การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสถานศึกษาด้วยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส


การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสถานศึกษาด้วยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส

การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสถานศึกษาด้วยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการศึกษาได้มีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตขยายกว้างมากขึ้นโดยได้มิได้มีการจำกัดอยู่เพียงด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย การนำเทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยเท่านั้น แต่ในยุคของสารสนเทศและการสื่อสาร ICT เช่นปัจจุบัน ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก ด้วยคุณสมบัติที่สามารถประมวลผล นำเสนอในแบบสื่อผสม เป็นเครื่องมือด้านการสื่อสารและด้านความรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้มากมายหลายรูปแบบ ด้วยเหตุนี้การจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาจึง่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานทาง เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทันต่อความต้องการของผู้เรียนในปัจจุบันซึ่งการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในสถานศึกษาได้รับ การกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ ดังเช่น พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9 เรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามามีส่วนสำคัญใน การพัฒนาที่สถานศึกษาจะต้องให้มีขึ้น โดยจะเห็นได้จากการจัดสรรงบประมาณและโครงการขึ้นมาเป็นจำนวนมากเพื่อผลักดันในเกิดเป็นจริงภายใน ปี พ.ศ. 2549


เป้าหมายของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในสถานศึกษา

การนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาภายในสถานศึกษา สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ และการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในปัจจุบันการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการนั้นยังมีการให้ความสำคัญไม่เร่งด่วนเท่ากับการใช้งาน เพื่อการ จัดการเรียนการสอนอันมีเป้าหมายหลักในระยะเริ่มต้น 4 เป้าหมาย ได้แก่
  1. มีระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา
  2. ระบบ E-Library / E-Learning ภายในสถานศึกษา
  3. ระบบสื่อสารภายในสถานศึกษาด้วย E-Mail และเว็บบอร์ด
  4. สามารถเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาสู่สาธารณะชนได้
เป้าหมายทั้ง 4 เรื่องดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิชาการและการจัดการเรียนการสอนเป็นสำคัญ แต่ก็ยังเอื้อประโยชน์ต่องานด้านการบริหารจัดการด้วย ในบางส่วน ได้แก่ การเป็นช่องทางในการติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกสถานศึกษา เช่น การดาวโหลดเอกสารสำคัญจากเขตพื้นที่การศึกษา การสื่อสารด้วยจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรภายในสถานศึกษา การใช้เป็นช่องทางสื่อสาร เพื่องานชุมชนสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมและภารกิจที่จำเป็นดำเนินการทั้งสิ้น

ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สกับการใช้งานในสถานศึกษา

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษา ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของสถานศึกษา พัฒนาการของเทคโนโลยี รวมไปถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หากพิจารณาคุณสมบัติของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สแล้วจะเห็นได้ว่า มีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจัยสนับสนุน

  1. ด้านคุณสมบัติและเทคโนโลยี
    1. มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่มาจากระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์ในตระกูลเดียวกันกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix ) ซึ่งนิยมใช้งานในระบบขนาดใหญ่
    2. มีสถาปัตยกรรมเป็นระบบเปิด ( Open System ) หมายถึง ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยยึดระเบียบวิธีการที่เป็นมาตรฐานกลาง เช่น OSI ,POSIX ,ANSI เป็นต้น จึงมั่นใจได้ว่าการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ( Interconnectivity ) จะมีความสะดวกและไม่ยึดติดกับโครงแบบ ( Plateform ) ใดๆ อันทำให้เกิดปัญหาการผูกขาดทางเทคโนโลยีในอนาคต
    3. ปราศจากไวรัส ปัญหาจากไวรัสคอมพิวเตอร์และสิ่งแปลกปลอมทางซอฟต์แวร์ ( Malware ) ที่มุ่งโจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ อันเนื่องมาจากพัฒนาการด้านการสื่อสารและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเป้าหมายสำคัญของไวรัสมักจะเป็นตัวระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ซึ่งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ( Microsoft Windows ) เป็นระบบที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุดจึงตกเป็นเป้าหมายมากยิ่งขึ้นไปด้วย ในขณะที่ระบบปฏิบัติการในกลุ่มยูนิกซ์ ลีนุกซ์หรือบีเอสดีได้รับผลกระทบจากไวรัสน้อยมากเนื่องจากระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์มีการแก้ไขปรับปรุงและป้องกันได้ดีกว่าและรวดเร็วกว่า
    4. สามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ เช่น Windows ได้ในระบบเครือข่ายเดียวกันถึงแม้ว่าโครงสร้างของระบบจะมีความแตกต่างกันก็ตามแต่เนื่อง จากการเชื่อมต่อมีระเบียบวิธีการหลายประการที่ใช้มาตรฐานร่วมกัน ( Standard Protocols ) จึงทำให้สามารถใช้เครื่องลูกข่ายเป็น Windows ในขณะที่เครื่องแม่ข่ายในระบบสามารถใช้ระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีได้
  2. ด้านความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
  3. ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจาก Free Software อนุญาติให้เผยแพร่และใช้งานได้โดยอิสระจึงไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หากสถานศึกษาทุกแห่งพยายามใช้ซอฟต์แวร์ ประเภทนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณของชาติได้อย่างมหาศาลและสามารถนำงบประมาณส่วนที่เหลือไปใช้พัฒนางานด้านอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น
  4. ใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์อย่างคุ้มค่า ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์สามารถทำงานได้บนเครื่องพีซีที่มีคุณสมบัติทางฮาร์ดแวร์ไม่สูงมากนัก จึงสามารถทำงานเป็นเครื่องแม่ข่ายได้ดีถึงแม้จะเป็นเครื่องรุ่นเก่าก็ตาม ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูงในการเริ่มต้นใช้งานระบบภายในสถานศึกษา
  5. ไม่มีภาระผูกพัน จากนิยามของ Free Software ทำให้แน่ใจได้ว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้จะยังคงคุณสมบัติด้านเสรีภาพในการใช้งานได้ตลอดไป เมื่อเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ ( Commercial Software ) แล้ว ซอฟต์แวร์หลายตัวที่มีการคิดค่าใช้จ่ายเมื่อมีการปรับปรุงรุ่นหรือขยาย ระบบซึ่งเป็นภาระที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  6. ด้านความเหมาะสมทางสังคม
    ในยุคสังคมแห่งความรู้ ( Knowledge Society ) ความรู้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า การเคารพสิทธิและรักษาวินัยในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามและสร้างความเจริญให้แก่สังคมโดยรวม การใช้งาน Free Software จะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมในการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฏหมาย สมควรอย่างยิ่งที่สถานศึกษาควรเป็นแบบอย่างแก่สังคม

    ปัจจัยอุปสรรค
    อุปสรรคที่สำคัญคือ จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านบุคลากร เนื่องจากในปัจจุบันยังมีจำนวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์เสรี ( Free Software ) น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ อย่างไรก็ตามหากมีการสนับสนุนให้มีการนำมาใช้งานอย่างจริงจัง เมื่อมีผู้ใช้ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นจะทำให้ชุมชนมีการใช้งานเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายผู้ใช้งานที่เข้มแข็งอันจะส่งผลให้อุปสรรคดังกล่าวจะลดลงและหมดไปเอง

    ลีนุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสามารถตอบสนองงานส่วนใดได้บ้าง
  7. เมื่อพิจารณาเป้าหมายการใช้งานระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษาแล้ว ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยเฉพาะในด้านการทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ( Server ) สำหรับบริการงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย จำแนกออกตามหน้าที่ของงานบริการ ( Services ) หรือประเภทของเครื่องแม่ข่ายได้ดังนี้
    1. อินเตอร์เน็ตเกตเวย์ ( Internet Gateway ) และพร๊อกซี่ ( Proxy Server ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการด้านการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ อินเตอร์เน็ต ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายท้องถิ่น ( LAN ) สามารถเข้าสู่เว็บไซต์และบริการต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้พร้อมกัน ทุกเครื่องโดยใช้วงจรเชื่อมต่อเพียงจุดเดียว
    2. เว็บเซิร์ฟเวอร์ ( Web Server ) เป็นหน้าที่หนึ่งเพื่องานบริการด้านการเป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษา การให้บริการเว็บเมล์ ( Web based Mail ) การเป็นศูนย์กลางของระบบฐานข้อมูลขององค์กร (Coperate Database ) การเป็นแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายภายในสถานศึกษา ได้แก่ โครงการ Moodle ซึ่งเป็นระบบ E-Learning ระบบโอเพ่นซอร์สที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันก็ออกแบบให้ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์โดย เฉพาะตั้งแต่ริเริ่มโครงการ
    3. เมล์เซิร์ฟเวอร์ ( Mail Server ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการรับส่งกันระหว่างนักเรียน ครูอาจารย์ ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกอีกด้วย
    4. เครื่องแม่ข่ายให้บริการจัดเก็บไฟล์และใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ( File/Printer Server ) เป็นงานบริการขั้นพื้นฐานในระบบเครือข่าย LAN ที่ช่วยลดการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน กระจัดกระจาย ให้รวมอยู่ที่ศูนย์กลางเพียงจุดเดียวจึงสะดวกต่อการเข้าถึง ควบคุม บำรุงรักษาและสำรองข้อมูล และเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า เช่นการใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน ใช้เนื้อที่จัดเก็บข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น
    5. ระบบสนับสนุน DNS Server, DHCP Server นอกจากงานบริการหลักๆ ดังกล่าวมาแล้ว ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สยังสามารถทำห ้าที่ ด้านอื่นๆ มากมายที่เป็นงานบริการที่อยู่เบื้องหลัง หรือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่าย เช่น การทำหน้าที่เป็น DNS Server เพื่อบริการชื่อโดเมนเช่นเดียวกับการอ้างอิง ชื่อเว็บไซต์ในระบบอินเตอร์เน็ต การให้บริการแจกจ่ายคอนฟิกแก่เครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายโดยอัตโนมัติซึ่ง ช่วยลดภาระการดูแลเครือข่ายแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ลงได้มากนอกจากนี้ยังมีเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการระบบ เครือข่ายอีกมากมายให้สามารถใช้งานได้ เป็นต้น

    การที่จะนำระบบเครื่องบริการระดับแม่ข่ายต่างๆ ดังกล่าวมาใช้งาน สามารถทำได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำมาก เนื่องจากซอฟต์แวร์ลีนุกซ์ที่เผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน จะอยู่ในรูปของซีดีรอมประมาณ 2 - 4 แผ่น ซึ่งสามารถดาวน์โหลดหรือขอสำเนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และภายในชุดโปรแกรมนี้จะมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วทั้งหมดให้ไว้ครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมให้ใช้งาน ผู้ติดตั้งและปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ สามารถเปิดบริการต่างๆ เพื่อใช้งานได้ทันที เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาต่อยอดทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาในอนาคต ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญทำความรู้จักกับเทคโนโลยีและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความพร้อมของสถานศึกษา พร้อมทั้งคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเอื้อประโยชน์สูงสุดตามแนวการจัดการศึกษาซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขอบคุณข้อมูลจากคุณ  ธีรภัทร มนตรีศาสตร์  IT Destination
หมายเลขบันทึก: 108908เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้เรื่อง OSI MODEL มากกว่านี้คะ เพราะใกล้จะสอบเรื่องนี้แล้วคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท