สอนหลักภาษาด้วยเพลงพื้นบ้านกันอีก


 

มาดูกันต่ออีก ๓ เพลงนะครับ 

๗.   เพลงคำเป็น


คำร้อง พิสูจน์  ใจเที่ยงกุล      ทำนอง เพลงพวงมาลัย

เอ่อระเหยลอยเด่น   มาเรียนคำเป็นกันให้เข้าใจ (ลูกคู่รับ )
คำเป็นคือพยางค์ที่    ลักษณะดังนี้  ข้อหนึ่งข้อใด
หนึ่ง สระเสียงยาวกำหนด   ไม่มีตัวสะกด  จดจำไว้
มา  นี  มี  มือ  งู  โต    เมีย  เสือ  ผัว  โซ่  ตัวอย่างให้
สอง สระจะยาวหรือสั้น    ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  ดูตัวสะกดไป
แม่ กง กน  กม  เกอว  เกย    ห้าแม่นี้เลย จะต้องจำได้
นาง  นวล  นิ่ม  แล้ว  น้อง  น้อย   นักเรียนต้องคอย  เอาใจใส่
สาม ดูคำเป็นของเรา    อำ  ไอ  ใอ  เอา  ประสมคำใด
นั่นคือคำเป็นแน่นัก    เราควรจำหลัก  เกณฑ์เอาไปใช้
 พวงเอ้ย  มาลัย    จำกันได้ไหม  คำเป็นเอย
( ลูกคู่รับ ) พวงเอย  มาลัย   จำกันได้ไหม  คำเป็นเอย
พวงเอย  พวงเอย  มาลัย    จำกันได้ไหม  คำเป็นเอย

     ๘.  เพลงคำตาย


คำร้อง  พิสูจน์  ใจเที่ยงกุล      ทำนอง  เพลงพวงมาลัย


 เอ่อระเหยลอยชาย   มาเรียนคำตาย  กันเถิดหนา (ลูกคู่รับ)
คำตายคือพยางค์ซึ่ง    ข้อใดข้อหนึ่ง  จงฟังว่า
หนึ่ง ประสมสระเสียงสั้น    ตัวสะกดนั้น  ไม่ต้องมีมา
จะ  ติ  รึ  ดุ  โต๊ะ  เจอะ    สังเกตไว้เถอะ  เรียกแม่ก กา
สอง  สระจะสั้นหรือยาว    จะขอบอกกล่าว  ไม่มีปัญหา
ตัวสะกดมีเพียงสามแม่               กก  กด  กบ  แท้  จำแน่ตรึงตรา
ตัก สุข เมฆ นาค ราก  ยก    อยู่ในแม่กก  ยกตัวอย่างมา
กฎ  นุช  ครุฑ  ราช  ก๊าซ  รถ   อยู่ในแม่กด  จดจำตำรา
โลภ  ธูป  เทียบ ลาภ  ภาพ  ลบ   อยู่ในแม่กบ  ครบหลักวิชา
 พวงเอ้ย  มาลา    รู้หลักภาษา  ก้าวหน้าเอย
( ลูกคู่รับ ) พวงเอย  มาลา    รู้หลักภาษา  ก้าวหน้าเอย
พวงเอย  พวงเอย  มาลา    รู้หลักภาษา  ก้าวหน้าเอย


๙. เพลงวรรณยุกต์ไทย


คำร้อง พิสูจน์  ใจเที่ยงกุล     ทำนอง พิสูจน์  ใจเที่ยงกุล


 วรรณยุกต์ ( ร้อง ๓ ครั้ง ) สะนุกสนุก เรื่องวรรณยุกต์ของไทย สี่รูป ห้าเสียง ยังไงเอ๊ะทำไมมีไม่เท่ากัน


 สี่รูปคือ เอก โท ตรี จัตวา เป็นสี่ ก็แค่นี้เท่านั้น  ส่วนเสียงเพิ่มเสียง สามัญ ต้องจำกันไว้ให้ดีดี


 วรรณยุกต์สำคัญเหลือหลาย เสียงเปลี่ยน ความหมายก็เปลี่ยนไปทันที เสียงสูงต่ำคล้ายเสียงดนตรี ( ซ้ำ ) ภาษาไทยเพราะดี เพราะมีวรรณยุกต์

คำสำคัญ (Tags): #เพลง
หมายเลขบันทึก: 109070เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

สี่รูปคือ เอก โท ตรี จัตวา เป็นสี่ ก็แค่นี้เท่านั้น  ส่วนเสียงเพิ่มเสียง สามัญ ต้องจำกันไว้ให้ดีดี


 วรรณยุกต์สำคัญเหลือหลาย เสียงเปลี่ยน ความหมายก็เปลี่ยนไปทันที เสียงสูงต่ำคล้ายเสียงดนตรี ( ซ้ำ ) ภาษาไทยเพราะดี เพราะมีวรรณยุกต์

ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ ตายตัวเหมือนเรา สูงต่ำ ตามอารมณ์ และสถานการณ์

ทำให้ชาวต่างประเทศว่า ภาษาเราเรียนยากค่ะ

  • ตามมาเรียนกับอาจารย์ครับ
  • โหไม่ธรรมดาเลยครับผม
  • ชอบมาก
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณ คุณศศินันท์ มากๆครับตามมาให้กำลังใจ กันบ่อยๆ ซาบซึ้งๆๆ
  • ขอบคุณว่าที่ดร.ขจิต
  • ถ้าเรื่องภาษาอังกฤษต้องยกให้ อ.ขจิต
  • ขอให้เรียนจบไวๆนะครับ

เอ่อละเหยลอยเด่น มาเรียนคำเป็น คำตาย

          อาจารย์พิสูจน์หนูจำได้ขึ้นใจเลยเจ้าค่ะ  เดี๋ยวจะเอาความรู้ในบทเพลงอาจารย์ไปแข่งขันในวันพรุ่งนี้ด้วยนะค่ะ  ตอนนี้ซุ่มอ่านหนังสืออยู่ค่ะ   ตั้งใจ สุดๆ

ครูอ้อยอยากเก่งแบบพี่ชายจังค่ะ

คนอะไร..เก่งแบบมีพรสวรรค์จริงๆ

สวรรค์ส่งพี่ชายมาหรือคะ

บุญของสุพรรณบุรีจริงๆค่ะ

  • ขอบคุณครูอ้อย มากครับชมเสียมากเชียว
  • คนที่เก่งจริงต้องแบบครูอ้อย
  • กำลังเป็นว่าที่ ดร. นี่ถึงของจริง
  • เก่งด้วยขยันด้วย
  • รอบรู้ด้วย
  • พวกเราคงได้เคล็ด ..ไม่ลับจากครูอ้อยอีกมาก
  • ขอบคุณ สิ่งดีๆที่ให้ครับ

. เด้กสมัยนี้แทบไม่รู้จักเลยเพลงพื้นบ้าน

. เด็กมองว่ามันยาก

. สนุกมากถ้าได้เรียนรู้

. เดี๋ยวให้ครูภาษาไทยที่โรงเรียนนำไปใช้บ้าง

. เป็นบุญของเด็กสมัยนี้เป้นอย่างมาก

. ขอบพระคุณแทนเด็กๆด้วยครับ

  • สวัสดีคะ
  • ขอบคุณมากคะ กำลังหาบทเพลงสอนเด็ก
  • ดีๆๆ เลยเจ้าค่า
  • แต่สงสัยต้องหัดร้อง อิอิ
  • ขอบคุณมากคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท