ภูเขารับร่อ:อีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีสำคัญในจังหวัดชุมพร


มาเที่ยวภูเขาในจังหวัดชุมพรกันเถอะค่ะ

สวัสดีค่ะ 

ห่างหายกันไปนานพอสมควร  วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร  มีเรื่องราวที่น่าสนใจในจังหวัดชุมพรมาฝากเพื่อนค่ะ  เราจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวภูเขาและไหว้พระกันที่อำเภอท่าแซะ

 ไปดูกันนะคะว่าที่ภูเขาแห่งนี้มีความสำคัญอย่างไรถึงได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติค่ะ 

 ภูเขารับร่อ

ที่ตั้ง                        ตำบลท่าข้าม  อำเภอท่าแซะ  จังหวัดชุมพร

ประวัติ/ตำนาน                

                  ภูเขารับร่อ  เป็นภูเขาหินปูน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  เขาพระ  ประกอบด้วย   ถ้ำ   โดยมีถ้ำสำคัญ   ถ้ำ  คือ ถ้ำไทร  ถ้ำพระ  และถ้ำอ้ายเตย์ ตามตำนานและนิทานพื้นบ้านเชื่อกันว่ารอบๆ บริเวณเขารับร่อเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณชื่อ    เมืองอุทุมพร    ร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช   ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  เมืองอุทุมพรนี้   เป็นเมืองท่ารักษาด่านทางข้ามคอคอดคาบสมุทรมลายูมีเรือสำเภา    เข้ามาค้าขายมากมาย  และได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากเมืองนครศรีธรรมราช  โดยมีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ เรียกว่า พระหลักเมือง หรือ พระปู่หลักเมือง  ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่กลางถ้ำพระ  ถ้ำนี้บางครั้งเรียกว่า  ถ้ำทะเลเซียะ  ตามชื่อคลองทะเลเซียะที่ไหลผ่านหน้าภูเขาทางด้านทิศใต้  เรื่องเล่าว่าเมื่อเสร็จจากการสร้างพระพุทธรูปหลักเมืองแล้วมีทรัพย์สินเงินทองที่ประชาชนนำมาร่วมกันสร้างเหลืออีกมากมายจึงนำมาฝังไว้ในถ้ำอีกถ้ำาหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน แล้วเขียนภาพพระพุทธไสยาสน์ไว้ที่ผนังถ้ำ  ชาวบ้านเล่าต่อกันมาว่าภาพเขียนสีบนผนังถ้ำนี้สร้างไว้เพื่อเฝ้าสมบัติเรียกว่า อ้ายเตย์  และมีนิทานชาวบ้านเป็นปริศนาลายแทงว่า  อ้ายเตย์ๆ เอาลูกใส่เปล  เดาตีนคาใน  น้ำมันสองขวดค่อยนวดค่อยไป  ผู้ใดคิดได้อยู่ใต้อ้ายเตย์ 

                จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการสำรวจพบที่ภูเขารับร่อ(หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีส่วนใหญ่พบที่ถ้ำพระและถ้ำอ้ายเตย์)  เช่น  เศษภาชนะดินเผา  เครื่องมือหินประเภทขวานหินขัด  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ที่ภูเขารับร่อนี้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายไม่ต่ำกว่า ,๐๐๐  ปีมาแล้ว 

สิ่งสำคัญ 

                 ๑.พระประธาน  หรือ  พระปู่หลักเมือง  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ  สูง  ๔  เมตร  หน้าตักกว้างประมาณ  ๓  เมตร  ศิลปะอยุธยา  นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องปางมารวิชัยขนากหน้าตัก  ๑๔๐ - ๒๐๐  เซนติเมตร  จำนวน  ๓  องค์  สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเช่นเดียวกัน

. อ้ายเตย์  คือ  ภาพเขียนสีพระพุทธรูปไสยาสน์ในถ้ำอ้ายเตย์  ภาพอยู่เหนือพื้นถ้ำประมาณ  ๔๐  เซนติเมตร  องค์พระยาว .๘๐  เมตร  กว้าง   เมตร  การเขียนภาพพระพุทธรูปอยู่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  เขียนโดยใช้วิธีการตัดเส้นสีแดง  ดำ  เป็นโครงร่าง  รอบองค์พระลงสีเป็นส่วนๆ พระเศียรและพระเกศาลงสีดำ  พระพักตร์และพระกรลงสีขาว  พระวรกายครองผ้ากาสาวพัสตร์สีเหลืองส้ม  พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม  พระอุษณีษะนูนสูงต่อด้วยเปลวรัศมีซึ่งลงสีขาวตัดเส้นสีดำ  ไม่แสดงรายละเอียด       พระเนตร  พระนาสิก  และพระโอษฐ์   จากลักษณะการเขียนภาพดังกล่าวน่าจะเป็นภาพที่ยังเขียนไม่เสร็จ  และจากเค้าโครงของภาพอาจสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยา โดยอาจสืบทอดคติการสร้างภาพพระพุทธรูปไสยาสน์ในถ้ำตามแบบวัฒนธรรมทวารวดี  เช่น  ถ้ำฝาโถ  ถ้ำจาม  จังหวัดราชบุรี  แต่เปลี่ยนจากการสลักภาพลงบนผนังหินเป็นการลงสีบนภาพอย่างเดียว

                  กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขารับร่อ (ถ้ำพระ  ถ้ำอ้ายเตย์ และถ้ำไทร รวมทั้งโบราณวัตถุภายในถ้ำ)  เป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  ๕๓  ตอนที่  ๓๔  เมื่อวันที่  ๒๗  กันยายน ..๒๔๙๗ 

                                                                       เอกสารอ้างอิง 

- ศิลปากร,กรม.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร.กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง  จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๒.

-สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช.โบราณสถานจังหวัดชุมพร. เอกสารประกอบการอบรมทบทวนอาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มส.)จังหวัดชุมพร  วันที่  ๔  สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๔๑.

หมายเลขบันทึก: 109277เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท