เตรียมการเรียน"คุณอำนวย"วันที่13ก.ค.50


ผมคิดว่าพวกเราต้องดำเนินชีวิต และการดำเนินชีวิตก็ต้องมีงาน แต่เราไม่ได้ทำงานเพียงเพราะต้องการดำเนินชีวิตอย่างเดียวเรามีความใฝ่ฝันที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อย่างงดงามด้วย

คุณเอื้อและคุณประสาน-ครูนงมอบหมายให้ผมกับน้องชายขอบทำหน้าที่"คุณอำนวย"ในเวทีเรียนรู้โรงเรียนคุณอำนวยตั้งแต่เวลา9.30น.เป็นต้นไป
ผมดูกำหนดการแล้วสรุปว่า เราสองคนจะรับไม้ต่อจากครูราญ
ก็ขอหารือชายขอบและเพื่อนนักเรียนทุกคนต่อการเตรียมการบ้านของผมคือ
ตอนเริ่มในส่วนของเรา
1)ผมจะแนะนำศาสตร์โบราณว่าด้วยพลังของการตามรู้ลมหายใจ   เข้า-ออก ซึ่งจะทำให้กายสงบ และจะเหนี่ยวนำให้ใจสงบไปด้วย
เราจะใช้การตามรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นแกนกลางในการเรียนรู้ครั้งนี้เพื่อให้เกิดการบอกเล่าและการฟังอย่างลึกซึ้ง
2)ผมจะขอให้มีการซักถามโดยผ่านกระบวนการตรึกจากข้างในเพื่อเน้นการเรียนรู้จากภายใน(โยนิโสมนสิการ)
การเรียนคราวนี้จึงใช้การถามน้อยที่สุด เน้นการเล่าจากความรู้สึกภายในและการฟังเพื่อซึมซับจากใจสู่ใจ
3)นักเรียนทั่วไปไม่ต้องบันทึก ยกเว้นนักเรียน"คุณลิขิต"ที่ได้รับมอบหมาย
ห้องเรียนจึงต้องการสมาธิ(ความใส่ใจ)แต่มีความผ่อนคลาย ไม่พูดคุยกันเองในช่วงฟัง

1)เริ่มจากขอเรียนรู้วิถีชีวิตของหมอพะยอม
เราจะฟังอย่างมีสมาธิตามรู้ลมหายใจเข้าออกให้ซึมซาบกับชีวิตการทำงานของท่าน ใช้ความคิดให้น้อยที่สุดในการรับรู้เรื่องราวของท่าน ประมาณ30นาที
2)ทีมร.พ.มหาราชเล่ากระบวนการเข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้
ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องถาม รับรู้เรื่องราวทุกถ้อยคำ ทุกความหมายที่แฝงอยู่ในถ้อยคำ
3)ท่านผู้ว่าวิชม ทองสงค์ เล่าเรื่องของท่าน ใช้วิธีการเดียวกัน

4
)ผู้เรียนทำกิจกรรมความคาดหวัง ข้อนี้ผมนึกไม่ออก น้องชายขอบและครูนงคิดกันไว้อย่างไรครับ

ภาคบ่าย เป็นการเล่าเรื่องของนักเรียนแต่ละคน ผมเคยตั้งหัวข้อว่า "ชีวิต การทำงาน และความใฝ่ฝัน"
ผมคิดว่าพวกเราต้องดำเนินชีวิต และการดำเนินชีวิตก็ต้องมีงาน
แต่เราไม่ได้ทำงานเพียงเพราะต้องการดำเนินชีวิตอย่างเดียว
เรามีความใฝ่ฝันที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อย่างงดงามด้วย
ผมอยากฟัง เรื่องราวของนักเรียนทุกคน เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้  ร่วมกันในระยะยาว
ถ้านักเรียน 42 คน ห้องเรียนก็ใหญ่เกินไป เวลาอาจไม่พอ สมาธิในการฟังก็อาจจะไม่ต่อเนื่อง

ช่วงต่อไปตามกำหนดการ เป็นการทำAARและภารกิจต่อเนื่อง
ผมยังนึกไม่ออกว่าจะจัดกระบวนการให้เชื่อมโยงกับเรื่องที่ผมคิด อย่างไร หรือต้องปรับเนื้อหาที่ผมคิดให้สอดคล้องกับเวลา จังหวะและความคาดหวังของผู้เรียน

รบกวนน้องชายขอบ ครูนงและผู้สนใจให้ความเห็นด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 110482เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พระอาจารย์ภีม...

  • โดยปกติทั่วไปจะมีการทบทวนก่อนเรียนหรือทำกิจกรรมความคาดหวังกันก่อนเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แรกใช่ไหม เพื่อประเมินความต้องการ ความคาดหวังว่าเป็นอย่างไร จะพบว่าบางทีก็เขียนคามหวังอะไรก็ไม่รู้ ไม่เข้ากรอบแนวทางเลย ...ฉะนั้นถ้าจะทำกิจกรรมความคาดหวังกันหลังจากที่ได้พูดคุยทำกิจกรรมการเรียนรู้ไปบ้างแล้วเสียบ้าง ทำหลังจากที่ได้เห็นหนังตัวอย่างไปบ้างแล้ว มันน่าจะเป็นการไกด์ให้เขียนอะไรได้ตรงประเด็นมากขึ้นก็ได้ ...อีกอย่างการทำกิจกรรมความคาดหวังสามารถทำได้ในทุกช่วงจังหวะ...จะทำแบบนี้บ้างเพื่อดูว่าผู้เรียนมีความคาดหวังอย่างไรมันจะไม่เข้าท่าอย่างไรละครับพระอาจารย์......ไม่ทราบท่านชายขอบจะเห็นต่างมุมหรือไม่อย่างไร...ในฐานะคุณอำนวยคู่ขวัญ....แต่อยากจะให้มีกิจกรรมความคาดหวังสักนิดหนึ่ง...เพื่อเราจะได้นำไปถอดบทเรียนกันต่อไป
  • AAR นั้นตกลงกันดังนี้ครับคือจะให้คุณลิขิตที่รับมอบหมายให้บันทึกความรู้ข้อมูล นอกจากบันทึกความรู้แล้วบันทึกความรู้สึก บรรยากาศ อารมณ์ผู้เรียน แบบลิขิตอารมณ์ความรู้สึกของเวทีเรียนรู้ด้วย (มอบหมายครูแต้ว น้องรัช น้องเล็ก และครุราญเมืองคอน) และสุ่มผู้เรียน 2-3 คน สุ่มแบบไม่ให้ตั้งตัว ออกมา AAR เมื่อกลุ่มผู้เรียนเราใหญ่ก็ต้องทำอย่างนี้ครับพระอาจารย์ พระอาจารย์ว่าอย่างไง
  • ผมเห็นว่าเราต้องคัดผู้เรียนที่เกิน 40 คน (ทั้งๆที่ตั้งใจเดิม group size แค่ 20 คนนะครับ)รอเรียนรุ่นหน้า ตอนนี้ก็แจ้งความจำนงเข้ามาเรื่อยๆ พระอาจารย์ว่าไง คนที่รอก็จะได้ร่วมกระบวนการที่มีคุณภาพด้วย
  • เป้าหมาย แผนงานโครงการ core team จะไปคิดและนำเสนอเพื่อพิจารณาคราวหน้า.....ภาระกิจต่อเนื่องหรือการบ้าน คืออยากพัฒนาสมรรถนะอะไรก็ให้ไปฝึกทักษะ สมรรถนะที่อยากพัฒนา จ้บคู่ กลุ่มย่อย ในหน่วยงานนอกหน่อยงาน ฯลฯ เพื่อนำมาเล่าเวทีหน้า....นัดหมายครั้งต่อไป...เจ้าภาพครั้งต่อไป...ประเด็นแลกเปลี่ยนครั้งต่อไป...ประมาณนี้พอได้ไม๊ครับพระอาจารย์

ขอบคุณพระอาจารย์ที่แนะนำมาครับ
ผมเห็นด้วยว่าห้องเรียนใหญ่ไป เราอาจใช้วิธีที่พระอาจารย์เสนอคือ เป็นห้องเรียนรวมและห้องเรียนเฉพาะ ดังนั้น เวทีแรกควรจะได้เรื่องที่แต่ละคนสนใจ/คาดหวังอยากพัฒนาตนเอง แล้วจับเป็นกลุ่มย่อยนัดหมายพบปะเรียนรู้กันเองโดยมีคุณประสานภายในกลุ่มย่อยเพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกลุ่มใหญ่ บางคนอาจเข้าร่วมในหลายกลุ่มกิจกรรม(ตามความสนใจ)
core teamก็มาจากแกนประสานของแต่ละกลุ่มย่อย ขยายตัวออกไปเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
หลักการสำคัญคือ เรียนรู้จากงานร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร
เอาประสบการณ์จากงานมาลปรร.กันแล้วกลับไปทำ
ถ้าไม่กลับไปทำก็ไม่ใช่การจัดการความรู้ในความหมายที่แท้จริง

ผมเห็นว่าระบบของamwayเป็นผู้นำในเรื่องนี้มานานแล้วครับ

     ตามอ่านอยู่นะครับ และเมื่อนำที่สรุปจากการประชุมเตรียมงานวันที่ 10 ที่ผ่านมา มา confirm ก็ถือว่าเรารับรู้ เข้าใจ ตรงกันแล้วนะครับ
     สำหรับผมเมื่อถึงเวลา ไร้รูปแบบ ยืดหยุ่นง่าย ไม่ต่ายตัว แต่ยึดเป้าหมายร่วมชัดเจนว่าต้องไปให้จนถึง นะครับ
     พร้อมแล้วครับ

พระอาจารย์ภีม....เจ้าของสวนป่าแถวๆเสาธง

               เห็นตรงกันครับว่าถ้าไม่กลับไปทำก็ไม่ใช่นักเรียนจัดการความรู้ครับ

ตามมาอ่านค่ะ (สำนวนอาจารย์เอก)  ทั้งบันทึกของอาจารย์จำนงและอาจารย์ภีม

ด้านหนึ่งอยากรู้ว่าเขาทำอะไรกัน  แต่อีกด้านหนึ่งรู้สึกว่าเป็นผู้สังเกตการณ์ และอยู่วงนอกอย่างสิ้นเชิง (อุตส่าห์สมัครเป็นนักเรียนทางไกลกับครูนงแล้ว)

แต่ดูแล้วก็น่าสนุก  เผื่อจะเอาเทคนิคไปใช้กับนักศึกษาบ้าง  (ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียนค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท