ไปฟังอมาตยา เซน: ผู้เปลี่ยนนิยามการพัฒนาสู่การพัฒนาคน


เสนอให้เปลี่ยนตัวชี้วัดการพัฒนา จาก "รายได้" (ระดับและการเติบโตของรายได้ประชาชาติ) มาเป็น “ความสามารถ” ของคนที่จะเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองเห็นว่ามีคุณค่า (capability approach)

11 กรกฎาคม ได้มีโอกาสไปร่วมงานสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง “Alternative Development and Sufficiency Economy”  จัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน  ก็ต้องขอบคุณผู้จัด มาณ โอกาสนี้ 

งานนี้สมเด็จพระเทพเสด็จในช่วงเย็น  มี Keynote Speaker คือ  Prof. Amartya Sen  นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ผู้มีผลงานด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา  และมีบทบาทสำคัญทำให้นิยามการพัฒนามุ่งเน้นมาที่การพัฒนาคน  โดยเสนอให้เปลี่ยนตัวชี้วัดการพัฒนา จาก "รายได้" (ระดับและการเติบโตของรายได้ประชาชาติ)  มาเป็น ความสามารถ ของคนที่จะเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองเห็นว่ามีคุณค่า  (capability approach)  

 

หากจะกล่าวย่อๆ  เท่าที่จับใจความได้ในเบื้องต้นจากการฟังก็คือ   การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว  ปัจจัยสำคัญคือ เสรีภาพ  ประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องมีพื้นที่ให้เกิดเวทีสาธารณะสำหรับการถกเถียง  (public discussion)  อันจะเป็นช่องทางให้คนได้แสดงถึง การให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ (human valuation) ของเขา  ขณะเดียวกัน การมีการอภิปรายสาธารณะ ทำให้เกิดพันธะ (obligation) ที่ผู้คนจะไม่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว  คำกุญแจสองสามคำตรงนี้  คือ  ความเป็นธรรม (justice)  จริยธรรม (ethnics)  ชีวิตมนุษย์ (human life) ความมั่นคงของมนุษย์ (human security)

  

นัยยะของเซนก็คือ

 

ประการแรก ประชาธิปไตยอยู่ที่การเปิดช่องทางให้แสดงความเห็นกันได้ในวงกว้าง (ไม่ใช่แค่การลงคะแนนเลือกตั้ง)

  

ประการที่สอง การให้คุณค่า  เป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์    และการให้คุณค่านี้ก็แสดงออกมาผ่านการแสดงความเห็นสาธารณะ

  

สองประการนี้เองที่เซนมองว่าเป็นจุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก  เพราะเศรษฐศาสตร์กระแสหลักให้น้ำหนักกับสิ่งที่จับต้องได้ (objectivity) ซึ่งมีกลไกคือ ราคาเปรียบเทียบ   กลไกราคานี่เองที่ทำให้เถียงกันไม่ออก (silence of debate) หรือพูดอีกอย่างว่า เกิดการยอมรับโดยดุษฎี  และคนก็จะเลือกจากสัญญาณราคา โดยคิดตามประโยชน์ส่วนตน (และไม่มีเสรีภาพในการเลือกอย่างแท้จริง ...ถ้าเสรีภาพหมายถึงสามารถเลือกในสิ่งที่เขาให้คุณค่าได้ ... ตรงนี้เราตีความเอง)

  

เซนเห็นว่า  สังคมไม่สามารถสร้างสถาบัน (กติกา) ได้โดยปราศจากการให้คุณค่า และการตั้งข้อสงสัย (การถกเถียงแสดงความเห็น)   สถาบัน (institution) กับคุณค่า (value) จึงต้องเชื่อมกัน

  

เซนปฏิเสธที่จะเปรียบเทียบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ “capability approach”  เพราะเพิ่งได้รับฟังและยังไม่รู้จักเรื่องนี้ดีพอ  แต่ก็บอกว่า อาจใช้ “capability approach” กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy strategies)ได้

  

จะเชื่อม capability approach กับเศรษฐกิจพอเพียงได้หรือไม่  อย่างไร  ..วันที่ 12ต้องไปช่วย ดร.พิพัฒน์ สัมภาษณ์เซน (หวังว่าท่านจะมีเวลาให้) .... อาจจะตั้งคำถามทำนองนี้.. แต่คิดดูอีกที   คำถามนี้เป็นโจทย์ที่เซนควรเป็นผู้คิดหาคำตอบ  หรือเป็นโจทย์ที่นักวิชาการไทยควรเป็นผู้คิดหาคำตอบกันแน่

 
หมายเลขบันทึก: 110692เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คิดว่า คำถาม Sen จะเป็นดังนี้ค่ะ

 

 

1.  Sufficiency Economy Philosophy is based on ‘the middle path’ which tends to balance the development among economic, social, and environment, how would you think this “balancing” help in terms of development?  Could this “balancing” bring about human security / human capability

  

( คำที่ขีดเส้นใต้เป็น key words ของ Sen)

  

2. When His Majesty the King proposed the concept of sufficiency economy, I think he realized some problem of “social value” in Thai society,  in your “capability approach”  you give a high weigh to “value”.  Don’t you think that “value” is given  and is often a problem in itself, and is needed to be changed?  How to change it?

  

(เดาว่า Sen คงให้ใช้กระบวนการพูดคุยในเวทีสาธารณะ เพื่อปรับวิธีคิด เรื่อง คุณค่า  คล้ายๆกับวงเรียนรู้ใน KM แต่ความเป็นสาธารณะแปลว่า ต้องเป็นการพูดคุยในวงกว้าง) 

  

3. Listening to the presentation yesterday, what is your intuition about “Sufficiency Economy Philosophy”  ?

 

 

เป็นความกรุณาของผู้จัด  พวกเราจึงได้เวลาสัมภาษณ์อมาตยา เซนช่วงหลังเที่ยง 

แต่เนื่องจากตัวเองมีนัดนักศึกษาไว้ก่อนแล้ว (และเตรียมอาหารเที่ยงไว้ให้เด็กๆรวมทั้งทีมอาจารย์กับเจ้าหน้าที่ด้วย) จึงต้องอยู่คุยกับเด็กๆที่ท่าพระจันทร์ก่อน  จากนั้นก็วิ่ง(จริงๆ)ไปลงเรือที่ท่าช้าง เพื่อไปโรงแรมเชอราตันซึ่งอยู่ที่ท่าสี่พระยา

โชคร้ายที่ไปถึงเมื่อได้เวลาปิดห้องเพื่อสัมภาษณ์และถ่ายทำวิดีทัศน์ ณ วินาทีนั้นพอดี   แต่ก็โชคดีที่ได้เรียนเชิญ ดร.สีลาภรณ์ ไว้ก่อนหน้านี้   ทีมงานจึงมีดร.สีลาภรณ์กับดร.พิพัฒน์เป็นผู้สัมภาษณ์ โดยเรารออยู่นอกห้อง

ทราบข่าวว่า ดีมาก ได้ประเด็นดีๆ ในช่วงท้ายๆของการสัมภาษณ์  แต่เวลาสั้นไปนิด (เพราะมีคิวคนอื่นรออยู่)  เมื่อวานนี้ อมาตยา เซน ไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  แต่ครั้งนี้ท่านแลกเปลี่ยนความเห็นไว้พอสมควร  (ตอนเราเขียน note ถึง ดร.พิพัฒน์ ยังวงเล็บไว้ว่า  เมื่อคืนท่านอาจกลับไปนอนคิด  และอาจแสดงความเห็นในวันนี้)

คงต้องรอเทปหรือรอฟังรายละเอียดจาก ดร.พิพัฒน์อีกทีค่ะ

ขอบคุณนิด้า ขอบคุณ ดร.สีลาภรณ์  ขอบคุณ ดร.พิพัฒน์ไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

 

 

เรียน อาจารย์ปัทมาวดี ที่เคารพ

ครับผมอ่านแล้ว ก็เกิดคำถามท้าทายตัวเองขึ้นมาว่า เอ้ เรามีความสามารถ หรือ มีทางเลือกที่จะทำในสิ่งที่เราเห็นว่ามีคุณค่าหรือไม่ เพียงไหน อย่างไร

ผจะจดจำคำคมนี้ไว้เวลาพูดแลกเปลี่ยนกับคนอื่นครับ เพราะว่าบางทีเราใช้เวลากับบางสอ่งบางอย่างแบบเลื่อนลอย หรือไม่เต็มใจ

แล้วการพิจารณาคำว่า "คุณค่า" ตรงนี้ผมเห็นว่ามันจะเป็นจิกซอร์ที่ทุกคนต้องมาถกมาเถียงกัน เพื่อยกรัดับคำว่าคุณค่า ให้เป็นผลดีแบบ 360 องศาก็ว่าได้ละครับ

ผมเองห่างหายไปนายเลย เพราะว่าไปเก็บข้อมูลแถวจอมทอง เกี่ยวกับชีวิตเด็กและเยาวชนครับ

แล้วจะมาอ่านเก็บรายละเอียด เหมือนเดิม ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณโชคธำรงค์

ดีใจที่ได้เจอตัวจริงเสียงจริงค่ะ  คงจะได้เจอกันอีกในโอกาสต่อไป   ตอนนี้คุยกันทางบล็อกก่อน

"ความสามารถ"  "ทางเลือก"  "คุณค่า"  เป็นสิ่งที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน   สังคมที่พึงปรารถนานอกจากจะต้องเพิ่มความสามารถและทางเลือกให้สมาชิกในสังคมแล้ว  ยังต้องเคารพในความคิดและการให้คุณค่าของแต่ละคนด้วย

และคุณค่าก็เป็นสิ่งที่น่าจะปรับเข้าหากันได้เพื่อให้สังคมขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ไม่ขัดแย้งกัน  ดิฉันสนใจที่ Sen บอกว่า คนในสังคมควรจะมีพันธะต่อกันและไม่มุ่งประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก

...ศาสนาพุทธก็สอนเรื่องนี้   โดยเน้นการปฏิบัติ (ของแต่ละคน)

Sen เสนอกระบวนการทางสังคมด้วย  นั่นคือ การแสดงความเห็นในเวทีสาธารณะเพื่อปรับแนวคิด  และการสร้างสถาบัน (กติกา) ขึ้นมา

หวังว่าคงเก็บข้อมูลได้ผลดีตามที่ตั้งใจไว้นะคะ

เมื่อคืนได้ดูออกช่อง9ชอบมากเลยครับ

ชอบที่พูดเรื่อง พุทธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท