การจัการความรู้ชุมชนบ้านนำ้รอบ


การบูรณาการอาชีพสู่ชุมชนที่เข็มแข็ง

วันที่  25  มิถุนายน  2550
 
    เวลา  09.00 น. ได้ลงพื้นที่ตำบลไชยมนตรีเพื่อช่วย  ครูราญเมืองคอน  ทำเวทีเรียนรู้ขอชุมชน (การจัดการความรู้)  บ้านน้ำรอบ  ณ  ศาลาวัดน้ำรอบ  ซึ่งครูแต้วเองทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต ส่วนครูราญได้ทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ  เริ่มโดยการชี้แจงวัตถุุ ประสงค์ของโครงการต่อคุณกิจที่เข้าร่วมเสวนา
 
    หลังจากนั้นก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคุณกิจว่าทางชุมชน บ้านน้ำรอบเสนอ  โครงการอะไร ไปยังจังหวัดบ้างที่ผ่านมา  ใครทำและ ทำอย่างไร ให้ตัวแทนคุณกิจช่วยออกมาเล่า    ตัวแทนคุณกิจก็ออก มาเล่าว่า  โครงการเสนอไปยังจังหวัดที่ผ่านแล้วคือ  โครงการทำปุ๋ย หมัก   ก่อนที่จะลงมติออกมาเป็นโครงการนี้ 

    ทางชุมชนบ้านน้ำรอบ ได้นัดมาประชุมหารือกันโดย ผู้ใหญ่บ้านเป็น หัวเรี่ยวหัวแรงในการประชุม  เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมการประชุม ช่วยกันคิดว่า สิ่งที่ทำจะ ให้ชุมชน  อยู่ดี  มีสุข  ตามชื่อของโครงการ ที่ทางอำเภอให้เสนอไปนั้น  บางคนก็บอกว่า  ให้หนุนเสริมปุ๋ยเคมี  ให้หนุนเสริมเมล็ดพันธุ์  ให้หนุน เสริมทุนรับซื้อผลไม้  เพื่อพยุงราคา ที่พออยู่ได้ และในที่่ประชุม ก็นำสิ่งที่เสนอมาวิเคราะห์ร่วมกัน

    ผลสรุปว่า  คนสมาชิกส่วนใหญ่มีสวนผลไม้และปลูกผัก และประสบ ปัญหาในเรื่องของเกษตรร่วมกัน  สวนผลไม้ขายไม่ได้ราคาทำ ให้ขาด ทุนไม่พอกับค่าซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่เพราะราคาแพงมาก 

    ส่วนคนที่ปลูกผัก เมล็ดพันธุ์เก็บไว้เองได้ไม่ต้องซื้อซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะ ลดต้นทุนในการผลิตของชุมชนบ้านน้ำรอบ ได้อีกทางหนึ่ง  ส่วน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนในการ ผลิตของชุมชนบ้านนำ้รอบเพราะ  วัสดุบางอย่างหาได้ในท้องถิ่น  เช่น  ขี้วัว  ขี้หมู  ขี้ไก่  ผักบุ้ง  ฯลฯ โดยให้สมาชิกยกมือลงมติว่า จะเอาหรือ ไม่เอา  เสียงข้างมากตกลง เสนอโครงการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
 
    ครูราญเมืองคอน  สรุปเพิ่มเติมว่า   ที่ตัวแทนคุณกิจเล่ามานี้เป็น จัดการความรู้ของตนเองและชุมชนเพื่อให้ชุมชนอยู่ดี  มีสุข โดยให้รู้ จักตัวเอง  และสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือ ถ้าเป็นไปได้ยากให้แต่ครัวเรือน บันทึก  รายรับ-รายจ่าย  อาจเป็นรายเดือนหรือรายวัน  แล้วความสะดวก   ซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้จักตัวเองมากขึ้น และจะทำให้การวางแผนการใช้ จ่ายในครัวเรือนได้รัดกุมขึ้น  

    หลังจากนั้นให้  คุณทองเพชร  เตนากุล  ซึ่งเป็นยอดคุณลิขิต  เล่าการทำบัญชีรับ-จ่ายมาตั้งแต่ปี  2549  จนถึงปัจจุบัน  บอกว่าสาเหตุ ที่ได้ทำบัญชีเพราะรายได้ในแต่ละเดือนที่รับมาหลายทางด้วยกันแต่ รายจ่ายยังติดลบแถบทุกเดือนจึงมีแนวคิด ทำบัญชีรับ-จ่ายเป็นรายวัน ขึ้นมา

    ผลปรากฎว่า ทำให้ตนเองรู้ รายรับราย-จ่ายว่าออกไปทางไหนบ้าง ที่ไม่จำเป็นจากนั้นก็หาวิธีการบริหารจัดการการใช้จ่ายในครัวจนสามารถ นำครอบครัวไปสู่ เศรษฐกิจพอเพียงได้  คุณทองเพ็ชร  เตนากุล  ยืนยันว่าจะทำ บัญชีรับ-จ่าย แบบนี้ตลอดไปค่ะและขอฝากให้สมาชิกใน ชุมชนบ้านน้ำรอบลองทำบัญชีรับ-จ่ายของครัวเรือนแล้วจะทำให้เรา สามารถ  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  และการออม ได้ไม่ยาก

    ก่อนปิดเวทีประชุม  ครูราญเมืองคอนฝากให้สมาชิก ที่ี่เข้าร่วม ประชุมวันนี้ว่า  ให้ไปทำทันทีได้เลยเรื่องของบัญชีรับ-จ่าย แล้วให้นำ มาเล่ากันในเวทีต่อไป

หมายเลขบันทึก: 109079เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท