KM กับงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตอนที่ 1


ทำไมต้องใช้การจัดการความรู้กับงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

KM กับการพัฒนาหลักสูตรท้องถ่น             

      เช่นเดียวกับคนอื่นๆ เมื่อประมาณ  3 ปีก่อน คำว่า ‘KM‘ หรือ การจัดการความรู้ เป็นเรื่องใหม่มากสำหรับดิฉัน และด้วยความสนใจและชอบที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีคิดและความสำเร็จของบุคคลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้สนใจ KM  แต่แม้ว่าจะได้พยายามติดตามอ่านหนังสือเกี่ยวกับการจัดการความรู้ซึ่งมีขายอยู่ในช่วงนั้นหลายเล่มแล้วก็ตาม และก็ดูเหมือนว่าจะเข้าใจ  พอเอาเข้าจริงคิดจะหยิบเอา KM มาใช้ทีไร ก็รู้สึกลังเลใจไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหนดีทุกครั้งไป ในที่สุดจึงตัดสินใจว่าลองใช้เลยจะดีกว่า ดิฉันทำงานเป็นอาจารย์ผู้สอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีงานหลักสองประการคืองานสอนและงานวิจัย ดิฉันจึงเริ่มนำเอา KM มาใช้กับงานทั้งสองด้านในเวลาไล่เลี่ยกัน  สำหรับงานสอนในตอนเริ่มแรกนั้นดิฉันใช้กับ 2 รายวิชาที่ต่างระดับกัน และต่างเวลากัน  รายวิชาหนึ่งสอนในระดับประกาศนียบัตร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 และอีกวิชาหนึ่งสอนระดับปริญญาโท ภาคฤดูร้อน ในปีเดียวกัน วิธีที่นำไปสอนในสองรายวิชาแรกนั้นต่างกัน ผลที่ได้จากการนำไปใช้ก็ต่างกัน แต่ก็พบว่าผลที่เกิดกับตัวผู้เรียนและผลงานที่ได้จากการเรียนล้วนเป็นที่น่าพอใจสำหรับดิฉัน ซึ่งดิฉันอยากจะเล่าให้ฟังอย่างยิ่ง แต่ด้วยหัวข้อที่ได้รับมาเป็นเรื่อง KM กับงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดิฉันจึงต้องขอเก็บไว้เล่าในโอกาสต่อไป

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">โครงการวิจัยชื่อเรื่อง  การพัฒนาหลักสูตรที่มีทรัพยากรเป็นฐาน : กรณีศึกษาหลักสูตรท่องเที่ยวท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก     เป็นครั้งแรกที่ดิฉันนำแนวคิด KM มาใช้ในงานวิจัยโครงการวิจัยหลักสูตรท้องถิ่นนี้ได้ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนอีก 6 โรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลกได้แก่ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา โรงเรียนจ่านกร้อง โรงเรียนวัดท่าหมื่นราม โรงเรียนวังมะด่านพิทยาคม และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23  มีครูเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน เลือกจากโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน และที่ตั้งของโรงเรียนกระจายอยู่ทั้ง 3 เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2548 และสิ้นสุดในเดือน มิถุนายน 2549 </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทำไมต้องใช้การจัดการความรู้กับงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น</p>                บทบาทครูในการพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เองในโรงเรียนเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังการประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  ซึ่งกำหนดให้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้จำเป็นต้องมีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับสภาพและปัญหาความต้องการของโรงเรียนและชุมชน แต่ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีประสบการณ์ในการสร้างหลักสูตรเองมาก่อน ปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะครูทำไม่ได้ กระนั้นก็ตามทุกโรงเรียนจำเป็นต้องมีหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อรับการประเมิน ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการจัดการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนและครูจำนวนมากจะให้ความสนใจเข้าร่วมประชุม แต่ครูก็พบว่าการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ได้จากการฝึกอบรมแต่ละครั้งมีหลากหลายแนวคิดและรูปแบบ ทำให้ครูไม่อาจตัดสินใจเลือกและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลจริงในโรงเรียนได้ หลักสูตรท้องถิ่นที่แต่ละโรงเรียนมีอยู่จึงได้มาจากการลอกเลียนจากผู้อื่นมากกว่าการสร้างขึ้นเองจึงไม่สามารถถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของชุมชนท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ออกมาได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542     ดิฉันจึงขอสรุปในเบื้องต้นว่าการจัดฝึกอบรมซึ่งเป็นที่นิยมในการเผยแพร่ความรู้ใหม่ให้กับครูนั้นน่าจะเป็นวิธีการที่ไร้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งมีความซับซ้อนในเนื้อหาและกระบวนการอยู่ค่อนข้างมาก และเมื่อมาพิจารณาที่ KM ซึ่งให้ความสำคัญกับต้นทุนทางปัญญาเน้นที่ความรู้และประสบการณ์ตลอดจนความสำเร็จในการปฏิบัติการเรื่องใดเรื่องหนึ่งของบุคคล ทำให้ดิฉันมองเห็นทุนเดิมในตัวครู และเห็นความเป็นไปได้ในการส่งเสริมให้ครูได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นด้วยตัวของครูเอง เนื่องจากครูมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับนักเรียนและเนื้อหาสาระที่สอน ดีอยู่แล้ว หากผู้วิจัยคือตัวดิฉันสามารถทำให้ครูเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่นั้นกับสภาพปัจจุบันและความต้องการของท้องถิ่นเข้าไปในงานสอนของครูได้อย่างสมเหตุสมผลตามกระบวนการที่ผู้วิจัยจัดวางไว้ให้แล้ว   การสร้างความรู้ของครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยคือดิฉันจะต้องทำการกระตุ้น และสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้เกิดกับครูไปด้วยอยู่ตลอดเวลา โดยการจัดให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้วิจัยเองและครู และระหว่างกลุ่มครูในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียนกัน หลักสูตรท้องถิ่นที่ได้มาจึงจะสอดคล้องกับสภาพจริงของโรงเรียนและชุมชน ไม่ต้องลอกเลียนแบบใครมา อีกทั้งกระบวนการเรียนรู้ของครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ได้จากกระบวนการการวิจัยครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาครูเรื่องการพัฒนาหลักสูตรในกลุ่มอื่นต่อไป <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p>

หมายเลขบันทึก: 109314เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

- กระบวนการจัดการความรู้ เป็นการดึงความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับตัวครูแล้ว ผมเชื่อว่าทุกท่านมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตรดีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะไม่เข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับท้องถิ่นอย่างแท้จริง

- KM ที่ อาจารย์อมรรัตน์ นำไปใช้กับการพัฒนาหลักสูตรทำให้เราเข้าใจว่า ต้นทุนทางปัญญาที่อยู่ในตัวครูมีอยู่ทั่วแผ่นดินไทย การจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนั้นจึงควรดูบริบทรอบด้านด้วยครับ

- ขออนุญาตนำความรู้จาก อาจารย์อมรรัตน์ ไปปรับใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท