กรณีศึกษาสึนามิ: การปฏิบัติ มีค่ามากกว่าที่คิด


ในเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี 2547 ผู้อ่านหลายท่านคงมีความรู้สึกและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มีเรื่องสองเรื่องที่ผมอยากนำมาเล่า ส่วนท่านผู้อ่าน ถ้าอยากแบ่งปันประสบการณ์ ผมก็จะยินดีแลกเปลี่ยนครับ มีเรื่องเล่าเยอะจากหลายมุมด้วย

โทรศัพท์ครั้งเดียว ช่วยชีวิตคนได้เป็นพัน 

Vijayakumar Gunasekaran อายุ 27 (ต่อไปเรียกว่าวิชัยกุมาร) เป็นลูกชายของชาวประมงอินเดียจากหมู่บ้าน Nallavadu

วิชัยกุมารจากบ้านมาทำงานอยู่ในสิงคโปร์ ในเช้าวันอาทิตย์นั้น เขาติดตามข่าวแผ่นดินไหวใน Aceh มาตลอด ซึ่งในขณะที่ความเสียหายหนักรายงานเข้ามาเรื่อยๆ เขาก็เริ่มเป็นห่วงบ้านในอินเดีย และได้ตัดสินใจโทรกลับบ้าน

น้องสาวเขารับสายและรายงานว่าน้ำทะเลซึมเข้าบ้าน วิชัยกุมารจึงสั่งน้องสาวให้หนีออกจากบ้าน พร้อมทั้งเตือนเพื่อนบ้านในทันที ชาวบ้านพังประตูหอกระจายข่าว (ซึ่งปกติใช้ประกาศข่าวอากาศ) เข้าไป ประกาศให้อพยพในทันที คำเตือนนี้ได้รับการยืนยันโดย Gopu คนจากหมู่บ้านซึ่งทำงานในต่างประเทศและได้โทรกลับมาเตือนเช่นกัน

หมู่บ้านจึงเปิดไซเรน และอพยพคน 500 ครอบครัว ประมาณ 3,630 คน ไปสู่ที่ปลอดภัย เป็นผลให้ไม่มีผู้เสียชีวิตที่หมู่บ้านนี้

  • Phone call saved scores of Indian villagers from tsunami (idrc.ca -- ได้ยินครั้งแรกจากเลขาธิการสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์)

เมื่อสึนามิเข้าที่ภูเก็ต เกาะกลางอ่าวพังงาเช่นเกาะพีพีก็ยังมีเวลาอีกเกือบครึ่งชั่วโมง ซึ่งหากมีการเตือน คงไม่สูญเสียชีวิตมากมายแบบนี้ (มีกรณีการเตือนภัยจริงครับ แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนและราชการไม่ยืนยัน แต่เอกชนรายนี้ไม่เอาความปลอดภัยของคนมาเสี่ยง อ่านตรง Phi Phi Islands ท้ายหน้า)

กรณีของ Tilly Smith

เด็กหญิง Tilly Smith อายุ 10 ขวบในเวลานั้น ได้เดินทางมาพักผ่อนช่วงคริสต์มาสกับครอบครัว ที่หาดไม้ขาว ภูเก็ต 

เช้าวันนั้น เธอสังเกตุเห็นน้ำทะเลถอยออกจากชายหาด และมียอดคลื่นแตกฟองอยู่ในระยะไกล จึงเตือนครอบครัว ผู้คนที่ชายหาด และที่โรงแรมว่ากำลังจะเกิดสึนามิ

เธอเพิ่งเรียนเกี่ยวกับสึนามในวิชาภูมิศาสตร์ิมาก่อนที่จะเกิดทางเข้ามาในเมืองไทย เรื่องของ Tilly Smith คงเป็นเรื่องที่อาจได้ยินกันมาบ้าง เธอได้รับการยกย่องมากในประชาคมโลก และได้เดินทางมาร่วมงานรำลึกสึนามิครั้งแรกเมื่อปลายปี 2548 อีกด้วย ดังนั้นเอกสารอ้างอิง ผมไม่แปลนะครับ

ความรู้เป็นสิ่งมีค่า แต่ความรู้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติได้เท่านั้น การเป็นผู้รู้ที่ไม่ลงมือปฏิบัติ หรือรู้ในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้/ไม่ได้ปฏิบัติ (รับรู้มาและจำไว้แสดงต่อกับคนอื่นว่าตนรู้) จะมีความหมายอะไรครับ?

 

หมายเลขบันทึก: 113327เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

ขอบคุณมากครับ ที่ยกเรื่องนี้มาอีกครั้งครับ เพราะทำให้ผมนึกถึงวันนั้นได้หมดเลยว่าทำกิจกรรมอะไรบ้างในเยอรมัน ประกอบกับการอยู่นอกสถานที่ที่ไปสัมมนา ผมได้แค่การพูดคุยให้น้องๆ กลุ่มนักเรียนโอดอสและนักเรียนทุนรัฐบาลในเยอรมันที่ไปประชุมสัมมนากันฟังเท่านั้น พร้อมกับการดูทีวีและดูข่าวรายงานไปด้วยครับ

เห็นน้ำใจของคนไทย และสิ่งดีๆ เกิดขึ้นบนท่ามกลางความเสียหายมากมาย แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จริงก็ตาม และเป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรมจำลองสึนามิ SiTProS(Siam Tsunami Propagation Simulator) (www.schuai.net/SiTProS)  ที่สร้างขึ้นหลังจากที่เกิดเหตุการณ์นั้น

จากนั้นภาพวีดีโอ ก็หลั่งไหลเข้ามาทำให้คนเข้าใจสึนามิมากขึ้น ผมได้เพียงแต่หวังว่า เหตุการณ์ในวันนั้น เป็นวันอาทิตย์ที่ทำให้น้ำตาตก จะเป็นบทเรียนให้เราเตรียมพร้อมและตื่นตัวในเรื่องการปรับตัวของโลกอยู่ตลอดเวลา

ขอบพระคุณมากนะครับ

สวัสดีค่ะ

     แล้วตอนนี้  ระบบการเตือนภัย (Tsunami Warning System - TWS) ของเรามีหรือยังคะ

    เห็น ปัจจุบันมีศูนย์เตือนภัย ซึนามิ 2 แห่ง คือ
       1. ศูนย์เตือนภัยซึนามิ อลาสกา
       2. ศูนย์เตือนภัยซึนามิ ฮาวาย

       

 

ผมไม่รู้ว่าจะเกิดสึนามิหรือภัยพิบัติร้ายแรงอะไรขึ้นอีกหรือไม่/เมื่อไหร่ เพียงแต่รู้สึกว่าในสถานการณ์อย่างนั้น มัวแต่มานั่งรอความช่วยเหลือไม่ได้ครับ

และจะดียิ่งกว่านั้นอีก หากเราเรียบเรียงความรู้ประสบการณ์ เพื่อช่วยให้เตรียมตัวรับสถานการณ์ได้ดีขึ้น

ยกตัวอย่างนะครับ จากข้อมูลของ Dartmouth Flood Observatory ใน 24 ปีที่ผ่านมา เมืองไทยมีน้ำท่วมใหญ่ 22 ปี มีทั้งท่วมซ้ำซาก และท่วมในที่แตกต่างออกไป แต่เราก็ยังจัดการกับน้ำท่วมแบบเดิม คือมาระดมทุนร้องเพลงขอรับบริจาคกันในทีวี!

เรื่องดินฟ้าอากาศควบคุมไม่ได้ พยากรณ์ได้ยาก จึงต้องคิดเตรียมตัวล่วงหน้าครับ 

เมื่อเช้านี้ มีการซ้อมเตือนภัยสึนามิครับ

สวัสดีค่ะ

วันนี้ดูทีวี มีข่าวเรื่องระบบการเตือนภัยอีกค่ะ  ทำไมช่วงนี้มีเรื่องนี้ บ่อยนะคะ

วันนี้เขาซ้อมครับ เป็นเรื่องดีที่เตรียมการล่วงหน้า ติดขัดอะไรจะได้แก้ไขเสียก่อน

การซ้อมนี้ แจ้งล่วงหน้าครับ -- เมื่อเช้า มีบันทึกของคุณ poo เขียนไว้เรื่อง { ... รอฟังสัญญาณเตือนภัย ที่ ฝั่งอันดามัน : การซ้อมอพยพหนีภัย Tsunami Evacuation Plan … }

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท