IQ ของเด็กไทย


ศักยภาพเด็กไทยในสังคมโลก

     ปี 2550 กรมสุขภาพจิตสำรวจ IQ ของเด็กอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมปีที่ 6 อายุ 3-11 ขวบ จำนวน 7,313 คน โดยใช้แบบประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี พบว่ามีระดับสติปัญญาอยู่ที่ 103.09 
     จากการศึกษาระดับสติปัญญาของเด็กไทยเป็นระยะๆ เมื่อปี 2539-2540 กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจระดับเชาว์ปัญญาเด็กไทยอายุระหว่าง 6-12 ขวบ โดยใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญาชนิดคัดกรอง(test of Nonverbal Intelligence second Ediition)พบว่าค่าเฉลี่ยระ ดับสติปัญญาเท่ากับ 91 และปี 2545 พบว่าระดับสติปัญญาอยู่ที่ 88.5 และเมื่อปี 2545 ใช้แบบทดสอบ wechsler  Intelligence scale for Children (WISC-III)  ซึ่งมีทั้งใช้ภาษาสื่อสารและไม่ใช้ภาษาสื่อสาร พบว่าอยู่ที่ระดับ 98.4  โดยทั่วๆ ไป  IQ ปกติจะอยู่ที่ 90-109 เฉลี่ย 100 ตัวเลขเหล่านี้ให้ข้อสรุปว่าเด็กไทยมีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร
     ไม่ใช่เพียง  IQ เท่านั้น จากการสำรวจของกรมอนามัย เมื่อปี 2542 พบว่าพัฒนาการเด็กไทยวัย 0-5 ขวบ  ปกติเพียงร้อยละ 71.69 โดยช่วงอายุ 1-2 ขวบ ปกติร้อยละ 78.2 แต่เมื่อโตขึ้น อายุ 4-5 ขวบ พัฒนาปกติลดลงเหลือร้อยละ 64.46 และจากรายงานปี 2547 ของกรมอนามัยที่สำรวจพัฒนาการเด็กวัย 0-5 ขวบ พบว่าปกติร้อยละ 72 ดังนั้น 5 ปีผ่านไป เด็กเล็กไทยไม่ดีขึ้น พัฒนาการที่ช้าคือภาษาสื่อสารและกล้ามเนื้อเล็กซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของ IQ 
    สำหรับเด็กโต รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา(คุณภาพผู้เรียน) โดยสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา     (สมศ.) องค์การมหาชน ประเมินโรงเรียน 30,010 แห่ง พบว่ามาตรฐานด้านผู้เรียน ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ วิจารณญาณ  สร้างสรรค์ ไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ที่อยู่ในระดับดี มีเพียงร้อยละ 10.4 นั่นคือขาดศักยภาพ ขาดทักษะในการคิด คิดไม่เป็น
    สรุป เด็กไทยยังน่าเป็นห่วง ผู้ใหญ่ต้องทำงานพัฒนาเด็กอีกมาก แต่ต้องมีเจ้าภาพทีพัฒนาเป็นองค์รวม เน้นพัฒนาสมอง สติปัญญา เชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ 
     จากการวิจัยพบว่า  อาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อสติปัญญาการขาดสารไอโอดีนและธาตุเหล็กมีผลต่อสติปัญญา ไอโอดีนเป็นสารสำคัญในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน และจำเป็นในการสร้างใยประสาททำให้สติปัญญาดี การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่ม IQ ได้ 10 กว่าแต้ม
จากบทความของแพทย์หญิงศันสนีย์ ฉัตรคุปต์  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับที่ 21,093 วันที่ 14 กรกฎาคม 2550
     

หมายเลขบันทึก: 111716เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2007 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณบังอร

กราบขอบพระคุณมากนะครับสำหรับข้อมูลดีๆ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ครอบครัวพ่อแม่ คุณครู ชุมชน ควรต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้โดยเร่งด่วนครับ

แล้วไม่ทราบว่า เด็กมีปัญหาเรื่องสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจด้วยไหมครับ นอกจากสมองหรือทางความคิดแล้ว

ขอบพระคุณมากครับ

 

เจนจิรา แจ่มกระจ่าง

สวัสดีค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท