รื่นรมย์ในโลกหนกขู


ผลงานรวบรวมบทความ ในนิตยสาร GM PLUS ของ โตมร ศุขปรีชา งานบทความและความเรียง ที่ถามเราถึงความคิด ชีวิต และสิ่งแวดล้อม ด้วยมุมมองจากนอกสู่ใน และถามใจของเรา

แนะนำหนังสือ     

รื่นรมย์ในโลกหนกขู 

โตมร  ศุขปรีชา

ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน

เมษายน 2550  

คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  

ความเรียงซึ่งรวบรวมเรื่องเล่าผ่านบทความคิด

ด้วยมุมมองต่อโลกและผู้คน

จากความคาดหวัง สู่ความจริงของโลกและชีวิต

ท่ามกลางบทประชดประชันในคำกล่าว

 

 

 ในโลกที่อวลไปด้วยเสียงดังลั่น

คำถามเบาๆ อาจสั่นไหวหัวใจคุณ 

  

คำนำสำนักพิมพ์

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ถ้าคุณหนวกหู คุณอยากทำอะไรเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หลายคนเลือกหลีกลี้หนีไปห่างๆ หลายคนอุดหูแต่ยังทนอยู่ตรงนั้น แต่ โตมร ศุขปรีชา เลือกที่จะตะโกนดังๆ ว่า หนกขู (ลองพูดคำว่า หนวกหู ดังๆ และเร็วๆ สิ คุณจะได้คำประหลาดนี้ออกมา) เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าหนวกหู และเพื่อทุกคนรู้แล้วจะได้หยุดส่งเสียงเสียที</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แม้ว่าทุกคนอาจไม่ได้ยิน ไม่สนใจ หรือไม่หยุดส่งเสียงดัง แต่เขาก็จะยังคงทำอย่างนั้นอย่างแน่นอน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เมื่อเราอยู่บนโลก หลายๆ อย่างทำให้เรามีชีวิตอย่างไม่อนาทรร้อนใจ และอีกหลายอย่างก็ทำให้เราอึดอัดขัดข้อง โลกเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งร้ายกาจ โลกมีสิ่งทรงอำนาจในนามของสังคม การเมือง และความเชื่อครอบงำที่เราเรียกว่าวัฒนธรรม อาจทำให้เราต้องจำนนตาม และหลายสิ่งก็อยุติธรรมต่อมวลมนุษย์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สิ่งที่เราอาจต้องเลือกก็คือ ยอมให้สิ่งสามานย์เหล่านั้นอยู่ต่อไป หรือตะโกนดังๆ ว่าเราไม่เห็นด้วย สำหรับบางคน เลือกที่จะยอมทน และได้แต่บ่นงึมงำ หากทำได้ก็อาจเพียงหนีไป แต่ในเมื่อเราอยู่บนโลก เราจะหนีไปไหน เราจะไม่อยากลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ไขเลยละหรือ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำนวนเฉียบคม ผสมความรอบรู้ ทั้งละมุนละไมต่อโลก ชี้ชวนให้คุณมองโลกส่วนอื่นๆ บางแบบก็เป็นมุมที่คุณไม่คุ้นเคย หรือไม่เลยแม้แต่จะคิด อาจเป็นเพราะกลัว ไม่สนใจว่ามันมีอยู่ กระทั่งหวาดหวั่นที่จะมองเห็นหรือรับรู้ว่ามีอยู่จริงบนโลกนี้ เช่น เรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังคืบคลานคุกคามเราทุกเมื่อเชื่อวัน เรื่องสิทธิมนุษยชน กระทั่งการผสมพันธุ์ของปลาแซลมอนที่รัฐบาลอยากยื่นมือเข้ามามีส่วนร่วม ฯลฯ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะละทิ้งโลกนี้เพราะมันแย่ หากเพื่อเราจะหันมาใส่ใจให้ความ หนวกหู บรรเทาลง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จับมือโตมรให้แน่นๆ แล้วเขาจะพาคุณท่องโลก หนกขู อย่างรื่นรมย์ ในแบบที่คุณเองอาจไม่เคยเจอ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำนักพิมพ์มติชน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คำของผม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ว่ากันว่า โลกแคบลงกว่าเมื่อก่อนมาก</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมออกจะเชื่อคำ ว่ากันว่า ที่ว่าอยู่ไม่น้อยครับ เพราะถ้านึกถึงตอนทำงานใหม่ๆ กว่าจะได้รับรู้ข่าวสารอะไรสักอย่าง ก็ต้องอ่านเอาจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือดูข่าวทางโทรทัศน์เท่านั้น แต่ปัจจุบันการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ข่าวสารต่างๆ จึงทะลักทลายเข้ามาหาเราได้ทุกนาที ถ้าต้องการข้อมูลอะไร เพียงคลิกนิดเดียวก็หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ในพริบตา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">มานึกๆ ดู นั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมคิดเขียนบทความต่างๆในหนังสือเล่มนี้ขึ้นก็ได้ครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ รวบรวมมาจากคอลัมน์ “World  Wide Watch” ที่ตีพิมพ์อยู่ในนิตยสาร GM Plus ในช่วงปี 2547 2548 ชื่อของคอลัมน์คงบอกได้บ้างนะครับว่าเป็นคอลัมน์ที่เกี่ยวกับการ มองโลก แต่ต้องออกตัวกันไว้ก่อนว่า ไม่ใช่การมองโลกด้วยสายตาของผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่างประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนะครับ โจทย์ของคอลัมน์นี้คือการเขียน อะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับข่าวต่างประเทศตามที่พอจะมีข้อมูลอยู่ ทั้งหมดทั้งมวลจึงเป็นการเลือกหยิบข่าวและประสบการณ์ต่างๆที่เคยรับรู้ นำมาพลิกดูแง่มุมต่างๆ แล้วเปรียบเทียบกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปตามประสา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">พูดง่ายๆ ก็คือ เห็นเรื่องไหนน่าสนใจอยาก บอกต่อ ก็นำมาเขียนไว้นั่นแหละครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมอาจรู้สึกเหมือนคนหลายคนว่าโลกแคบลง แต่ที่จริงแล้วโลกไม่ได้แคบลงเลย การหลั่งไหลของข่าวสารข้อมูลอาจทำให้เรารู้สึกว่าโลกแคบลง แต่โลกไม่ได้มีแค่ปารีส ลอนดอน นิวยอร์ก กรุงเทพฯ เท่านั้น ชีวิตที่เราเห็นว่าเหมือนๆกัน (ทั้งในโลกจริงและโลกไซเบอร์) จนพานนึกว่าโลกแคบลง ที่จริงเป็นชีวิตแค่ ส่วนหนึ่ง ของโลกเท่านั้นเอง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">และเอาเข้าจริง โลกก็ยังคงกว้างขวางหลากหลายเกินกว่าที่เราคิดอยู่เสมอ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่แม้โลกจะกว้างเกินกว่าที่เราจะรู้จักมันได้ทั้งใบ ความกว้างของโลกก็กลับเป็น ตัวช่วย ที่ทำให้เราสามารถขยาย เส้นขอบฟ้า ของเราให้กว้างออกไปจากตัวเองได้เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด รายละเอียดเล็กๆในโลกกว้างล้วนบอกกล่าวกับเราว่า เรายังต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจต่อไปอีกมากมายเพียงใด และการกักขังตัวตนอยู่ในโลกแคบๆ ของตัวเอง ก็ได้ทำให้เราพลาดโอกาสไปแล้วมากมายแค่ไหน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมไม่เขียนบทความเหล่านี้ในฐานะผู้รู้ ที่จริงแล้วเรื่องราวและผู้คนในบทความที่ผมเขียนถึง กลับเป็นผู้สอนผมให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้นในทุกๆวันต่างหาก และนั่นก็คือการพยายามขยายขอบฟ้าของตัวเองออกไปให้กว้างๆ ที่สุดเท่าที่สมองน้อยๆ นี้จะทำได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เราอาจไม่มีวันเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้หมดสิ้น แต่เพราะมันไม่รู้จักหมดสิ้นนี่แหละ จึงยังทำให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อเรียนรู้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นั่นคือสิ่งที่ผมได้รับจากการเขียนบทความในหนังสือเล่มนี้ครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โตมร ศุขปรีชา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สารบัญ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แซลมอนที่ไม่สูญพันธุ์ Classical in Trend – ความฝันรางวัลโนเบล - การหายสาบสูญของภาพเขียนล้ำค่าในวันแดดเปรี้ยง เสียงร้องที่ไม่มีใครได้ยิน ความลึกลับของเกมนิวเคลียร์ - พิษร้ายหัวอ่อน และความตายของนักต่อสู้ ความตายและหัวใจสลาย โลกสันนิวาส ลิ้นกับฟัน มนุษย์สังเคราะห์แสง เซี่ยงไฮ้เบบี้ ผมพร้อมที่จะตายเรื่องเล่าของนักระเบิดพลีชีพ รถยนต์ จักรยาน และเพื่อนที่หายไป รื่นรมย์ในเมืองหนกขู ติดห้าง พรุ่งนี้ของสุมาตรา vs เมาไม่ขับ ปลอมจนจริง การปรากฏตัวของภาพถ่ายล้ำค่าในวันหิมะถล่ม น้ำฝน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เสียงตะโกนทั้งดังและเบา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โตมร ศุขปรีชา ไม่ใช่นักเขียนเรื่องสั้น แต่งานเขียนในฐานะบรรณาธิการของเขา กลับเป็นเหมือนเรื่องสั้น ด้วยการวางลำดับ ไล่เนื้อหาจนกระทั่งไปสู่บทจบ ที่ไม่สรุปและไม่มีข้อจำกัด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ความพยายามในการลำดับเรื่องราว เพื่อบอกกล่าวกับเรา มีความหมายถึงความรื่นรมย์ ความสุข รอยยิ้ม ผู้คน มิตรไมตรี ความโหดร้าย และอีกมากมายในโลกที่ความดีและความเลวปรากฏ คือสิ่งที่เขาพยายามบอกเล่า</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ความพยายามลำดับความ เพื่อไขปริศนาในใจ และในตัวตน ด้วยเรื่องอันแวดล้อม คือเสน่ห์ที่มาพร้อมคำประชดประชัน พร้อมความอยากโดยส่วนตัวที่ต้องการเห็นสิ่งที่ดี ในความรู้สึกของเขา หลายเรื่องก็ตอบรับโดยไม่เอียงอาย ถึงความอยากในใจ แม้จะดูไม่ใช่ความคาดหวัง แต่ก็เป็นตัวตนจากภายในที่เขาถ่ายทอดผ่านงานเขียน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คำตอบรับว่าใช่ โดยไม่ได้ปฏิเสธให้ดูดี ในท่ามกลางความปรารถนาของเขา มาพร้อมกับเสน่ห์ในการตั้งคำถาม และการถามคำถามทั้งต่อความคิด คุณค่า และกฎเกณฑ์ที่แวดล้อมสังคมของเรา การเชื่อมโยงงานเขียนจากข่าวสารรอบโลก เป็นหนึ่งในบทเชื่อมโยงความคิด โลก และประเทศไทยเข้าไว้ด้วยกัน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">งานเขียนที่รวบรวมบทความของเขาชิ้นนี้ ถ้าหาคุณค่าของธรรมชาติ คุณค่าของวัฒนธรรม เกี่ยวโยงไปถึงการประชดประชันรางวัลแห่งปัญญา ซึ่งมนุษยชาติตีค่าตีราคา เท่ากับความยอกย้อนเมื่อถามหาความล้ำค่าซึ่งถูกตีเป็นราคา เรื่องราวของพหุนิยมทางจริยศาสตร์ ที่เขาบอกกับเรา เหมือนกันหนึ่งคำกระแหนะกระแหน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ภายในเล่มถามเราถึงความยากจน ที่เกิดจากระบบคิด ผู้คน จากทั้งมาตรฐานที่ผ่านมาสู่ความถูก-ผิด จากการพยายามคิดนอกกรอบ จนไปสู่การคิดกับอำนาจ ตะโกนถึงการสยบยอมด้วยความหัวอ่อน และมองเห็นความตายที่จางหายบางเบา จนไปสู่ใจซึ่งสลายเพราะความตายเยี่ยมเยือนคนที่รัก ท่ามกลางโลกสันนิวาส อันเกิดจากวิธีคิดของมนุษย์ เขามองชีวิตคนเมืองจากข้างนอกสู่ข้างใน จากนอกบ้านเราสูในบ้านเรา และสุดท้ายจากนอกตัวเรา ถามตัวเราเอง ถามเรา และถามคนอ่าน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           เมษายน 2550 พิมพ์ครั้งแรก </p><p>ชื่อหนังสือ          :           รื่นรมย์ในโลกหนกขู</p><p>ประเภท             :           บทความ - รวมเรื่อง</p><p>ชื่อผู้เขียน           :           โตมร ศุขปรีชา </p><p>บรรณาธิการ       :           ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์     </p><p></p><p>ข้อมูลทางบรรณานุกรม </p><p>ตมร  ศุขปรีชา            </p><p>รื่นรมย์ในโลกหนกขู. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. </p><p>160 หน้า : ภาพประกอบ</p><p>I.บทความ - - รวมเรื่อง II.ชื่อเรื่อง</p><p>808.84 </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ISBN 978 974 323 950 2 </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>

หมายเลขบันทึก: 111715เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2007 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจครับ

ชอบงานเขียนของคุณโตมรเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท