อีกบทบาทหนึ่งของพยาบาลเวชปฏิบัติ ณ.ชุมชนบ้านวังหอน เมืองคอน


Best practice โครงการนวัตกรรมPCU:บ้านวังหอนสุขภาพพอเพียง

ในฐานะที่เป็นพี่เลี้ยงโครงการจึงขอเล่าเรื่องราวของชุมชนบ้านวังหอนต่อจากคุณชายขอบ.....

สำหรับบันทึกนี้ ดิฉันต้องการอยากจะเสนอให้เห็นอีกบทบาทหนึ่งของพยาบาลเวชปฏิบัติ มิได้ทำงานเฉพาะในเรื่องของการรักษาเบื้องต้นในสถานีอนามัย/PCU เท่านั้น...ตามที่หลายๆคนเข้าใจ จนกลายเป็นความลำบากใจของน้องๆพยาบาลเวชปฏิบัติหลายแห่ง  แต่ที่จริงแล้วความคาดหวังต่อพยาบาลเวชปฏิบัติคือต้องการให้พยาบาลเหล่านี้ทำงานเคียงคู่กับชุมชน....เพื่อให้ชุมชนเกิดสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ดังกรณีตัวอย่างงานของ คุณอารียา เรืองประดิษฐ์  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านควนหรั่งหรือหมออ้อย ของชาวบ้านวังหอน

 จากแนวคิด หลักความพอเพียงในการบริโภคและการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ชาวบ้านทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน หมออ้อยจึงร่วมกับแกนนำชาวบ้านจัดทำโครงการบ้านวังหอนสุขภาพพอเพียงขึ้น โดยมีเป้าหมายหลัก 2 ประเด็น คือ 1) เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ 2) เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการสุขภาพโดยชุมชนเองได้ โดยการสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพเป็นผู้ขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดสุขภาวะในชุมชนแบบพอเพียง

กระบวนการหลักในการดำเนินงาน คือ การสร้างความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายแกนนำ โดยใช้วิธีการกระบวนการกลุ่ม ในประเด็น ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการสร้างสุขภาพแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน ตามวิถีชีวิตและเศรษฐกิจพอเพียงทบาทขององค์กรภาคีที่เข้ามามีส่วนร่วม ประกอบด้วย1) เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านควนหรั่ง เป็นผู้ประสานงานกับแหล่งงบประมาณ และให้ความรู้ในประเด็นสุขภาพ2) อสม.ของบ้านวังหอน เป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ และเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง3) กลุ่มปุ๋ยหมัก เป็นแบบอย่างในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ เพื่อประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและต่อประชาชนผู้บริโภคในหมู่บ้าน4) กลุ่มแม่บ้าน เป็นแกนนำในการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหารในหมู่บ้านที่มีคุณค่า เช่นการรณรงค์ จัดทำน้ำยาล้างจาน  สบู่ แชมพู ไว้ใช้กันเองในหมู่บ้าน  และการซื้อข้าวเปลือก เพื่อนำมาซ้อมมือ และแบ่งกันบริโภค อีกทั้งผู้ที่เข้ามาร่วมสีข้าวยังสามารถออกกำลังกายได้ด้วย5) กลุ่มเครือข่ายต้นธาร เป็นผู้อนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้แก่เด็กในหมู่บ้าน และผู้มาเยือนต่างๆให้รักษ์และรู้จักคุณค่าของน้ำและป่า6) ชมรมสมุนไพร เป็นผู้ให้ความรู้และพันธุ์สมุนไพรสำหรับไว้ปลูกในแต่ละครอบครัว

จากแรงผลักดันของพยาบาลเวชปฏบัติ(หมออ้อย)ประกอบกับความเข้มแข็งของกลุ่มแกนนำทำให้เกิดกิจกรรมมากมายขึ้นในชุมชน ซึ่งหากใครสนใจขอเชิญชวนไปร่วมงาน ทุเรียนหล่นที่บ้านวังหอน 4 สิงหาคมนี้

 

หมายเลขบันทึก: 111062เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
   น้องหมออ้อย และทีมงานหมออนามัย ตลอดจนชาวบ้านวังหอนที่อาจารย์นำเสนอ เป็นเรื่องราวหนึ่งครับที่บอกว่าสุขภาพชุมชนคืออะไร องค์รวม และบูรณาการเป็นอย่างไร เท่าที่ได้เข้าไปสัมผัส ณ บ้านวังหอน ยังประทับใจอยู่เป็นอย่างมากครับ
องค์รวม บูรณาการ ทุกเรื่องคือสุขภาวะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท