ศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้


รู้เท่าทัน

   ผ่านมา 2 อาทิตย์แล้วสำกหรับการเปิดเรียน งานก็มากขึ้นทุกวัน อาทิตย์หน้าตั้งใจจะรวมกลุ่มกันไปที่บ้านของข้าพเจ้า เพื่อทำโครงการศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน  ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น หลังจากที่หยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง โดยจะเชิญผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ผู้นำชุมชน มาร่วมเป็นคณะกรรมการของศูนย์ฯ จากนั้นก็จะเริ่มถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ ให้ผู้นำเหล่านั้นได้เห็น เช่น การเผาถ่านโดยใช้ถัง 200 ลิตร หรือขบวนการ Carbonization  โดยมีนำส้มควันไม้เป็นเป้าหมายหลัก เพราะคุณประโยชน์ของนำส้มควันไม้นั้น มีมากเกินกว่าที่คิดไว้เสียอีก แต่ขั้นตอนและขบวนการไม่ง่ายเหมือนอย่างในเอกสาร กว่าข้าพเจ้าจะมั่นใจในขั้นตอน และขบวนการต่างๆ และคิดว่าสามารถที่จะถ่ายทอดให้ชาวบ้านที่ไม่เคยรู้ได้มีโอกาสลงมือทำด้วยตัวเอง      ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ชาวบ้านในเขตตำบลทุ่งสว่าง อ.ประทาย จ.นครราชสีมา ยังไม่มีใครเคยได้ลองทำอย่างจริงจังซักที ชาวบ้านจะได้รู้เท่าทันกับสิ่งใหม่ๆเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีการผลิตไบโอดีเซล จากนำมันพืชที่ใช้แล้ว สามารถใช้กับรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลได้ ขั้นตอนไม่ยากนัก ที่สำคัญต้นทุนตำ ให้ชาวบ้านยอมเปลืองนำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหารขึ้นมาหน่อย (รักษาสุขภาพด้วย) แต่มาประหยัดรายจ่ายในเรื่องของนำมันเชื้อพลิงที่ใช้ในการเกษตรแทน และยังมีเรื่องอื่นๆอีก เอาไว้ครั้งหน้าจะนำเสนอใหม่

 นายอัครชัย  อมัติรัตนะ  สมาชิกกลุ่มที่ 1

 

หมายเลขบันทึก: 108106เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2007 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท