ทำไม...ต้องมีผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(APN)


Concept of Advanced Practice Nurses

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 พวกเรา APN จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5 คน มีการติวน้องพยาบาลที่จะไปสอบ APN ในปีนี้และน้องที่ยังไม่พร้อมไปสอบแต่มีความสนใจ

เราเชิญหัวหน้าพยาบาล  พี่ชูศรี  คูชัยสิทธิ พูดถึงนโยบายของ APN ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

พวกเราได้เชิญพี่สุพร วงค์ประทุม พี่พยาบาลเป็นนักศึกษา ปริญญาเอก ที่ทำเรื่อง APN โดยเฉพาะ ให้มาพูดเรื่อง  บทบาทของ APN

น้องพยาบาล สนใจฟัง ด้วยความตั้งใจ

 

คุณสุธีรา ตั้งตระกูล APN Med-Serge โรคACS

กำลังติวน้อง

 

คุณอุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง APN Med-Serge โรคไต

 

คุณพนอ  เตชะอธิก  APN Med-Serge ER emergency

กำลังติวจริยธรรมน้องๆ อย่างแข็งขัน

 

เชิญวิทยากร คุณปราณีพร บุญเรือง ที่เป็น APN จิตเวช

จากศูนย์บำบัดยาเสพติด  มาติว วิชาการพยาบาลจิตเวชด้วยค่ะ

 

แนวคิดเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (Concept of Advanced Practice Nurses )

ฉันได้มานั่งอ่านทบทวนความรู้ที่ พี่สุพร วงค์ประทุม ได้ให้กับพวกเรา

จึงจะขอถ่ายทอดต่อให้ผู้สนใจอ่าน

ในบางประเด็น คือ

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง  หมายถึง

พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางการพยาบาลและต้องสอบผ่านการสอบวุฒิบัตรรับรองและเป็นผู้มีความรู้ ทักษะและมี

ขอบเขตของการพยาบาลในขั้นสูง

ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริการได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  คือ

1. พยาบาลวิสัญญี (Certified Registered Nurse Anesthetists:CRNAs)

2. พยาบาลผดุงครรภ์ (Certified Nurse-Midwives:CRNAs)

3. พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก (Clinical Nurse Specialist:CNSs)

4.  พยาบาลเวชปฏิบัติ (Nurse Practitioners:NPs)

บทบาทของพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง

สมาคมพยาบาลแห่งประเทศอเมริกา(The American Nurses'Assosiation: ANA) ได้กำหนดให้มีพยาบาล 2 ระดับ คือ

การปฏิบัติการพยาบาลทั่วไป (General Nursing Practice)

และการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(Advanced Nursing Practice)

        ซึ่งพยาบาลปฏิบัติการทั่วไป  สามารถเปลี่ยนผ่านไปเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงได้ โดย

  • มีการศึกษาเพิ่มเติมหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว

  • มีการตัดสินใจที่ซับซ้อน

  • มีความเป็นผู้นำ

  • มีความสามารถในการเจรจาต่อรองในองค์กรที่มีความซับซ้อน

  • และมีการเพิ่มพูนทักษะความรู้และการปฏิบัติ

การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงมีความแตกต่างกันกับ การปฏิบัติการพยาบาลทั่วไป 3 ประการ คือ

1. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Specialization) เน้นการพยาบาลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

2. ขยายขอบเขตการให้บริการ (Expantion) เป็นการเรียนรู้และเพิ่มความรู้ใหม่ ทักษะและสมรรถนะในการปฏิบัติ รวมทั้งการปฏิบัติบทบาทที่เป็นเอกสิทธิถูกต้องตามกฏหมายในขอบเขตความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพยาบาล

3. ความก้าวหน้า (Advancedment) เป็นการรวมทั้งความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและขยายขอบเขตการให้บริการ และเป็นผลของการบูรณาการทางด้านทฤษฎี ทักษะและสมรรถนะ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัวรวมทั้งระบบบริการสุขภาพ

สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 6 ด้าน คือ

1. ด้านปฏิบัติการพยาบาล

2.  ด้านบริหารจัดการ

3.  ด้านการให้ความรู้

4.  ด้านการเป็นที่ปรึกษา

5.  ด้านวิจัย

6.  ด้านคุณธรรม จริยธรรม

คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติการขั้นสูง

ประกอบด้วย คุณลักษณะเบื้องต้น (Primary criteria) สมรรถนะกลาง (A central competency) สรรถนะหลัก(Core competency)

คุณลักษณะเบื้องต้น (Primary criteria)

1.ได้รับการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกในสาขาเฉพาะทาง

2. ได้รับวุฒิบัตรรับรอง  สำหรับการปฏิบัติในสาขาระดับสูง

3. มีความสามารถในการปฏิบัติงานที่เน้นผู้ป่วย  ผู้ใช้บริการและครอบครัว

สมรรถนะกลาง (A central competency)

เป็นความสามารถในการปฏิบัติทางคลินิกโดยตรง (Direct clinical care) 5 ข้อ ได้แก่

1. การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

2. เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของผู้ป่วย

3. มีการตัดสินใจทางคลินิก

4. ใช้หลักฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล

5. ผสมผสานวิธีการปฏิบัตการดูแลสุขภาพหลายวิธีอย่างเหมาะสม

ลักษณะของการปฏิบัติทางคลินิกโดยตรงเหล่านี้

มีความสำคัญและจะช่วยแยกให้เห็นความแตกต่าง

ระหว่าง  พยาบาลผู้ชำนาญการปฏิบัติจากประสบการณ์  และผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงได้

สรรถนะหลัก(Core competency)

1. มีความชำนาญทางคลินิก

2. เป็นผู้ให้คำปรึกษา

3. มีทักษะการทำวิจัยและใช้ผลงานวิจัย

4. เป็นผู้นำทางคลินิกและวิชาชีพและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

5. เป็นผู้ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ

6. มีทักษะการตัดสินใจที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม

หลังจากอ่านทบทวนดูแล้ว

 เราก็ทบทวนบทบาทตนเองว่า....

เราทำได้ตามขอบเขตของ APN ที่กำหนดได้ไหม

เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว..

เราก็ได้ทำตามขอบเขตที่กำหนด

เพียงแต่ว่าเราทำ...ในแต่ละสมรรถนะแต่ละข้อได้มากน้อยอย่างไร

มีคนถาม  พี่สุพร วงค์ประทุม ว่า

ถ้าพยาบาลที่สามารถทำได้ตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ข้อ จะเป็น APN ได้หรือไม่

ตอบว่า...ได้ ถ้ามีคุณสมบัติเบื้องต้นและมีสมรรถนะกลางด้วย

พี่สุพร บอกว่า

ที่เห็นคนจะป็น APN ได้ ในฐานะที่พี่ไปสัมภาษณ์ APN ทั่วประเทศไทยมาแล้ว

สิ่งที่เห็นชัดๆคือ....

นอกจากจะมี คุณลักษณะส่วนตัว...จะต้องมุ่งมั่น มีทัศนะคติที่ดี มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา ฯลฯ แล้ว ยังต้องมีสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

จึงจะประสบผลสำเร็จ เพื่อเป้าหมายที่กำหนด คือ

การให้บริการพยาบาลที่มีคุณภาพ และประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ซึงจะทำให้องค์กรวิชาชีพพยาบาลมีความก้าวหน้าต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

สุพร  วงค์ประทุม. 2550. เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการพยาบาลข้นสูง ในการประชุมวิชาการเรื่องโครงการ การพัฒนาบุคลากรสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในคลินิกเฉพาะสาขา (APN:Advanced Practice Nurse) ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนางาน#apn#competency
หมายเลขบันทึก: 113398เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2007 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ประเมินหลังจากติวน้องพยาบาลแล้ว

น้องที่จะไปสอบ 2 คน มีความมุ่งมั่นจะทำให้ได้

ส่วนน้องที่สนใจ ก็คิดและเตรียมตัวเองให้พร้อมในปีต่อๆไป

ขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ

วันนี้มีน้องพยาบาล...คนหนึ่งมาจาก โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 

มาถามถึง.. พี่อุบล จ๋วงพานิช

อยากมาแลกเปลี่ยนเรื่อง APN

เราถามว่ารู้จักพี่ได้ยังไง

น้องบอกว่า  อ่านเรื่องราวของพี่ ในblog ก็เลยตามมาคุยด้วย

เรารู้สึกประทับใจว่า..การเขียนเรื่องต่างๆใน blog

จะทำให้น้องพยาบาล รู้ว่าจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเรา

ยินดีค่ะ...ที่จะแลกเปลี่ยนกับพยาบาลทุกคน

ถ้ามาเองไม่ได้...

เราสามารถคุยกันผ่าน blog นี้ก็ได้ค่ะ

ขอขอบพระคุณพี่อุบลมากน่ะค่ะที่ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆ ในการสอบ APN ซึ่งวันนั้นพาแม่ไปตรวจตามนัดที่ รพ.ศรีนครินทร์ ก็เลยมีความรู้ว่าเรามาถึงขอนแก่นแล้วในเมื่อเรามีสิทธิ์สอบ APN (ประสบการณ์อาจน้อยเนื่องจากอยู่โรงพยาบาลชุมชนค่ะ) ลองไปปรึกษาพี่ดูเพราะเราอ่านเรื่องราวของพี่ใน blog แล้วคิดว่าพี่คงยินดีให้คำแนะนำเรื่องดีๆ ให้กับเรา เพราะพี่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมายซึ่งแตกต่างจากเรามา ขอบคุณพี่มากจริงๆ ที่ให้โอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งต่อไปก็คงขอคำแนะนำจากพี่อุบลอีกน่ะค่ะ รู้สึกชอบน่ะค่ะที่มีเวลทีแห่งนี้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันค่ะ

สวัสดีค่ะน้องฐิติมา

พี่ยินดีให้คำแนะนำพยาบาลทุกคนค่ะ

การให้คำแนะนำพยาบาลเป็นหน้าที่หนึ่ง ของAPN และจะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น

ถ้ามีอะไรจะแลกเปลี่ยนกัน สามารถพูดคุยผ่าน blog ได้เลยนะคะ

ขอให้โชคดีในการสอบคราวนี้

สวัสดีค่ะ พี่อุบล น้องชื่อวิไลลักษณ์ค่ะ ทำงานอยู่รพ.ราชบุรี ได้เข้ามาอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในเรื่องวิชาการ รวมถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ผ่านมา ในblog ของพี่อุบลแล้ว รู้สึกว่าได้ความรู้ในหลายๆด้านเลยค่ะ อยากขอบคุณพี่มากเลยนะคะที่ได้ให้สิ่งดีๆ  กับคนในอาชีพเดียวกัน 

สวัสดีค่ะน้องoattooat

ยินดีค่ะ

การเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆ

เป็นการนำความรู้ที่เรามีมาแลกเปลี่ยนกันและกัน

ทุกคนมีสิ่งดีดีในตัวเองค่ะ

ดังนั้นน้องก็มี ลองแลกเปลี่ยนกันนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่อุบล

         หนูอยากจะขอความคิดเห็นในการสอบสัมภาษณ์จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างคะ

สวัสดีค่ะคุณติ๊ก

สอบสัมภาษณ์ ก็ต้องพูดตามสิ่งที่เราทำให้ครอบคลุมบทบาท APN ทั้ง 6 บทบาท

ต้องบอกให้ได้ว่า ทำไมกลุ่มผู้ป่วยของเราจะต้องให้ APN ดูแล และ

ให้ Identify กลุ่มผู้ป่วยของเราว่ามีความซับซ้อนอย่างไร

ถ้าเรามีการพัฒนางาน..ในกลุ่มผู้ป่วยที่เรารับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

เราควรจะเตรียม Porfolio ของเราไปด้วยค่ะ

แนบผลงานทีเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยใส้แฟ้มไปด้วย

เวลาเข้าห้องสัมภาษณ์ เราก็พูดให้ครบ 6 บทบาท 

ในเวลาที่จำกัด ไม่ควรเกิน 15 นาที

ถ้าเราพูดกระชับ ครอบคลุม

เราจะผ่านได้อย่างแน่นอนค่ะ

 

ขอบคุณมากนะครับสำหรับการให้ความรู้และข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวสำหรับการไปสอบเพื่อให้เป็น APN  แต่ผมมีความกังวลอยู่ (อาจจะเป็นความกังวลของผมคนเดียวหรือคนอื่นๆ)  นั่นก็คือว่า

  • APN เป็นระบบที่นำมาจาก USA ดังนั้นในโครงสร้างหลักสูตรจะไปไปทางเดียวกับทางอเมริกา  ในการสอบจึงใช้แนวการสอบที่สอดคล้องกับหลักสูตร  ปัญหาก็คือว่า พยาบาลรุ่นก่อน หรือพยาบาลที่จบจากทางอังกฤษและออสเตรเลีย ไม่สามารถสอบได้เนืองจากโครงสร้างหลักสูตรไม่ได้มีเรียนเรือง  บทบาท APN การประเมินขั้นสูง เภสัชวิทยาที่เกียวข้อง ดังนั้นพยาบาลในกลุ่มที่ไม่ได้เรียนวิชาเหล่านี้จะไม่สามารถเข้าสอบได้
  • บทบาท APN  แม้จะมองผุ้รับบริการแบบองค์รวม แต่ลึกๆ แล้วจะมีพื้นฐานของ Medical Approach ดังนั้นการทำงานของ APN อาจจะมองข้ามในมิติของการ recovery และ empowerment ซึ่งในอนาคต consumer movement จะเรียกร้องให้พยาบาลหันกลับมาดูและเรืองนี้มากกว่าที่จะมองถึงความเก่งกาจด้านการแพทย์  เหมือนครั้งหนึ่งที่เรามองว่า พยาบาลที่ทำโน่นทำนี่แทนหมอได้เป็นความเก่ง มากว่าพยาบาลที่ดูแลความเป็นอยู่ของผู้ป่วย จนเราต้องกลั บมาทบทวนบทบาทของตัวเองใหม่
  • แม้จะมีพยาบาลจำนวนมากได้เป็น APN แต่ว่าระบบสุขภาพยังไม่รองรับระบบดังกล่าว ดังนั้นพยาบาล APN อาจจะทำหน้าที่ได้น้อยกว่าความคาดหวังก็เป็นได้
แต่ผมคิดว่าคงมีอีกหลายเรืองที่แนวคิดเรือง APN จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะกับระบบสุขภาพของไทย

 

 

สวัสดีค่ะ  P

 พยาบาลที่ไม่ได้เรียนวิชา APN ต้องไปเรียนหรืออบรมเพิ่มเติมค่ะ เพราะหลักสูตรเก่าในเมืองไทยก็ไม่ได้เรียนเช่นเดียวกัน

APN จำเป็นต้องรู้เรื่องยา คล้าย Medical Approach ก็จริง เพื่อที่เราจะได้นำความรู้เหล่านั้นมาใช้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง

ส่วนการดูแลด้านจิตใจเป็นหน้าที่ของ APN เลยค่ะ

ปัจจุบัน APN ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่

เนื่องจากมีปัญหาเรื่องโครงสร้างและต้องให้เวลาในการปรับตัวของวิชาชีพค่ะ

ขอบคุณครับคุณอุบล

พูดถึงเรือง APN ทำให้ผมนึกถึงการทำ Case management อันนี้เป็นหน้าที่หลักของ APN ที่ทำให้พยาบาล APN มีความต่างไปจากพยาบาลโดยทั่วไป  แต่เนื่องจากระบบโครงสร้างสุขภาพของเรายังไม่ได้กำหนดเรืองนี้ไว้ชัดเจนนัก  เพราะตอนนี้เราทำกันแค่เพียงการวางแผนการจำหน่าย  แต่สุดท้ายคนไข้ก็ต้องถูกทอดทิ้งเนื่องจากระบบสุขภาพที่ไม่สอดรับกัน (Fragmented system)  

น่าเสียดายที่แนวคิด APN  และ Case management ได้รับการถ่ายทอดอยู่แค่เพียงพยาบาลที่อยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ แทนที่จะเป็นพยาบาลที่อยู่ในระบบปฐมภูมิ

จึงคิดว่า ควรให้โอกาสและส่งเสริมแนวคิดนี้ให้กับพยาบาลกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เพราะเขาทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยอย่างแท้จริง

สวัสดีค่ะคุณคนไกล

ดิฉันได้มีโอกาสไปสัมมนากับอาจารย์ที่ดูแลระบบของ APN

อาจารย์ได้พูดถึงAPN ที่จะทำหน้าที่ Case manager

จะต้องมีบทบาทให้ครบทั้ง 6 ด้าน

แต่ในระบบสุขภาพปัจจุบัน Case manager จะเน้นการบริหารจัดการ LOS เพื่อให้เหมาะกับ DRG ผู้ป่วยแต่ละโรค

แต่อย่างไรหน้าที่ในการลดค่าใช้จ่าย LOS ก็เป็นหน้าที่ของ APN เช่นเดียวกันค่ะ

สวัสดีค่ะน้องๆที่ไปสอบ APN

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการสอบ APN ในวันที่ 25-26 สิงหาคม 2550

เป็นยังไงบ้าง? ...

เล่าเรื่องสอบและข้อสอบให้พวกๆพี่ทราบด้วยหน่อยนะคะ

หวังว่าทุกคนคงโชคดี

ถ้าผ่านข้อเขียนแล้ว อย่าลืมเตรียมสอบสัมภาษณ์ด้วยนะคะ

ทำเป็น Portfolio เลยยิ่งดีนะคะ จะได้ผ่านฉลุย

พี่อุบลคะการสอบ APN มีการสอบทุกปี  หรือปีละ2ครั้งคะ  แล้วช่วงไหนบ้าง ซึ่งน้องจะได้เตรียมตัวให้พร้อม  ขอบคุณค่ะ

ข้อสอบยากมากเลยค่ะพี่ ไม่มั่นใจเลย ยิ่งวิชาการพยาบาลเฉพาะสาขาช่วงเช้าสุดยอดเลย ทำไม่ได้ คิดว่าตนเองอ่านนังสือมากพอสมควร แต่พอเจอข้อสอบแล้วมึนตึบเลย ภาษาอังกฤษ(ศัพท์แพทย์) ก็มากยิ่งเป็นคนอ่อนภาษาอังกฤษอยู่ด้วยยิ่งแล้วใหญ่ แต่ก็ดีได้เห็นแนวทางข้อสอบ จุดบอดของตัวเองที่ต้องพัฒนาให้มากขึ้นๆๆๆๆ เพื่อเตรียมตัวใหม่ในครั้งต่อไปค่ะ อยากเป็นคนที่โชคดีจังเลยค่ะแต่ดูแล้ว โอกาสน้อยจริงๆๆ ก็รอลุ้นวันที่  5 ก.ย ค่ะ ขอบคุณพี่มากๆ น่ะที่เป็นห่วง แต่ก็จะพยายามต่อไปคะ

สวัสดีค่ะน้อง Tuk

การสอบ APN มีปีละ 1 ครั้งค่ะ

สอบข้อเขียนประมาณเดือนสิงหาคม

มีสอบสัมภาษณ์ ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะน้องฐิติมา

ลักษณะข้อสอบเป็นอย่างไร ลองเล่ารายละเอียดให้ด้วยนะคะ

พี่จะได้เรียนรู้ไปกับน้องคนอื่นๆ

บางครั้งการทำข้อสอบ   เราไม่แน่ใจว่าจะได้ไหม แต่ก็สอบผ่านได้ค่ะ เพราะเราทำงานมานานเราสามารถวิเคราะห์การทำงานได

พี่หวังว่าน้องจะโชคดีค่ะ

สู้ต่อค่ะ  พี่จะรอลุ้นด้วยนะคะ  5 กย50 อย่าลืมแจ้งข่าวนะคะ้ 

สวัสดีค่ะพี่อุบลที่เคารพ.... ขณะนี้หนูกำลังเรียนปริญญาโทสาขาการบริหารการพยาบาลปี 2 กำลังหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ค่ะ แต่ว่าหนูสนใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดการความรู้ ไม่ทราบว่าพี่มีข้อมูลด้านนี้บ้างหรือเปล่าคะ เช่น อาจจะเป็น KM ทางด้านการพยาบาล ของรพ.ศรีนครินทร์ เป็นต้นค่ะ หรือถ้าหากพี่มีคำแนะนำที่ดี ๆ อื่น ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์หนูก็ยินดีรับฟังนะคะ ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ ปล.มีพี่สาขาบริหารการพยาบาลอีก 1 ท่านชื่อคุณนริศรา พันธ์ศิลา สนใจการทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องเกี่ยวกับ APN ถ้าหากพี่จะกรุณาแนะนำเรื่องนี้ด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ เพื่อหนูจะได้นำไปเป็นข้อมูลให้พี่เขาด้วยค่ะ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ สไบ....นศ.ป.โท บริหารการพยาบาลปี 2 KKU.
สวัสดีอีกครั้งค่ะพี่อุบลที่เคารพ... หนูไม่แน่ใจว่าตอนแรกได้ใส่ E-mail Address ของตนเองถูกหรือไม่ จึงขอแจ้งให้พี่ทราบอีกครั้งนะคะ E-mail: [email protected] คำถามที่สอบถามไป กำลังรอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ดี ๆ จากพี่อยู่นะคะ ด้วยความเคารพค่ะ

สวัสดีค่ะน้องสไบ

ลองศึกษา เรื่อง KM, CoPใน Web ดูนะคะ

เพราะพี่เป็น Facilitator ของ CoP เคมีบำบัดด้วย

http://gotoknow.org/blog/chemo

นอกจากนี้เรายังมี CoP DM,VAP,Drug error ฯลฯ

 

สวัสดีค่ะน้องสไบ

คุณนริศรา สนใจทำวิทยานิพนธ์เรื่อง APN

ก็ลองหาประเด็นปัญหาก่อนนะคะว่า

เราอยากทราบอะไร

มีอะไรที่ยังคาใจเราและยังไม่ทราบคำตอบ

แล้วไป Review literature ดู

ได้ประเด็นปัญหาแล้วมาคุยกันค่ะ

ขอปรึกษาค่ะ   ขณะนี้กำลังเรียนโทบริหารการพยาบาล  สนใจทำวิทยานิพนธ์เรื่องบทบาทผู้บริหารการพยาบาลในการส่งเสริมให้มี APN โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่ขาดข้อมูลในความสำคัญของปัญหาว่าจริง ๆ แล้วปัญหาอยู่ที่ไหนจึงสนใจทำเรื่องนี้  ( ใจที่สองว่าจะทำความรู้ ทัศนคติและการส่งเสริมให้มี APN ของหัวหน้า ...เหมือนเดิม  ขอปรึกษาว่าจะหาแหล่งข้อมูลจากไหนได้บ้างเพื่อมาเขียนบทที่ 1  ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะคุณนริศรา

การทำวิทยานิพนธ์หรือทำวิจัย

เราก็ต้องรู้สึกว่ามีประเด็นปัญหาที่คาใจก่อน

เราถึงจะทำได้ค่ะ 

เช่น คำถามวิจัยของเราว่า

ผู้บริหารมความรู้ ทัศนคติอย่างไรกับ APN  

เราก็ทำเรื่องที่..น้องว่าก็อาจเป็นไปได้

แต่ถ้ามีคนทำแล้วและมีคำตอบแล้ว เราก็หาประเด็นปัญหาใหม่

ลองดูนะคะว่า เราต้องการคำตอบอะไร

เราก็ทำเรื่องนั้นล่ะค่ะ 

พอดีเรียนจบโท บริหารการพยาบาล มาคะ แต่เนื่องด้วยอายุน้อยทำให้ไม่สามารถไปทำหน้าที่ผู้นำได้ จึงได้เป็นผู้ปฏิบัติ ทำให้ตอนนี้รู้สึกท้อมากที่เห็นคนจบสาขาอื่น สามารถสอบ APN ได้ แต่สาขาบริหารไม่สามารถสอบได้ ไม่ทราบว่านอกจากจบโทสาขาคลินิก แล้ว ยังมีทางอื่นอีกไหมคะที่จะได้เป็น APN

น้องกล้วยไข่

เราต้องหาเวลาไปเรียนวิชาที่ยังไม่ได้หน่วยกิต

แล้วไปสอบ APN เราก็ไปถูกทางค่ะ

สวัสดีคะ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณหลังจากได้อ่านแนวคิดที่พี่สรุปไว้ ช่วยให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ APN คะ

ทั้งนี้หากเกี่ยวกับบทบาทด้าน Diract Care ของ APN แล้วไม่ทราบว่าการใช้สมรรถนะในบทบาทนี้ของ APN ในสถานพยาบาล และในชุมชนมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท