คุณอำนวยในการจัดการความรู้ (3) ความเป็นไปได้และหนทางสู่ "KFC(oP) ภาคใต้ #1"


การจัดการความรู้ชุมชน ก็จะทำให้ชุมชนเป็นอิสระ พัฒนาไปได้ตามสภาพความต้องการของชุมชนเอง ไม่เกิดการครอบงำกัน ชุมชนก็จะรู้สึกมีคุณค่า นำทุนในตัวมาใช้ เป็นการพึ่งตนเอง ไม่ใช่พึ่งพาเป็นหลัก

     ผมเจอครูนงฯ พี่บ่าวที่รักและเคารพ ครั้งแรกเมื่อครั้งไปประชุมร่วมกันเนื่องในวันครบรอบ 1 ปี Gotoknow ภาพเหตุการณ์นั้นกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง คืนนั้นครูนงมาถึงค่ำมากแล้ว ผมนั่งอยู่ที่ลอบบี้โรงแรม เมื่อเจอกันแบบ F2F ครั้งแรก ผมก็ทักทายและชวนคุุยเรื่องการขยายงาน "KFC(oP) ภาคใต้" ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1) ครูนงจะเป็นคนที่มีพลังมากพอในเรื่องนี้ และ จ.นครฯ เป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์กื้อหนุนเชิงนโยบายชัดเจน และ 2) ในงานวิจัย PAR "ไตรภาคีฯ ที่ จ.พัทลุง" ช่วงนั้นเป็นปี 2 ของการวิจัย (ครึ่งทาง) เริ่มฉายภาพเรื่องการพัฒนาชุมชนให้ต่อเนื่องและยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคุณอำนวย หรือนักจัดการชุมชน ที่เป็นคนคอยจัด... หลาย ๆ อย่างให้ ไตร(3)ภาคส่วน ตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการร่วมกันพัฒนาสุขภาพชุมชน ได้ทำงานประสานความร่วมมือกันตั้งแต่เริ่มต้นคิด จนไปสู่การร่วมประเมินและร่วมรับผลประโยชน์ และนักจัดการที่ว่านี้ จะเป็นเพียงนักจัดการความรู้ ไม่ใช่จัดการไปเสียทุกเรื่อง เพราะเพียงการจัดการความรู้ชุมชน ก็จะทำให้ชุมชนเป็นอิสระ พัฒนาไปได้ตามสภาพความต้องการของชุมชนเอง ไม่เกิดการครอบงำกัน ชุมชนก็จะรู้สึกมีคุณค่า นำทุนในตัวมาใช้ เป็นการพึ่งตนเอง ไม่ใช่พึ่งพาเป็นหลัก เป็นต้น

     คราวนั้นที่เจอครูนง ก็เจอคนอื่น ๆ หลาย ๆ คน ไอเดียนี้ถูกขายไปในหลาย ๆ คนกระจาย ๆ กันไปหลาย ๆ พื้นที่ คราวนั้นมีหน่วยงานทางการศึกษาพี่ใหญ่สุดของภาคใต้ (ตามที่ผมคิดเองนะครับว่าใหญ่สุด) ได้ร่วมมือก่อการกันและมีเป้าหมายจะใช้เป็นฐานการเรียนรู้ และขยายฐานต่อไป ของเพื่อน ๆ เครือข่ายในภาคใต้ โดยมี Commitment กันด้วยวาจาภาษาไทย ๆ หลังจากนั้นการทุ่มเทสรรพกำลังก็เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าที่ต้องทิ้งงานประจำไปช่วยเหลือกัน แต่มันเหมือน "พอของเองเสร็จ ก็เสร็จ" นี่แหละหนาบทเรียนงานเครือข่ายเรื่องที่ 1 ที่ต้องจารึก การขยายพื้นที่หรือวงเรียนรู้ที่คาดหมายไม่เคยขยายมายังเครือข่ายงานที่ผมทำอย่างได้รับเกีรยติและมีศักดิ์ศรีเท่า ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย จึงงดรับงาน และมุ่งทุ่มเทเครือข่ายที่พัทลุงบ้านเกิด ด้วยสรรพกำลังเท่าที่มีอยู่

     ที่พัทลุงจึงต้องเกิดการพึ่งตนเอง ค่อย ๆ ทำ กันไปเอง เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างและพัฒนาคุณอำนวยอย่างไม่เป็นทางการและไม่เอื้อนเอ่ยว่าเป็นการจัดการความรู้หรือคุฯอำนวยอย่างเด่นชัด จนเกิดเป็น 22 ประเด็นงานในเครือข่าย ศวพถ. ที่มีนักจัดการความรู้ชุมชนรับไปรับผิดชอบเดินเรื่อง เกิดเป็น 33 คนที่เป็นแกนนำของ ศวพถ.และกำลังจะก้าวเดินต่อไปเป็น สวพถ.(สมาคม) รายละเอียดไม่ขอเอ่ยไว้ที่บันทึกนี้ แต่ติดตามได้จาก mind map นี้ครับ ซึ่งจะเป็นภาพลักษณะนี้นะครับ

     แล้วค่อยมาต่อน่าจะยังอีกหลายตอน

 

หมายเลขบันทึก: 110483เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ที่น้องว่ามีเหตุผล 2 ประการ คือ 1) ครูนงจะเป็นคนที่มีพลังมากพอในเรื่องนี้ และ จ.นครฯ เป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์กื้อหนุนเชิงนโยบายชัดเจน และ 2) ในงานวิจัย PAR "ไตรภาคีฯ ที่ จ.พัทลุง" ช่วงนั้นเป็นปี 2 ของการวิจัย (ครึ่งทาง) เริ่มฉายภาพเรื่องการพัฒนาชุมชนให้ต่อเนื่องและยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคุณอำนวย หรือนักจัดการชุมชน ที่เป็นคนคอยจัด................เหตุผลข้อ 1 พี่มีพลังมากจริงหรือ...จะออกหนังสือเชิญนักเรียน...ยังเชิญไม่ได้เลย...555555......อิอิ.....ยิ้ม.....ก๊าก....
  • มายแมป ดูไม่ชัดเลยน้อง

สวัสดีครับ ครูนง พี่บ่างที่เคารพและศรัทธา

     พี่บ่าวอย่าถ่อมตนครับ จริง ๆ ผมคิดอย่างนั้นและมั่นใจอย่างนั้นครับ
     ที่ดูไม่ชัดเพราะของจริงเป็นไฟล์ขนาดใหญ่ ดาวน์โหลดไปอ่านได้ครับ

    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท