กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ Backward Design


มาตรฐานการเรียนรู้

                เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาผู้บริหาร และรองผู้บริหารสถานศึกษาที่ยัไม่ผ่านหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด  ระยะที่ 1 ภาควิชาการ ระยะที่ 2 ภาคฝึกปฏิบัติงาน   และระยะที่ 3 การประชุมสัมมนาหลังการฝึกปฏิบัติงานจริง   ( AAR ) ในช่วงที่ให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้เล่าถึงความสำเร็จ ความประทับใจในการฝึกปฏบัติงาน  นั้น มีท่านหนึ่งก็ได้นำเรื่องกระบวนการการออกแบบถอยหลังกลับมาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้  และพูดคำว่า  Backward...........ยังมีต่อ....

                Backward  Design  หลายครั้ง  ทำให้ผู้เข้าร่วมการพัฒนา ท่านหนึ่งยกมือถามคำว่า Backward  Design   หมายความว่าอย่างไร ?  จะมีวิธีการนำไปใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร? โดยขอให้วิทยากรเป็นผู้ให้คำตอบ เท่านั้น   ดิฉันตอบสั้นๆ ว่าเป็นคำศัพท์ทางวิชาการ เป็นกระบวนการออกแบบถอยหลังกลับที่นำมาใช้กับการประเมินผลการเรียนรู้  รายละเอียดนั้นขอผลัดไปคราวหน้า โดยให้คำมั่นว่าจะสำเนาเอกสาร  และลงwebsite  - ให้

                  ดิฉันเข้าไปสืบค้นทาง Internet  ก็พบรายละเอียด ที่อาจารย์ไตรรงค์   เจนการ  สำนักมาตรฐานการเรียนรู้  ได้แปลจากบทความ ซึ่งเป็น ฯของWiggins  และ Mctighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุด จากนั้นจึงเริ่มต้นปลายทาง    ต้องขอบคุณ กระบวนการ K.M.ที่ทำให้เกิดคลังความรู้  เสียดายที่มีแต่บทความทางวิชาการของอาจารย์ไตรรงค์  เจนการ  ถ้าท่านใดอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง  เพราะอยากจะทราบเหมือนกันว่าการนำ Backward  Design  มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้นั้น เป็นอย่างไร? มีประโยชน์แค่ไหน ? จะได้เผยแพร่ให้กับคุณครูของเราต่อไปค่ะ   

หมายเลขบันทึก: 108632เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เคยมีคนถามผมเรื่องนี้เหมือนกันแต่ยังไม่มีตัวอย่างเรื่อง backward design ที่ชัดเจนผมต้องการทราบเหมือนกันครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ     ผมเพิ่งผ่านการอบรมเรื่อง backward design มา  และกำลังหานวัตกรรมที่จะช่วยให้ตัวเองหายอึดอัดกับการจัดการเรียนการสอน  เลยขออนุญาตนำบลอกไปแปะที่เมืองแปงครับ   เผื่อจะมีอะไรคืบหน้าที่เป็นประโยชน์

สวัสดี่คะท่าน...เอื้องแซะ

หากไม่รังเกียจ....ครูอ้อยขอเรียนเชิญที่บันทึกนี้ค่ะ..backward design กับคำชื่นชม

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

  • Backward  Design ผมแปลว่าการออกแบบย้อนหลัง (เหลียวหลัง มองหน้า) ไปๆมาก็กลับมาที่เดิม
  • ในทัศนะผมครับผมยังเป็นครูบ้านนอกที่ยังชอบพาเด็กแหกกฏท่องสูตรคูรท่องสิ่งที่ควรท่องบ้าง (ผมจำคำที่พสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯท่านสอนไว้ว่าการเรียนท่องมีการท่องด้วย) แต่นักวิชาการปัจจุบันไม่รู้เอาอะไรคิด ให้เด้กเรียนแบบไม่ท่อง เด้กก้เลยมีปัญหานับดูวิครับ 10 ปีผลกำลังเกิดเราต้องปวดหัว และบ่นว่าครูสอนไม่ดีฯลฯ
  • ผมยังภูมิใจเด็กที่ท่องจำสิ่งที่ควรท่อง ก็สามารถเก่ง ดีมีสุข ไม่เชื่อมาดูงาน ที่ดรงเรียน เซนปอลน์ เมืองหนองคายดูครับ เด้กที่ใช้กฏโบราณผสมผสานวิธีสอนที่ครูเอาใจใส่แบบครูคือพ่อแม่คนที่สองยังใช้ได้
  • ใครว่าการท่องหนัสือเป้นนกแก้วนกขุนทอง ผมก็น้อมรับ แมต่ที่ไม่ท่องหละเป้นอะไรส่วนมากกำลังเป็นเกมแก้วเกมกินเงินทองพ่อแม่ ผท่านคิดอย่าไรกับ 10 ปีที่เราห้ามท่อง ห้ามตีเด้กป ผลภูมิใจไหม
  • พูดเรื่องระบบการศึกษาไทยเบื่อครับ...คนเขียนหรือนั่คิดเป็นคนจบจากเมืองนอก..แต่เอามาใช้กับเด็กบ้านนอกมันคนละโลกจริงๆ (วันนี้ถ้าเรื่อนี้ไม่เข้าหูใครก็ถือว่าผมเอาคอคิดก็แล้วกัน) 

     สวัสดีค่ะ Mr.ดิษกุล  น้องจรัล  ป่านนี้คงจะแตกฉาน Back up ..........หลายเรื่องแล้วนะคะ  ขอบคุณท่านอาจารย์โกศล ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ครูอ้อยด้วยนะคะ   ขออภัยที่ตอบล่า.........ช้า.........มากๆๆๆๆๆๆๆเพราะตอนนั้น บันทึกเป็นเรื่องที่ 2  ยังไม่รู้เต่ารู้แลน  แปลว่า  ไม่รู้ธรรมเนียม กติกา มารยาท ในการเขียนบล็อก  

      ตอบให้วันนี้ นะคะ  กั่นตอฮ่ะ  (ขออภัยด้วยค่ะ)

ไม่เคยเข้าอบรม Backward Design แต่ก็พยายามอ่าน อ่านแล้วมึน อยากเห็นตัวอย่าง ง่าย ๆ เช่น การสอนเรื่องการแต่งกลอนสุภาพ ทุกวิชาเอกคงนึกภาพออก ช่วยบอกที่เถอะ Backward มัน Backward อย่างไร ช่วยลำดับขั้นตอนให้หน่อยเถอะ อย่าใช้หลักวิชาการมาเขียนนะ เบื่อ อ่านเป็น 10 รอบ ยังไม่เข้าใจ เขียนของจริงให้ดูเลย

bacKward desing เป้นแนวคิดหรือการคิดที่เอาเป้าหมายเป็นสำคัญ เช่นการแต่งกลอนสุภาพของผู้เรียน เป็นเป้าหมายที่เราต้องการให้นักเรียนทุกคนสามารถแต่งกลอนสุภาพได้ คนที่จะแต่งกลอนสุภาพได้ต้องมีความรู้อะไรบ้าง กลอนสุภาพที่ดีมีลักษณะอย่างไร เทคนิคการเขียนและการจะฝึกให้ผู้เรียนเขียนกลอนสุภาพจะมีเทคนิคที่หลากหลายมีอะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้ ครูผู้สอนต้อง(ขอย้ำต้อง)มีองค์ความรู้ มีทักษะและมีจิตใจท่จะมุ่งให้ผู้เรียนสามารถแต่งกลอนได้จริงๆ นี่คือการคิดในขั้นตอนที่ หนึ่ง

การคิดในขั้นตอนที่สอง คือ บทกลอนสุภาพที่ผู้เรียนจะต้องเขียนส่งเรามีหน้าตาเป็นอย่างไร กี่บท กี่ตอน จะต้องเขียนถ่ายทอดอะไรบ้าง ขั้นตอนนี้ต้องสั่งให้ชัดเจนว่า บทกลอนสุภาพที่เราต้องการ มีลักษณะเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เมื่อผู้เรียนแต่งมาส่งเราแล้ว เป็นผลงานที่เรายอมรับได้ว่ามีคุณภาพดีจริงๆ นั้นแสดงว่าดูเหมือนว่าต้องเขียนspec ลักษณะบทกลอนสุภาพ ที่เรายอมรับว่ามีคุณภาพว่าจะต้อวมีลักษณะเช่นนี้จึงจะเป็นผลงานที่มีคุณภาพ สามารถยอมรับในผลงานนั้นๆได้สนิทใจ เมื่อเขียนคำสั่งสั่งให้ผู้เรียนเขียนบทกลอนสุภาพที่ต้องการ(ตามspec) เราต้องเขียนเกณฑ์การตรวจบทกลอนที่ผู้เรียนเขียนมาส่งเราไว้ก่อนล่วงหน้า เกณฑ์การตรวจนี้เน้นในเชิงคุณภาพของผลงานในบทกลลอนสุภาพมิใช่เชิงปริมาณ เเกณฑ์การตรวจให้คะแนนเชิงคุณภาพนี้เราเรียกว่า RUBRIC นี้คือ ขั้นตอนที่สองของการคิด

การคิดในขั้นตอนที่สามก็คือ คิดหาวิธีการที่จะฝึกเด็กทุกคนให้สามารถเขียนบทกลอนให้มีคุณภาพตาม RUBRIC ไตรรงค์(ปู่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท