โคม่ากับละครโทรทัศน์


ทารกและเด็กเล็กมีแนวโน้มจะแยกแยะละครออกจากชีวิตจริงไม่ได้ ความจริง...ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านก็แยกละครออกจากชีวิตจริงไม่ได้...

 

ละครโทรทัศน์เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ประเทศตะวันตกมักจะจัดรายการเหล่านี้ไว้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่แม่บ้านพอจะมีเวลาว่างจากภารกิจบ้าง

แฟนละครหลายคนติดละครราวกับผ้าที่ติดน้ำย้อม ยอมลืมโลก ชั่วคราว สาวจินตนาการไปในห้วงแห่งความฝัน...

อาจารย์นายแพทย์เดวิด คาซาเร็ตต์และคณะ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาละครโทรทัศน์สหรัฐฯ ในช่วงเวลา 9 ปีเศษ(1 มกราคม 2538 – 15 พฤษภาคม 2548)

ท่านนำข้อมูลเหล่านี้มาเปรียบเทียบเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลทางการแพทย์

อาจารย์ท่านพบว่า ละครโทรทัศน์สหรัฐฯ (คงจะคล้ายเมืองอื่นๆ ทั่วโลก)ให้ข้อมูลเท็จในด้านการฟื้นตัวจากภาวะโคม่า(ไม่รู้สึกตัว)

คนไข้ในละครมีอัตราตาย 8 % ขณะที่คนไข้จริงมีอัตราตายประมาณ 50 % หรือครึ่งหนึ่ง

คนไข้ละครโทรทัศน์ที่ฟื้นตัวจากภาวะโคม่าที่ไม่ใช่อุบัติเหตุมีอาการตกค้าง(เดี้ยง / residue) เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ความจำเสื่อม ลมชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อารมณ์เปลี่ยนแปลง แน่นิ่งไม่รู้ตัวและขยับเขยื้อนไม่ได้คล้ายพืชผัก (vegetative state) ฯลฯ 1 %...

คนไข้จริงมีการฟื้นตัวจากโคม่าจะมีอาการตกค้าง 91 % (p < 0.0001 หรือสถิตินี้มีโอกาสผิดพลาด 1 ใน 10,000)

คนไข้ละครโทรทัศน์ที่ฟื้นตัวจากภาวะโคม่าจากอุบัติเหตุมีอาการตกค้าง(เดี้ยง) 7 % เทียบกับคนไข้จริง 89 % (p < 0.0001 หรือสถิตินี้มีโอกาสผิดพลาด1 ใน 10,000)

คนไข้ละครโทรทัศน์ 89 % ฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีภาวะตกค้าง การนำเสนอเช่นนี้มีส่วนทำให้ผู้ชมเข้าใจผิดคิดว่า คนไข้จริงจะฟื้นตัวได้ดีเกินจริง

คนไข้จริงจะรอดชีวิตจากโคม่าได้ประมาณครึ่งหนึ่ง (½) คนไข้จริงฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์น้อยกว่า 10 %

คำแนะนำทั่วไปสำหรับโทรทัศน์ได้แก่ ไม่ควรเปิดละครที่มีเสียงน่ากลัวให้เด็กเล็กได้ยิน เช่น เสียงนักการเมือง ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ เสียงนินทาว่าร้าย เสียงทะเลาะวิวาท เสียงระเบิด ฯลฯ

อย่าลืมว่า ทารกและเด็กเล็กมีแนวโน้มจะแยกแยะละครจากชีวิตจริงไม่ได้ ความจริง...ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านก็แยกละครออกจากชีวิตจริงไม่ได้

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบคุณ > Katrina Woznicki. Soap Operas Distort Public Perception of Coma Recovery - CME Teaching Brief - MedPage Today. http://www.medpagetoday.com/Neurology/GeneralNeurology/dh/2383 > December 28, 2005. (source: BMJ December 24-31, 2005).
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง > ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๘
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT.
หมายเลขบันทึก: 10842เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2005 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สงสัยอาการ"แน่นิ่งไม่รู้ตัวและขยับเขยื้อนไม่ได้คล้ายพืชผัก (vegetative state)" ค่ะ ขยายความนิดนึงได้ไหมคะ? ขอบคุณค่ะ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ตัวอย่างอาการแน่นิ่ง ไม่รู้ตัว และขยับเขยื้อนไม่ได้คล้ายพืชผัก (vegetative state) ที่คนไทยรู้จักดีคือ อาการแบบ "คุณบิ๊กดีทูบี" ครับ คนไข้จะไม่รู้ตัว เป็นอัมพาตทั้งตัว ทำอะไรไม่ได้ เปรียบคล้ายกับต้นไม้หรือพืชผัก คนปกติจะเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยตัวเอง นี่เป็นศักยภาพอันหนึ่งที่ทำให้คนเราทำสิ่งที่ดีงามได้หลายอย่าง ท่านผู้อ่านเขียนมาใกล้ปีใหม่ ขอให้มีความสุข ความเจริญในสิ่งที่ดีงามทุกประการครับ... ขอขอบคุณ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท