปรับปรุงการสอน

                                4.5  นำไปตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสาร/ประชุมวิชาการ

                                4.6  ปรับตำแหน่งทางงาน  หรือ  ตำแหน่งทางวิชาการ

                                4.7  เพิ่มคุณภาพประวัติทางวิชาการ

                                4.8  เพิ่มรายได้แก่ตนเองและหน่วยงาน

                                4.9  สร้างชื่อเสียงแก่ตนและหน่วยงาน

                                4.10  พัฒนาหน่วยงาน  สังคม  และประเทศชาติ

 5.  ตำแหน่งทางวิชาการ

                                5.1  แสดงถึงความต่อเนื่องของชีวิตนักวิจัยทางวิชาการ

                                5.2  ความต่อเนื่องของการปรับตำแหน่งสอคล้องกับความทันสมัยขององค์ความรู้

                                5.3  เพิ่มค่าครองชีพให้แก่ตนเองและครอบครัว

                                5.4  เพิ่มค่าครองชีพให้แก่ตนเองและครอบครัว

                                5.5  เพิ่มโอกาสในการทำงานวิจัย  (ขอทุนวิจัย  ผู้นำทางวิชาการ  การเรียนรู้ เป็นต้น)

                                5.6  สร้างชื่อเสียงและยกระดับหน่วยงานต้นสังกัด  โดยอาจได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น  หรือนักเทคโนโลยีดีเด่น

                                5.7  เป็นนักวิจัยตัวอย่างแก่นักวิจัยรุ่นใหม่

 6.  ผลงานวิชาการที่ใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ

                                6.1  เอกสารประกอบการสอน/เอกสารประกอบคำสอน/เอกสารการสอน

                                6.2  ตำรา/หนังสือ

                                6.3  งานแปล และเรียบเรียง

                                6.4  ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น

                                6.5  ผลงานวิจัยค้นคว้า 

                                     6.5.1  ในที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ/ระดับนานาชาติ)

                                      6.5.2  ในวารสารวิชาการ (ระดับชาติ/ระดับนานาชาติ)

                                6.6  ผลงานวิชาการอื่น ๆ

 7.  แนวทางการสนับสนุน

                                7.1  สนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยแบบ  Fast Track  เช่น  ทำร่วมกับนักวิจัยที่มีประสบการณ์  ทำงานวิจัยต่อยอด  และจัดแบ่งประเภทบุคลากร (วิจัยหรือสอน) เป็นต้น

                                7.2  ให้เกียรติหรือยกย่องผู้มีตำแหน่งทางวิชาการ (โดยเฉพาะได้มาจากการวิจัย)

                                7.3  ผลักดันให้บุคลากรทำงานเพื่อสังคม  และรับการยกย่องจากสังคมวิชาการ (รางวัล)

                                7.4  ปรับเกณฑ์ให้มีความยืดหยุ่น  มีความหลากหลายและกว้างขึ้นในแนวปฏิบัติ แต่คงเกณฑ์คุณภาพของตำแหน่ง

                                7.5  ผลักดันให้มีคุณภาพผลงานสูงตามตำแหน่ง  ไม่สนับสนุนคุณภาพที่มาจากบริเวณผลงาน (เช่น รศ. ต้องมีผลงานวิจัยไม่น้อยกว่า 70% หรือเป็นระดับนานาชาติ เป็นต้น)

                                7.6  มีแนวทางสนับสนุน (ค่าตอบแทนหรือภาระงาน)  ผลงานวิชาการ (ที่มีคุณภาพและสากล) และสามารถนำไปขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้

                                7.7  กำหนดว่าผู้บริหารงานวิจัยและวิชาการ  ควรมีตำแห่งทางวิชาการ

                                7.8  ส่งเสริมให้มีการขอกำหนดตำแห่งโดยวิธีพิเศษ




ความเห็น (1)

font เหมือน copy มาเลยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท