เรียนรู้ 4 ที


เพื่อให้ จำ "วงจร   Learning cycle ของ Nanoka"   ( โดนผมประยุกต์แล้ว) ได้ง่ายๆ   ผมแนะนำ   ให้ จำว่า 4 ที    จะง่ายกว่า

คือ 

  • T  =  talk  คุยกันเยอะๆ สุนทรียสนทนา  เดินทาง พบปะผู้คน แบ่งปันความรู้   ปะทะโลกความเป็นจริง (ครู อย่าไปแย่ง การปะทะนี้ แทนผู้เรียน นะครับ)     หรือ  Experiencing / Show & share
  • รอยต่อ  จาก talk  ไป think  คือ  Open heart เปิดใจ   อย่ามี "อคติ"  อย่าลำเอียง     ให้ระวังเสียงภายใน (inner voice) หรือ VOJ (Voice of Judgement) ที่จะขึ้นมา วิตก (พะวงในอนาคตแบบไม่เข้าเรื่อง)  วิจารณ์ (เอาอดีต เอากติกา มา เป็นตัวขวาง สร้างอคติ)
  • T =  think  คิด  เอาที่ ได้ พบปะ พูดคุย ใน T  Talk  มาบ่ม ย่อย    ด้วยจิตที่เป็นกลาง  (ไม่มีอคติ ไม่มีลำเอียง)     อาจจะใช้เครื่องมือช่วย เช่น Mind map / Pareto diagram / Fish bone diagram  (การใช้ tools ทางสถิติ  ช่วยป้องกัน การเอาอารมณ์ของเราเข้าไปร่วมนั่นเอง)   หรือ  ใช้ "โยนิโสมนสิการ"   คิดเมื่อจิตปกติ   โหมดปกติจะได้คิด
  • รอยต่อ  จาก Think--->theory คือ  เปิดความคิด   Open mind  และ เมื่อ ได้คิด (มีสติ)  ก็จะคิดได้ (ปัญญา หรือ ปิ๊ง)
  • T = theory  เอาที่คิดได้  มา มา "แก่น"    หา "หลักการ" หรือ ที่ผมเรียกบ่อยๆว่า "ลมปราณ"     ( ถ้า think คือ กระบวนท่า  ท่าร่าง   จะมี theory คือ ลมปราณ หรือ เคล็ดวิชา   .....  เราไปดูคนที่เป็น ยอดยุทธ์  เราจะเห็นแต่ ท่าร่าง   เราจะไม่เห็น เคล็ดวิชา หรือ กระบวนการเดินลมปราณผ่านจุดสำคัญต่างๆในร่างกาย)      หรือ   การ "ตกผลึก" (Crystallization)  เกิด  spark (ปิ๊ง)     เกิดแรง หรือ พลัง ที่ อยากทำ    เกิดสมมติฐาน (Hypothesis) ส่วนตัว   ความเชื่อส่วนตัว ทฤษฎีส่วนตัว   ที่เรียกว่าส่วนตัว เพราะ ยังไม่ได้พิสูจน์ หรือ ทดสอบ
  • รอยต่อ ของ theory ---> trial  คือ  เปิดแรงอยากทำออกมา Open will  ในช่วงนี้ให้ระวัง นิวรณ์  ที่จะเข้ามาขวาง   เช่น  ทำไม่ได้  ยาก  ขี้เกียจ  ฯลฯ  
  • T = trial  คือ  เอา สมมติฐาน ความเชื่อ ทฤษฎี  แนวคิด ฯลฯ ส่วนตัว ในการ "ตกผลึก" นั้น   เอามา ทดลองทำ เอามา ทดสอบสมมติฐาน  ดูความน่าจะเป็นในทางปฏิบัติ   ..
  • รอยต่อ  จาก Trial ---> talk  คือ  เปิดใจ  ใจกว้าง  อย่างก  อย่ากลัวโดนแซว   อย่ากลัวโดนด่า   ส่วนผู้ฟัง ก็หัดมี ปิยวาจาบ้าง  .... เมื่อ ทดลอง ผลเป็นอย่างไร  อย่าลืม  เอาไป สุนทรียสนทนากับผู้เกี่ยวข้อง  กับผู้รู้     หากผิดจะได้ คิดใหม่ ทำใหม่    วนเป็น วงจรใหม่  ได้ สมมติฐานใหม่ไปทดลองอีก    และ สำเร็จเมื่อไร  อย่าลืม แบ่งปันนะครับ

*********************************************************

 วงจร 4T นี้   หมุนวนเป็นวง    ในระดับต่างๆ เช่น

  •  บุคคล  
  • กลุ่ม หรือ ทีมงาน
  •  องค์กร
  •  ชุมชน สังคม  เครือข่าย

*************************************************************

วงจร 4T นี้   มี  เครื่องมือ (Tools) ที่สำคัญ  2 กลุ่มเครื่องมือ  คือ 

  • Learning by doing (Action learning / conctructivism learning   เป็นต้น 
  • Dialogue / show & share / Story telling / Hansei / Essay  เป็นต้น

*******************************************************************

ตัวอย่าง  1

         Innovation facilitator ของ ปูน SCG    ผมให้ ไป เที่ยว อัมพวา  เพื่อ หาโครงงานไปช่วยชาวบ้าน     ตอนแรก  พวกผู้เรียนแต่ละกลุ่มก็ ติดนิสัย แบบ PDCA   โดย  พวกเขา  จะเริ่มที่  Plan กันก่อน  โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า  การ Plan แบบ ใน วงจร PDCA    คือ การ เอา สมมติฐานที่ตนเองสร้างขึ้น  จำจากตำรา  เอาเขามา ครูยัดมา ฯลฯ เอามาวางแผน   พูดง่ายๆ คือ  ดันมาเริ่ม ที่ T = theory   แทนที่ จะเริ่มจาก  T = talk   กับ ชาวบ้าน     กับผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ให้มากๆ    ไม่ใช่ เอา สมมติฐาน ทฤษฎีความเชื่อของแต่ละคนในกล่ม มาวิวาทะ และ วางแผนกันเอง (นึกภาพ  การประชุมวางแผน ของหน่วยงาน ราชการ  ก็จะมองออกน่ะ)

          เช้าวันนั้น   ผม  คุณทวีสิน และ หัวหน้าพี่เลี้ยง (Facilatator) จึงต้อง ทำตนเป็นตัวอย่าง  ด้วยการออกไป  เจอชุมชน ไปกินข้าวมันไก่ ไปสอดรู้สอดเห็น ไปสุนทรียสนทนากับ อบต  ลุงๆ ป้าๆ  เป็นต้น     นี่คือ "ยั่ว" ให้  มาที่ T แรก   ก่อน  

         สายแก่ๆ (ที่จริงมันควรจะออกมา ตั้งแต่ เช้าแล้ว)   พวกเขา ก็เลย เริ่มออกจากห้องประชุม  ออกมา ปะทะโลกความจริง (Real world)   มาสุนทรียสนทนา   กับ ชาวบ้านอัมพวา

        ตอนบ่ายๆ  พวกเขาแยกย้าย  ไปดูวัดโบราณ  ไปเก็บข้อมูล  ไปเก็บความรู้สึก  ได้ทั้ง Finding and feeling  ไปโดดน้ำเล่น ให้ "อิน"กับบรรยากาศ  ไปร้านกาแฟโบราณ  ร้านทำกะลาสวยๆ    ร้านทำน้ำตาลมะพร้าว  ฯลฯ 

         คืนนั้น  พวกเขา  กลับมาประชุมกัน   และ  บ่มความคิด  พวกคุยกัน   ค้นคว้าเพิ่ม   ทั้ง think  &  tok pla luek (อ่านว่า ตกผลึก) 

         มีอยู่กลุ่มหนึ่ง    มั่นใจมากกับผลงาน  ที่ มาเรียนรู้ภาคสนามครั้งนี้  คือ   พวกเขา เอาเรื่อง กะลา  มา ผสม น้ำตาลมะพร้าง  ผสม กับ กาแฟโบราณ   แล้ว   ภูมิใจนำเสนอ   ให้ ชาวอัมพวา ว่า  นี่ไง  เอา กาแฟโบราณ ใส่น้ำตาลมะพร้าว  ชงใน ถ้วยกาแฟที่ทำจากกะลา

คือ กะ จะโชว์ว่า เนี่ยไง  ผลงาน นวัตกรรมแบบ Integrate บูรณาการ   แต่   ปรากฏว่า หน้าแตกครับ    เพราะ  ชาวบ้าน  ลุงๆป้าๆ ถามว่า  "หนู  ลองหรือยัง"  .......  พวกชาวบ้านเขาลองแล้ว   กาแฟรสมันเปรี้ยวครับ  ถ้าไปอยู่ในกาแฟน่ะ

นี่แหละ  ขาด  T ที่ สี่   คือ ไม่ได้ทดสอบ  ไม่ได้ลองทานดูก่อน .....  ฮ่า ๆๆๆ   เรียนรู้ไปเต็มๆ 

       อีกกลุ่มหนึ่ง    ไปสำรวจ ไปคุย  จนดึกดิ่น  เริ่มหิว    ไปหาของกินในตลาด   ปรากฏว่า เงียบครับ   ถามตำรวจ  ท่านก็บอกว่า  ไม่มีของกิน    ปิดร้านกันเร็ว    ......  เท่านั้นเอง  ด้วย "สันดาน" ในโหมดเร็ว  (Reactive)      พวกเขา เสนอ  โครงการ  ร้านสะดวกซื้อ   และ คาราโอเกะ  ครับ  จะได้ ดึงดูด คนมาเที่ยวดึกๆ ที่ อัมพวา

        นำเสนอไปให้ชาวบ้าน   .... อะจ๊าก .....  หน้าแหกครับ   เพราะ  พวกเขา เพิ่งขับไล่ ร้านสะดวกซื้อ ออกไปจากชุมชน    เขาต้องการชุมชนที่สงบครับ กลางคืนปิดไฟนอน    นี่ไง  เอา T = สมมติฐาน แบบ คนกรุงเทพ  ไป ข่มขืน คนต่างจังหวัด  ......  นึกถึง เหล่าครู  นักวิชาการ ฯลฯใน USA     พวกเขา    นั่ง คิดกันที่ "ส่วนกลาง"  (Washington DC)  แล้ว เอาแนวคิดแบบส่วนกลาง  ออกไปครอบทั้งแผ่นดิน  มันก็ทำลายเสียมากกว่าช่วยเหลือ     มีแต่ T ที่ สอง และ สาม  ไม่มี Tหนึ่ง และสี่     ไม่คุยกันก่อน  ไม่ลองก่อน ไม่ทะยอยทำ  ไม่ทำทีละน้อยเพื่อทดลอง ฯลฯ 

ตัวอย่าง 2

         เมื่อวาน ผมไปสอน  ที่  โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ส่งออกนอกปห่งหนึ่ง  น่ารักมาก  ผู้บริหารระดับสูง  ลดตัว ลงมาเรียนปนกับเด็ฏๆ ลูกน้องของท่าน

        ท่านเรา ให้ฟังว่า ท่านดูหนังเรื่อง Babel    ท่านจะเล่าให้ฟัง   พอท่านเล่าจบ    ท่านก็ สรุปว่า  เรื่องนี้  ต้องโทษ "ปืน"   ปืนไปที่ไหน วุ่นวายที่นั่น  ทำเอาชาวบ้านอียิปต์เดือดร้อน  คนเลี้ยงเด็กเม็กซิกันเดือดร้อน   พ่อบ้านญี่ปุ่นเดือดร้อน    

ผม  ก็  บอกท่านว่า    ท่านยอดมากเลยครับ   คือ  การดูหนัง เป็น T แรก   ได้รับประสบการณ์   หนัง talk ใส่ท่าน   ท่านก็ think   แล้วท่าน  ก็ได้ สมมติฐาน คือ สรุปว่า "ปืน" คือ ตัวชั่วร้าย

ผมก็เรียนท่านด้วยความเคารพว่า  อยากให้ ต่อ ด้วย T สุดท้าย  คือ ลองดู    ......  ฮ่าๆๆๆ   ไม่ต้องลองก็ได้ครับ       เดี๋ยวยิงกันตายทั้งโรงงาน

เอาแค่   อ่านข่าวไปเรื่อยๆ  ก็คงพอสรุปได้ว่า บ้านที่มีปืน  มีจุดจบเลวร้าย  มากกว่า ดีงามครับ

*********************************************************************

 T สุดท้าย จะเรียกว่า  เป็นส่วนสำคัญของวงจรก็ว่าได้       วงจร 4T นี้ คือ  research methodology นั่นเอง

re = again  ....  และ  search =  ค้นคว้า / explore / experiece / ปะทะ real world ฯลฯ

ดังนั้น research =  ค้นคว้าอีกที  ....   เถอะน่า  

วิ  =  ดีงาม  ....  และ   จัย = ผมหมายถึง "ใจ"

ดังนั้น  วิจัย =  ใจที่ดีงาม    นั่นคือ ทำวิจัยด้วยใจที่ดี  ไม่อคติ ไม่ลำเอียง   ทำแล้ว จิตใจคนทำงดงาม   ผลงานช่วยให้คนในโลกมีใจดีงามด้วย   ก็สมแล้ว ที่จะเรียกว่า "วิจัย"

ส่วนใคร จะแปล "จัย" ว่า ปัจจัย   หรือ  วิจัย = องค์ประกอบที่ดี  ก็ตามใจนะครับ

ผมไม่เก่งภาษา  และ ไม่ยอมให้ ภาษา มา ครอบงำผม    ผมเขียนย พูด สื่อ แบบตรง   เอาให้เข้าใจ   ด้วยใจที่ดีงามครับ

อ่านต่อ http://gotoknow.org/blog/ariyachon/114686

คำสำคัญ (Tags): #nanoka#learning cycle
หมายเลขบันทึก: 112354เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นองค์ความรู้ใหม่ เข้าใจง่าย  และ ใช้ได้จริงครับอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท