เรื่องเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ


กองการเจ้าหน้าที่ มข. พร้อมพัฒนากองการเจ้าหน้าที่ไปสู่การให้บริการที่เป็นเลิศ

บำเหน็จบำนาญข้าราชการ

บุคคลที่เข้ามารับราชการไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการประเภทอื่น เมื่อพ้นจากหน้าที่ราชการ ด้วยเหตุลาออก เกษียณอายุ หรือให้ออกโดยไม่มีความผิด เช่นเจ็บป่วย ขาดคุณสมบัติ หรือตาย แล้วแต่กรณี หากรับราชการโดยกระทำความชอบมาตลอด ทางราชการก็จะตอบแทนบุคคลนั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หรือถึงแก่กรรมขณะรับราชการ หรือผู้รับบำนาญถึงแก่กรรมทางราชการจะจ่ายเงินให้แก่ทายาทเพื่อสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนเรียกว่าบำเหน็จบำนาญซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งที่ทางราชการให้เมื่อพ้นจากราชการ เพื่อความมั่นคงและเป็นหลักประกันในชีวิต

บำเหน็จ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

บำนาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนกว่าจะถึง แก่กรรม หรือหมดสิทธิ

บำเหน็จบำนาญข้าราชการ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ

1. บำเหน็จบำนาญปกติ

2. บำเหน็จบำนาญพิเศษ

3. บำเหน็จตกทอด

1. บำเหน็จบำนาญปกติ

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติ

  • พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  •  

  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
  •  

  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  •  

ผู้มีสิทธิขอรับบำเหน็จบำนาญ ได้แก่

  • ข้าราชการพลเรือน
  •  

  • ข้าราชการฝ่ายตุลากร
  •  

  • ข้าราชการฝ่ายอัยการ
  •  

  • ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
  •  

  • ข้าราชการครู
  •  

  • ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  •  

  • ตำรวจ
  •  

  • ทหาร
  •  

บำเหน็จบำนาญปกติ มี 4 เหตุ ดังนี้

  1. 1. เหตุทดแทน (ตามมาตรา 11)

     

    2. เหตุทุพพลภาพ (ตามมาตรา 12)

    3. เหตุสูงอายุ (ตามมาตรา 13)

  2. 4. เหตุรับราชการนาน (ตามมาตรา 14)

     

ผู้มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จบำนาญให้แก่ผู้ที่ออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ต้องเข้าเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้

1. เหตุทดแทน (มาตรา11) ให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งหรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่มีความผิด หรือออกตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น นักการเมืองซึ่งออกจากราชการหรือผลของกฎหมาย เป็นต้น หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด และทางราชการสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ดังนี้

1.1 เลิกหรือยุบตำแหน่ง

- เลิกตำแหน่ง หมายถึงทางราชการเลิกตำแหน่งหน้าที่ที่ผู้นั้นปฎิบัติโดยไม่มีงานที่จะต้องให้ ปฎิบัติต่อไปอีก จึงเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากราชการไป

- ยุบตำแหน่ง หมายถึง ทางราชการเอางานในหน้าที่ของตำแหน่งหนึ่งไปรวมกับงานในหน้าที่ของตำแหน่งอื่น จึงเป็นเหตุให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นต้องพ้นจากราชการ

1.2. ทางราชการสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด ซึ่งพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ เช่นผู้ที่ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ตาม

มาตรา 114 เจ็บป่วยไม่อาจปฎิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอหรือสมัครใจไปปฎิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ หรือขาดคุณสมบัติ หรือไม่สามารถปฎิบัติราชการให้มี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระบบอันเป็นที่น่าพอใจของทางราชการได้

มาตรา 115 มีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ทางราชการ

มาตรา 116 มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน

มาตรา 117 ต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล หรือต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

มาตรา 118 ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ดังนั้นการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการ ควรระบุมาตราและเหตุ ให้ชัดเจนด้วย

1.3 ออกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าราชการผู้ซึ่งออกจากราชการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ คือข้าราชการการเมือง ได้แก่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ เลขานุการ รัฐมนตรี เป็นต้น เมื่อข้าราชการการเมืองออกจากราชการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นด้วยเหตุใดๆ ก็ตามย่อมมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน

1.4 ทหารออกจากกองหนุนมีเบี้ยหวัด คือทหารซึ่งรับเบี้ยหวัดครบกำหนดแล้วเปลี่ยนจากเบี้ยหวัดเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ

2. เหตุทุพพลภาพ (มาตรา 12) ได้แก่ข้าราชการผู้เจ็บป่วยทุพพลภาพซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฎิบัติอยู่นั้นต่อไปได้ เช่น เจ็บป่วยเป็นอัมพาต หรือเป็นโรคจิต โรคประสาท เป็นต้น การออกจากราชการด้วยเหตุทุพพลภาพนี้ ข้าราชการมีสิทธิที่จะลาออกได้เองหรือทางราชการจะสั่งให้ออกก็ได้ ข้อสำคัญจะต้องให้แพทย์ทำการตรวจและให้ความเห็นว่าไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งหน้าที่นั้นต่อไปได้

3. เหตุสูงอายุ (มาตรา 13) ให้แก่ข้าราชการผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (เกษียณอายุ) หรือลาออกเมื่อมีอายุครบ 50 ปี บริบูรณ์

ข้าราชการผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้รับราชการต่อไปได้อีก เช่นข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ และข้าราชการในพระองค์ เป็นต้น

ผู้ที่ออกจากราชการด้วยเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ เหตุสูงอายุ ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปมีสิทธิเลือกขอรับบำนาญ หรือรับบำเหน็จก็ได้ ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ถึง 10 ปี มีสิทธิได้รับแต่เพียงบำเหน็จ

4. เหตุรับราชการนาน (มาตรา 14) ให้แก่ข้าราชการซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์

นอกจากนี้ ในกรณีผู้มีเวลาราชการครบ 10 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปี ประสงค์จะลาออกจากราชการและไม่เข้าเกณฑ์ 4 เหตุดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามมาตรา 17

1.2 ออกจากราชการเพราะเหตุเจ็บป่วยหรือกายพิการซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองโดยตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถจะรับราชการต่อไปได้ และทางราชการสั่งให้ออก ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพ (ม.12)

1.3 ออกจากราชการเพราะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ ซึ่งทางราชการสั่งให้ออก หรือมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์แล้วได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุ (ม.13)

1.4 ข้าราชการที่มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 30 ปีบริบูรณ์แล้วทางราชการให้ออกจากราชการ หรือมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้วได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนาน (ม.14)

1.5 ผู้ที่ลากออกจาราชการ หรือทางราชการให้ออก หรือออกตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 104 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494

ผู้ที่ถูกปลดออกจากราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออกจากราชการ

1. ถ้ามีเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 10 ปี (9 ปี 6 เดือน) ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 25 ปี ให้ได้รับบำเหน็จ ตามมาตรา 17

2. ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญ 25 ปี (24 ปี 6 เดือน) ขึ้นไป ให้ได้รับบำนาญ ตามมาตรา 14 หรือจะเลือกรับบำเหน็จก็ได้

การเสียสิทธิรับบำนาญปกติ

ผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่จะเสียสิทธิรับบำนาญในกรณีต่อไปนี้ คือ

1 . กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความผิดในลักษณะฐานลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

  1. เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

     

การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ(รวมทั้งเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญปกติ และบำเหน็จตกทอดข้าราชการประจำถึงแก่ความตาย)

 

1. การนับเวลาระหว่างที่รับราชการตามปกติ

1.1 เริ่มนับตั้งแต่วันที่เข้ารับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในอัตราสามัญ แต่ไม่ก่อนวันที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันสุดท้ายก่อนออกจากราชการ หรือถึงวันที่ 30 กันยายน กรณีเกษียณอายุ หรือจนกระทั่งวันที่ถึงแก่ความตาย

อนึ่งผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการนับให้ตั้งแต่วันขึ้นทะเบียบทหารกองประจำการ

  1. ข้าราชการวิสามัญ ที่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ยกฐานะ หรือเปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เช่น ข้าราชการวิสามัญตำแหน่งผดุงครรภ์ หรือข้าราชการ พลเรือนสามัญตำแหน่งที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็น

     

  2. ข้าราชการพลเรือนสามัญได้ และเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษา (ม.6 เดิม) ก็ให้นับเวลาระหว่างที่เป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญติดต่อกับวันที่ได้มีการยกฐานะนั้น เป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ผู้ที่เริ่มเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั่วคราวเพื่อทดลองให้ ปฎิบัติราชการมีสิทธิได้นับเวลาตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการ

     

2. ข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนซึ่งทางราชการสั่งให้ไปทำการใดๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้นับเวลาระหว่างถูกสั่งให้ไปทำการใดๆ เป็นเวลาราชการปกติ เหมือนเต็มเวลาราชการ

รายละเอียดการนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ประกอบด้วย

เวลาปกติ

1. ให้นับตั้งแต่วันเข้ารับราชการที่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายประเภทเงินเดือนซึ่งมิใช้อัตราข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้าง

ถ้าข้าราชการวิสามัญได้เปลี่ยนฐานะเป็นข้าราขการก็ให้นับเวลาราชการรวมกับเวลาที่เป็นข้าราชการวิสามัญด้วย (ม.23 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ 2494)

2. ข้าราชการที่รับราชการก่อนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ เป็นต้นไป (ม.23 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

3. ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (ม.23 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

4. ข้าราชการที่โอนมาจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการส่วนจังหวัดหรือพนักงาน เทศบาล ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายส่วนราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในวันโอน (ม.23 ทวิ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2512

5. วันลาป่วยหรือวันต้องพักราชการซึ่งได้รับเงินเดือนเต็มระหว่างนั้นให้นับเต็มเวลา (ม.25)พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494

6. เวลาระหว่างที่ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด ให้นับ 1 ใน 4 (ม.26)พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494

7. เวลาในระหว่างทางราชการให้ไปในต่างประเทศ ให้นับเต็มเวลานั้น (ม.27)

8. ข้าราชการที่ทางราชการสั่งให้ไปทำการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ยังไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้นับเวลาระหว่างที่ไปทำการนั้นเต็มเวลา (ม.28 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

9. ให้นับเวลาราชการเป็นจำนวนปีเศษของปีถึง 6 เดือน ให้ปัดเป็น 1 ปี ให้นับ 12 เดือนเป็น 1 ปี และถ้ามีอันตรายช่วงเวลาให้รวมกันโดยนับ 30 วัน เป็น 1 เดือน (ม.29 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

10. การนับเวลาต่อกันสำหรับผู้กลับเข้ารับราชการใหม่

10.1 ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการการเมือง กลับเข้ารับราชการใหม่ให้นับเวลาราชการตอนก่อนและตอนหลังต่อกันได้ ตามมาตรา 38 ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 เว้นแต่ข้าราชผู้นั้นได้ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ (ม.30 พ.รบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2494 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2539

10.2 ข้าราชการการเมืองออกจากราชการหรือพ้นจากตำแหน่ง โดยผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและยังไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญสำหรับเวลาราชการตอนก่อนนั้น เมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง ให้นับเวลาราชการตอนก่อนและตอนหลังต่อกันได้ (ม.30 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2539)

10.3 ผู้มีสิทธิรับหรือได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ หรือผู้มีสิทธิได้รับหรือได้รับบำนาญตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 เมื่อกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมืองใหม่ให้นับเวลาตอนก่อนและเวลาตอนหลังต่อกันได้

ถ้าประสงค์จะรับบำนาญเดิมต่อไป โดยไม่ประสงค์จะให้นับเวลาราชการต่อกัน ให้ขอรับบำนาญนั้นต่อไปเป็นหนังสือต่อเจ้าสังกัดภายใน 30 วันนับจากวันเข้ารับราชการใหม่ หากไม่ยื่นขอรับบำนาญต่อไปภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นเลิกรับบำนาญแล้วให้นับเวลาราชการตอนก่อนและตอนหลังต่อกัน ม.30 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16)พ.ศ.2539

10.4 ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญส่วนท้องถิ่น ถ้ากลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมืองและเลิกรับบำนาญให้นับเวลาราชการตอนก่อนและตอนหลังต่อกันได้

ถ้าประสงค์จะรับบำนาญเดิมต่อไป โดยไม่ประสงค์จะให้นับเวลาราชการต่อกัน ให้ยื่นขอรับบำนาญเป็นหนังสือต่อเจ้าสังกัดภายใน 30 วัน นับจากวันเข้ารับราชการใหม่ ไม่ยื่นขอรับบำนาญภายในเวลาดังกล่าวจะถือว่าผู้นั้นเลิกรับบำนาญและให้นับเวลาราชการตอนก่อนและตอนหลังต่อกันได้ (ม.30 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 16 พ.ศ.2539)

 

 

2. การนับเวลาทวีคูณ

เวลาทวีคูณ คือเวลาที่กฎหมายให้นับเพิ่มอีก 1 เท่า ของเวลาที่ปฎิบัติหน้าที่หรือรับราชการตามปกติแบ่งเป็น

  1. เวลาทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด (มาตรา 24 วรรค 1)

     

  2. เวลาทวีคูณปฎิบัติหน้าที่ในเขตประกาศใช้กฎอัยการศึก การนับเวลาทวีคูณต้องมีเวลาราชการปกติในระหว่างนั้นก่อนจึงจะนับเวลาราชการทวีคูณได้ ถ้าในระยะเดียวกันมีเวลาทวีคูณหลายประการซ้ำกัน ให้นับเวลาระหว่างนั้นเป็นทวีคูณแต่ประการเดียว(มาตรา 24 วรรค 2)

     

3. การตัดเวลาราชการ

3.1 เวลาที่ไม่ได้รับเงินเดือนด้วยเหตุใดๆ เช่น ป่วย ลา ขาด พักราชการ ให้ตัดเวลาระหว่างนั้นออก หรือถูกสั่งพักราชการโดยได้รับเงินเดือนไม่เต็มอัตรา เช่น ได้รับครึ่งหนึ่ง หรือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ให้ตัดเวลาราชการออกตามส่วนที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน.

3.2 เวลาระหว่างรับเบี้ยหวัด นับเวลาราชการให้ 1 ใน 4

3.3 ผู้มีสิทธิได้นับเวลาราชการทวีคูณ กรณีประกาศกฎอัยการศึก ถ้าไม่มาปฎิบัติราชการในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก ด้วยเหตุใดก็ตาม ไม่มีสิทธิได้นับเวลาทวีคูณในระหว่างนั้น

รายละเอียดเวลาทวีคูณ ผู้มีสิทธิได้รับเวลาทวีคูณ ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ผู้ที่ทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดในระหว่างที่มีการรบหรือการสงเคราม หรือการปราบปรามจราจล หรืออยู่ในระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำเรือดำน้ำ ให้นับเวลาราชการระหว่างนั้นเป็นทวีคูณ (ม.24 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

2. ผู้ที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่ในเขตที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกษา ให้นับเวลาระหว่างนั้น เป็นทวีคูณ

ถ้ามีเวลาทวีคูณในช่วงเวลาเดียวกันหลายประการ ให้นับเวลาทวีคูณได้เพียงประการเดียว (ม.24 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

สรุปหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้บำเหน็จบำนาญปกติ

สาเหตุการออกจากราชการ

สิทธิและเงื่อนไขเวลา

บำเหน็จ บำนาญ

หมายเหตุ

1)เหตุทดแทน (ม.11)

 

2)เหตุทุพพลภาพ (ม.12)

 

3)เหตุสูงอายุ (ม.13)

 

 

 

 

 

4)เหตุรับราชการนาน (ม.14)

 

5)ลาออกจากราชการหรือทาง

ราชการให้ออกหรือออกตาม

พระราชบัญญัติข้าราชการ

พลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 104 114 115 116 หรือ 117

ตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์

ขึ้นไป ขึ้นไป

ตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์

ขึ้นไป ขึ้นไป

ตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์

ขึ้นไป ขึ้นไป

 

 

 

 

ตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป

 

ตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์

ขึ้นไป ขึ้นไป

- เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญนับเป็นจำนวนปี เศษของปีตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปให้นับ 1 ปี

-นับ 12 เดือน เป็น 1 ปี เศษของเดือนรวมกันครบ 30 วัน ให้นับ 1 เดือน

วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ

การคำนวณบำเหน็จบำนาญตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16)พ.ศ.2539 ใช้สูตรในการคำนวณดังนี้

 

วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ

สูตร บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ

สูตร บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ
50

หมายเหตุ เศษของปี ถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี

 

 

ผู้ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ

  1. ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการตุลาการหรืออัยการผู้ถูกไล่ออกจากราชการ

     

  2. ข้าราชการตุลาการหรืออัยการผู้ถูกไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ

     

  3. ข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้าง เว้นแต่กรณีที่มีข้อกำหนดให้บำเหน็จหรือบำนาญในหนังสือสัญญาจ้าง ตามความต้องการของรัฐบาล

     

  4. ผู้ซึ่งรัฐบาลกำหนดเงินอย่างอื่นไว้แทนบำเหน็จบำนาญแล้ว

     

  5. ผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ครบหนึ่งปีบริบูรณ์

     

    6. ผู้ซึ่งไม่เคยรับราชการมาก่อน แต่ได้เป็นทหารว่าด้วยการรับราชการทหารเมือปลดเป็นกองหนุนแล้วและได้เข้ารับราชการ โดยเวลารับราชการจะติดต่อกับเวลาราชการกองประจำการหรือไม่ก็ตามยังไม่ครบ 1 ปี บริบูรณ์ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 8)

     

หลักฐานการขอรับบำเหน็จบำนาญ

หลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญ เป็นไปตามระเบียบกระทรวง การคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  1. กรณีขอรับบำเหน็จบำนาญปกติ ให้ใช้แบบ 5300 โดยแนบหลักฐานดั้งนี้

     

    1. สมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติ

       

    2. ใบรับรองสมุดประวัติ อัตราเงินเดือน เงินเพิ่ม ( ถ้ามี ) และเวลาทวีคูณ

       

      ระหว่าง ประจำปฏิบัติหน้าที่ ในเขตที่ได้ประกาศกฎอัยการศึก ( แบบ 5302 )

    3. ภาพถ่ายบัตรเงินเดือน

       

    4. สำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ออกจากราชการ

       

สำหรับผู้ที่ครบเกษียณอายุ

1.5 สำเนาคำสั่งที่ให้ออก หรืออนุญาตให้ลาออกจากราชการ หรือประกาศหรือ

แจ้งความเกษียณอายุ แล้วแต่กรณี

1.6 ใบแสดงความคิดเห็นของแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ซึ่งได้ตรวจและให้ความ เห็นว่าไม่สามารถจะรับราชการในหน้าที่ได้ต่อไปนี้ ( แบบ 5303 ) สำหรับผู้ที่ออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพ

1.7 หลักฐานการตรวจสอบและรับรองเวลาราชการของกรมการเงินกลาโหมกระทรวงกระทรวงกลาโหม หรือกรมตำรวจ แล้วแต่กรณี (แบบ 5304 หรือ แบบ 5305) สำหรับผู้ที่เคยรับราชการทหาร หรือ ตำรวจกองประการ ก่อนหรือภายหลังที่เข้ารับราชการแล้ว

1.8 หลักฐานเกี่ยวกับการถูกสั่งพักราชการ ให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก และหลักฐานการรับเงินระหว่างนั้น สำหรับผู้ที่เคยถูกสั่งพัก หรือออกจากราชการ ดังกล่าวแล้ว เว้นแต่ได้บันทึกไว้ในสมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติโดยชัดแจ้งแล้ว

1.9 หลักฐานเกี่ยวกับการที่ทางการสั่งให้ไปทำการใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ สำหรับผู้ที่ได้ไปปฏิบัติงานดังกล่าวนี้

1.9.1 คำสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปทำการนั้น ๆ

1.9.2 คำสั่งให้กลับเข้ารับราชการตามเดิม หรือหลักฐานการแสดงเจตนาขอรับบำเหน็จบำนาญ หรือหลักฐานการออกจากงานทางหน่วยงานที่ไปปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ แล้วแต่กรณี

1.10 หลักฐานการมีสิทธิได้นับเวลาทวีคูณสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดในระหว่างที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือการปราบจลาจล หรือในระหว่างที่มี พระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างที่สั่งให้เป็นนักดำเรือนดำ ซึ่งรับรองโดยกรมการเงินกลาโหม กระทรวงกลาโหม ( แบบ 5304)

1.11 หลักฐานการมีสิทธิได้นับเวลาทวีคูณสำหรับผู้ปฏิบัติราชการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งรับรองโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ( แบบ 5306)

  1. หลักฐานการมีสิทธิได้นับเวลาทวีคูณสำหรับผู้ปฏิบัติราชการลับหรือปฎิบัติราช

     

การตามแผนป้องกันประเทศ หรือปฏิบัติราชการกรณีอื่น ตามแบบที่กระทรวงกลาโหมขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง หรือตามที่แจ้งให้กระทรวงการคลังทราบแล้ว

  1. หลักฐานการพิจารณาของกระทรวงเจ้าสังกัดหรือองค์กรกลางบริหารงาน

     

    บุคคล ( ก.พ. ก.ค. ก.ต. ก.ม. ก.ตร. ก.ร. หรือ ก.อ. ) สำหรับผู้ที่มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนออกจากราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะหย่อนความสามารถหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม หรือบกพร่องในหน้าที่หรือมีมลทินมัวหมอง หรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีระเบียบให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดรายงานผลการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว ให้กระทรวงเจ้าสังกัดหรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการนั้นทราบ หรือหลักฐานการประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน (แบบ 5307 และ 5308) สำหรับผู้ที่เจ้าสังกัดยังไม่ได้รายงานผลการปฏิบัติหรือรายงานแล้วแต่กระทรวงเจ้าสังกัดหรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลนั้นยังพิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น

  2. หลักฐานการชดใช้เงินคืนกรณีลากศึกษา หรือดูงานแล้วกลับมาปฏิบัติ

     

ราชการ ชดใช้ไม่ครบตามสัญญา

1.15 แบบ สบง. 1 (โครงการจ่ายตรง) พร้อมแนบเอกสารประกอบดังนี่

1.15.1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

1.15.2. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

1.15.3. สำเนาสมุดเงินฝากประเภทออมทรัพย์ เ ฉพาะหน้าที่มีหมายเลขบัญชีสำเนาสมุดคู่ฝาก

1.16 หนังสือรับรองการขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สบง. 10)

 

หมายเลขบันทึก: 109776เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดิฉันรับราชการของกรมการขนส่งทางบก บรรจุซี 1 ตั้งแต่ ปี 2544 แล้วไปสอบนักวิชาการได้ปี 2551 และ สนง.กกต.ขอใช้บัญชี โดย กกต.แจ้งว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จเหตุทดแทน และกรมฯ ได้มีคำสั่งตามหนังสือของ กกต. คำสั่ง ให้ข้าราชการออกจากราชการเพื่อให้ได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ดิฉันได้ยื่นเรื่อง ณ ต้นสังกัด และต้นสังกัดแจ้งว่าได้สอบถามจากสำนักงานคลังเขตแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ได้แต่เงินสะสม กบข. เท่านั้น ดิฉันจึงอยากเรียนถามว่าตามคำสั่งและระเบียบดิฉันมีสิทธิได้รับเงินอะไรบ้างค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ผมบรรจุราชการ 3 มิถุนายน 2517 ออก 30 กันยายน 2552 มีเวลาราชการกี่ปี และมีเวลาทวีคูณช่วงปี 2519 หรือไม่ ช่วยตอบด้วย ขอบคุณครับ

ต้องการประกาศใช้กฎอัยการศึกษาครั้งที่ 5 และครั้งที่ 6 จนถึงปัจจุบันบันเนื่องจากมีข้าราชการและลูกจ้างประจำเข้าโครงการลาออกจะนำมาประกอบการนับอายุราชการทวีคูณ ขอความอนุเคราะห์ท่านด้วย ผู้ที่ลาออกเป็นข้าราชการครูและลูกจ้างประจำในจังหวัดศรีสะเกษปฏิบัติหน้าที่อยู่อำเภอกันทรลักษ์เป็นอำเภอที่มีชื่อในประกาศใช้กฎอัยการศึกทุกครั้ง เนื่องจากเอกสารเดิมที่มีอยู่มันหายนะครับ คนที่เคยทำงานฝ่ายบุคลากรคนเก่าๆ ก็เสียชีวิต หาเอกสารไม่ช่วยอนุเคราะห์หน่อยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับผม

1.ข้าราชการ กพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิได้อายุราชการทวีคูณบ้างมั้ยค่ะ ได้ช่วงไหนบ้าง

2.จะลาออก อายุราชการยังไม่ครบ 25 ปี มีเงื่อนไขอย่างอื่นมั้ยค่ะ มีกรณีอายุตัวมั้ยค่ะ ที่ได้บำนาญ ยกเว้นบางกระทรวงมั้ย เช่น สาธารณสุขค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท