การจัดการศึกษาของผู้พิการใน"สังคมไม่ทอดทิ้งกัน"


แอบหวังว่า จะได้มุมมองของสหวิชาชีพนะคะ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขและไม่ทอดทิ้งกัน”

จากการได้อ่านblog ของคุณก้ามปู ช่วยให้หนูได้เรียนหน่อยคะ  จึงได้ไอเดียที่นำมาต่อยอด  เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของผู้พิการค่ะ  แอบหวังว่า จะได้มุมมองของสหวิชาชีพนะคะ  สังคมอยู่เย็นเป็นสุขและไม่ทอดทิ้งกัน

หนิงได้ไปให้ ความคิดเห็นไว้

การศึกษาของผู้พิการ  มีข้อคับข้องอยู่หลายส่วนค่ะ  ดิฉันค่อนข้างเห็นใจและเข้าใจข้อคับข้องของทุกส่วนนะคะ  ไม่ว่าจะทางสถานศึกษาหรือผู้ปกครอง  ไหนจะความพร้อมและนโยบายอีกด้วยจากที่ข้อมูลที่ให้มาเบื้องต้นนี้  ดิฉันเข้าใจว่าน้องคงจะเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD) ใช่หรือไม่คะ

การศึกษาของผู้พิการมีรายละเอียด  และค่อนข้างอ่อนไหวค่ะ  อย่างไรก็ดี  ลองหาข้อมูลและปรึกษา  ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด  หรือ ศูนย์การศึกษาพิเศษของมหาวิทยาลัยราชภัฏ  ที่ใกล้บ้านนะคะ จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนและทำได้จริงกว่าค่ะ 

ถ้าน้องคือ เด็ก LD (จริงอย่างที่ดิฉันเข้าใจ)  การจัดการศึกษาของน้อง  ไม่ใช่แค่ให้เรียนผ่านชั้นไปเท่านั้นนะคะ   เพราะการที่โรงเรียนหรือครู  สอนแบบ"เอื้ออาทร"  ไม่ใช่เน้นที่"การพัฒนาศักยภาพ"จริงๆ  และปล่อยให้ผ่านชั้นมาด้วยความสงสารเรื่อยๆ  แม้น้องจะสำเร็จการศึกษาผ่านในระดับชั้นต้นๆมา 

แต่เมื่อต้องเปลี่ยนโรงเรียนเพื่อผ่านไประดับชั้นสูงขึ้น  ต้องมีการสอบประเมินใหม่   ถ้าน้องไม่ได้ตามเกณฑ์จริงๆ  และโรงเรียนใหม่ไม่มีนโยบายหรือความพร้อมด้านบุคคลากรที่จะดูแลน้องเป็นพิเศษ (ครูการศึกษาพิเศษหรือครูเรียนร่วม) ก็คงจะลำบากใจในการรับเข้าเรียนอ่ะค่ะ

ยิ่งเป็นการศึกษาที่สูงขึ้นย่อมต้องเรียนรู้มากขึ้น  ต้องการการดูแลมากขึ้นค่ะ 

 โดยส่วนตัวแล้ว  เท่าที่ดิฉันทำงานการจัดการศึกษาของผู้พิการอยู่  จะได้ยินคำถามจากอาจารย์ผู้สอนที่สนใจเด็กๆเหล่านั้นว่า  จะสอนอย่างไร  จะต้องระดับเข้มข้นขนาดไหน 

ดิฉันจะเรียนชี้แจงเสมอว่า  ดิฉันไม่ต้องการให้อาจารย์แต่ละท่านอ่อนเข้มลงเพียงเพราะว่า เด็กพิการ  ดิฉันเชื่อมั่นว่า ลูกๆทำได้ค่ะ  เพราะอย่างน้อยเด็กที่นี่ก็ผ่านการสอบเข้ามาช่องทางเดียวกันกับเด็กทั่วไป   ถ้าจะเรียนปริญญาตรี  ก็ต้องเรียนเหมือนเด็กทั่วไป ศึกษาค้นคว้า ทำรายงานเหมือนเด็กอื่นๆ  ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพียงแต่บางครั้ง(บางกรณี) เด็กๆอาจจะส่งงานช้ากว่าเพื่อนเล็กน้อย  เพราะเด็กๆอาจจะไม่สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ได้  เช่น เด็กตาบอด  ดิฉันจะต้องมาทำเป็นสื่อเสียง  หรือ สื่อเบรลล์ก่อน 

เพราะเมื่อลูกๆของ DSS สำเร็จการศึกษาเขาจะต้องไปหางานทำในแหล่งงานเดียวกันกับคนทั่วไป  อันนำไปสู่การดำรงชีวิตอิสระ   (Independent Living: IL)  ถ้าเขาได้รับปริญญาเอื้ออาทร เพราะว่าเขาพิการ   เขาจะมีความสามารถทัดเทียมเด็กอื่นได้อย่างไร 

ในภาวะการณ์ที่ต้องแข่งขัน  เช่นนี้นายจ้างจะให้โอกาสเขาเข้าทำงานหรือ ในเมื่อเขาเองก็มีความบกพร่องทางร่างกายให้เห็นอยู่แล้ว  แถมพ่วงมาด้วยปริญญาเอื้ออาทร

โดยส่วนตัวดิฉันเห็นว่า...  การศึกษาทุกระดับสำคัญมาก  คุณภาพของแต่ละระดับต้องได้เรื่องของการพัฒนาศักยภาพของแต่ละระดับจริงๆ  ไม่เช่นนั้นเราจะมีคนพิการที่สำเร็จการศึกษาสูงขึ้น  (ฟังเหมือนดูดีนะคะ ว่าคนพิการมีการศึกษาสูงขึ้น) แต่ไม่สามารถทำงานได้  เช่นคนทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาในระดับเดียวกัน

คนพิการไม่มีใครอยากเป็นภาระของสังคมค่  ทุกคนมีความวิริยะมาก  เราผู้อยู่ในวงการศึกษาต่างหาก  อดทนกับการพัฒนาศักยภาพที่แท้จริงของเขาหรือยัง 

 บางครั้งบางเรื่องเด็กๆต้องการเวลาในการเรียนรู้มากกว่าคนอื่นนะคะ  เพราะเขามีข้อจำกัดในการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้มากกว่าคนทั่วไป  อย่าจำกัดหรือประเมินการศึกษาแค่ตามเวลา  ต้องดูที่เป้าประสงค์การศึกษานั้นๆว่าผ่านเกณฑ์หรือยัง

อื้มมม...ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ    จากประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ  ที่ทำงานด้านการจัดการศึกษาของผู้พิการในมหาวิทยาลัยค่ะ

งานบริการสนับสนุนนิสิตพิการ  กองกิจการนิสิต  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค่ะ

http://www.msu.ac.th/sa/dss/

หนิงจะบอกลูกๆเสมอว่า  เราปฏิเสธความพิการไม่ได้แล้วนะคะ  ความพิการรักษาไม่หาย
แต่เราสามารถเป็นคนพิการที่มีศักยภาพสูงและดำเนินชีวิตได้ไม่แตกต่างกับคนทั่วไป  ด้วยการตั้งใจศึกษาพัฒนาตัวเอง  
อยากทำอะไร  อยากได้อะไรให้บอกพี่หนิง  เพราะบางครั้งบางอย่างพี่ไม่รู้  หนูต้องบอกพี่นะคะ  เพราะงานบริการสนับสนุนนิสิตพิการต้องสู้ไปด้วยกัน
เราจะต้องเป็นตัวอย่างและกำลังใจให้คนพิการที่ยังไม่อยู่ในระบบการศึกษาด้วยนะลูก
คนพิการต้องเรียน ต้องรู้ ต้องพัฒนาตนเองเสมอ
หมายเลขบันทึก: 107737เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

     ที่พัทลุง โดยเฉพาะในชุมชน เราพบคนพิการ (เด็ก-วัยรุ่ย) ที่ตอบเราว่า "อยากไปโรงเรียน" เมื่อถามว่าอยากบอกอะไรมากที่สุด หลังจากมีกิจกรรมกลุ่มของชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการแต่ละอำเภอ (เพื่อยกร่างยุทธศาสตร์ของเครือข่ายคนพิการ จ.พัทลุง) จนทำให้หลาย ๆ ครั้ง ถึงกับอึ้ง พูดต่อไม่ถูก
     เรื่องเหล่านี้ ได้รับการจัดการไปในทางที่ดีขึ้นแล้วครับ และไม่ใช่ใครที่ไหนทำ เป็นแกนนำคนพิการนั่นแหละที่ได้ช่วย ๆ กัน เมื่อเขาได้รับทราบปัญหา จากเดิมที่เขาเองไม่ทราบปัญหาคนอื่นเลย นอกจากปัญหาตัวเอง อย่างที่น้าแปลกพูดว่า "ยุ่ง ๆ แต่กับตัวเอง พอมาเป็นประธานชมรมฯ เข้า ยุ่งเรื่องเพื่อน เรื่องตัวเองก็ยังมี แต่มันหายไปไหนเสียก็ไม่รู้"

     ลปรร.กันนะครับ มองว่าคนพิการที่ยังอยู่ในชุมชน อาจจะยังต้องการกำลังใจ และข้อมูลข่าวสารสำหรับเขาอีกมากครับ 

ขอบพระคุณค่ะน้องชายขอบ  กัลยาณมิตรที่คิดถึงเสมอ

พี่หนิงเองทุกวันนี้ก็ทำงานกับคนพิการค่ะ  ไม่ใช่ทำงานเพื่อคนพิการ

ตะกี้ยังพิมพ์ไม่เสร็จเลยครับ

     จะบอกว่าที่พัทลุงในตอนนี้ คุณ ก้ามปู  พยาบาลวิชาชีพ ที่มาช่วยงานเป็นผู้ประสานหลักของ ศวพถ. และงานคนพิการของศูนย์ฯ คุณ ก้ามปู และทีมงาน เขาทำได้ดีมากครับ

ขอบพระคุณค่ะ  "ปิติ"จริงๆที่ทราบว่า  พวกเราได้ขยับขยายมาทำงานด้านอื่นๆนอกจากการรักษาพยาบาล  อย่างเดียว  เพราะพี่เชื่อว่า  เราทำได้ค่ะ

การศึกษา  การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต  พี่ดีใจที่ได้ทราบว่าคนพิการที่พัทลุง  มีความปรารถนาจะเรียนต่อ  นั่นคือเขาเปิดใจสู่การพัฒนาศักยภาพด้วยตัวเขาเอง  เป็นเรื่องที่"ปิติ"อย่างยิ่ง

                     งานของพี่เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นงานที่ต้องใช้พลังและจิตใจที่ดีเยี่ยมจริง ๆ ครับ เพราะต้องมีกำลังใจที่พร้อม ผลักดันตัวเองและนักศึกษาให้ไปถึงจุดหมายได้ตลอดเวลา 

           ไม่ทราบรายละเอียดของการศึกษาสำหรับนักศึกษากลุ่มนี้ แต่ก็เข้าใจว่าโดยหลักแล้วต้องพยายามจัดการเรียนสอนให้เหมือนกับกรณีทั่วไปให้มากที่สุดเพื่อให้ผู้พิการสามารถปรับตัวและมีประสบการณ์ที่เหมือนกับผู้คนทั่วไป

           แต่ข้อจำกัดย่อมต้องมี  และผมว่าน่าจะมีระบบที่แยกออกไปในเรื่องการจัดการข้อจำกัดเหล่านั้น  หลักสูตรน่าจะกำหนดมาตรฐานที่แยกออกไปเหล่านั้นได้นะครับ  แต่โดยเนื้อหาสาระแล้วอยู่ในกรอบการเรียนรู้เดียวกัน

           อาจารย์หนิงช่วยลูกศิษย์ได้มากจริง ๆ ครับจากที่อ่านบันทึกของพี่หนิงมาหลาย ๆ ตอน

            ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณค่ะ น้องชายmr. สุมิตรชัย คำเขาแดง ที่เป็นกำลังใจให้เสมอ

พี่หนิงเห็นด้วยแค่บางส่วน(น้อยนิด)กับการแยกนะคะ  เพราะเขาคือสมาชิกของสังคม  อย่างไรเราก็ต้องดำเนินชีวิตในสังคมเดียวกันค่ะ 

เขาต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมเดียวกันกับคนทั่วไป  บนความบกพร่องหรือความพิการที่มีอยู่  ด้วยรัฐบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม

การศึกษาเพื่อเตรียมพร้อม ให้เข้าสู่การศึกษาในระบบเท่านั้นที่ควรจัดให้มีเฉพาะความพิการ  เช่นโรงเรียนโสตฯ โรงเรียนสอนคนตาบอด  ศูนย์พัฒนาเด็กออทิสติค   หรืออื่นๆ

แต่ถ้าการศึกษาในระดับสูงขึ้น  เพื่อนำไปเป็นทุนในการทำงานประกอบอาชีพเลี้ยงตนอย่างสุจริต ลดภาระพึ่งพิงผู้อื่นนั้น ไม่ควรแยกค่ะ  เพราะสุดท้ายเขาก็ต้องแข่งขันกับคนทั่วไป  ต้องฝึกและหมั่นพัฒนาศักยภาพตนเองค่ะ  เอาความสามารถชนะอุปสรรคความพิการ

พี่หนิงจะบอกลูกๆเสมอว่า  เพราะเราพิการ  เราต้องขยันและฝึกฝนตนเองเสมอ  ยกตัวอย่างกับเขาว่า...ถ้าเขาเป็นเจ้าของกิจการ  เขาสัมภาษณ์งาน  มีคนตาบอด และคนตาดี เก่งเท่ากัน  เขาจะเลือกรับใคร  เด็กๆก็ตอบว่า  เลือกตาดี  เพราะตาดีอาจจะใช้งานอื่นๆได้อีก  สะดวกกว่า

นั่นแหละ  ที่พี่หนิงดีใจ  ที่เด็กๆเข้าใจและ คิดได้ค่ะ  เขาก็ไม่ได้อยากให้สถานประกอบการรับเขา  เข้าทำงานเพียงเพราะสงสารว่าเขาพิการ

พี่หนิงจึงบอกเขาต่อว่า...เราต้องสู้  ต้องขยัน  เอาความสามารถชนะอุปสรรคความพิการ   เราต้องก้าวให้ไวกว่าคนทั่วไปอีกก้าว  คนอื่นๆจะได้เห็นเราและเลือกเราเพราะความสามารถของเรา

You are so kind, disability is a special work who need a special person like you. Ning!!

I am vrey appreciated you and your team. 

Sorry I am staying in Dong Ha, Vietnam now, so I have no Thai version of computer.

 Boot 

ซินจ๋าวค่ะพี่บู๊ท

  • ขอบพระคุณค่ะพี่บู๊ท  สำหรับกำลังใจ
  • ไปเวียดนามไม่ชวนกันเลยเนอะ  อิอิ  ดีหละหนิงเลยไปบ้านพ่อครูบา  ไม่ชวนพี่บู๊ทเหมือนกัน  อิอิ 
  • พี่บู๊ทคะ  แต่เมื่อไหร่พี่บู๊ทนัดเจอกับ อ.วัธนา  อย่าลืมชวนหนิง(และน้องเอก)ด้วยนะคะ

กำเอิงค่ะ

สวัสดีคะพี่หนิง

  • ขอบคุณมากคะที่ช่วยต่อยอดให้
  • ใช่ค่ะที่พี่หนิงบอกว่า..

น้องคงจะเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD)

  •  ได้สอบถามกลับไปอีกครั้งเืพื่อค้นหาความต้อง

การที่แท้จริง  คือคุณแม่ของน้องบอกว่า ขอแค่ให้ลูกได้เรียน ไม่เอาเกราก็ได้ น้องจึงได้คุยกับคุณแม่น้องเค้าต่อว่า หากเช่นนั้นคิดว่าปัญหานี้ยังจะอยู่กับเราตลอดหรือเปล่า

หากน้องเค้าเพียงแต่ติดเพื่อนและติดที่เรียน แล้วหากโตขึ้นน้องเค้าจะทำอย่างไร ...  แต่คุณแม่น้องเค้าก็ยังขอแค่ให้ไดเรียนก่อน ..น้องคงต้องเอาบทเรียนจากพี่หนิง ไปคุยกับเจ้าหน้าที่ อบต. เจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด  และคุณแม่ดูอีกครั้งนึง  ขอบคุณคะ

ขอบพระคุณค่ะน้องก้ามปู 

อื้มม...พี่หนิงโชคดีที่ยังไม่เจอปัญหาเช่นนี้  เพราะลูกๆที่เข้ามาสู่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จะมีศักยภาพสูงผ่าฟันอะไรๆมามาก  และเท่าที่พบผู้ปกครองก็เปิดใจเป็นกำลังสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพค่ะ  บางท่านมาคุยด้วยและบอกว่า เคี่ยวให้หนักเลยนะคะครูหนิง  555

แต่เท่าที่เคยได้ยินปัญหาคล้ายๆกันนี้  ตอนที่ไปเรียนการศึกษาพิเศษที่ ม.ราชภัฏมหาสารคามค่ะ

น่าเห็นใจผู้ปกครองน้องเขา  แต่น่าเห็นใจและเข้าใจสถาบันการศึกษาใกล้บ้านค่ะ  เช่นนี้ก็คงหาสถาบันในระดับสูงขึ้นรับเข้าเรียนลำบาก 

อย่างที่เรียนไว้แต่แรกนะคะ  ยิ่งเรียนสูงขึ้นก็ยิ่งต้องเข้มขึ้น   การที่จะให้โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป รับเข้ามาเรียนทำนองแบบขอให้ได้ไปโรงเรียนนั้น  ก็ต้องสอบให้ได้เองค่ะ  และผู้ปกครองอาจจะต้องหาครูเรียนร่วมช่วยโรงเรียนด้วยมังคะ  เพราะพี่หนิงไม่มั่นใจว่า  ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น  มีครูการศึกษาพิเศษประจำอยู่หรือป่าว

อีกอย่างระดับมัธยมการศึกษาตอนปลายก็ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับแล้วด้วย  ถ้าน้องอยากเรียนจริงๆคงต้องพยายามสอบเข้าให้ได้  แสดงความสามารถให้โรงเรียนเห็นนะคะ 

เอ๊ะ...ไม่สนใจด้านฝึกอาชีพหรือคะ  ถ้าไม่สะดวกไปโรงเรียนทั่วไป  ไปเรียนฝึกอาชีพคนพิการไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ  อาจารย์ นมินทร์ (นม.)

ที่แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจ  คนทำงานกับคนพิการค่ะ

  • แวะมาให้กำลังใจด้วยกลอนบทเก่า ๆ ที่เขียนไว้นานและนานมากแล้ว

คุณค่าความเป็นคน

สูงส่งสักแค่ไหน

ต้อยต่ำสักปานใด

ล้วนอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน

...

ขอบพระคุณค่ะหัวหน้าฯ

พี่หนิงชอบนะ ใต้ฟ้าเดียวกัน

และพี่หนิงก็ชอบ...  โลกเราเท่ากัน จะบอกเด็กๆเสมอค่ะว่า  โลกของเราเท่ากัน  แม้โอกาสจะไม่เท่ากันนักแต่เราสามารถพัฒนาศักยภาพและสร้างความทัดเทียมได้ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท