โครงการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ


การให้ความรู้เรื่องการดูแลตัวเองต้องให้ทุกครั้งที่พบผู้ป่วย ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดความรู้ที่ถูกต้องแล้วจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด

        <table border="0"><tr>

 

 คุณส้มเสี้ยว อิ่มเนย

พยาบาลคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลพยุหะคีรี

ผู้เล่าเรื่อง

</tr></table><p> </p>

สืบเนื่องจากการทำกิจกรรมกลุ่มในผู้เป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน ๑๘๐ mg% ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้อำนวยการโรงพยาบาล คิดว่าน่าจะมีการดูแลกลุ่มที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำให้ครอบคลุมมากขึ้น ท่านจึงนำแนวความคิดนี้มาเล่าให้ทีมดูแลผู้เป็นเบาหวานฟัง ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร พยาบาลให้คำปรึกษา พยาบาลผู้ป่วยนอก จึงเกิดแนวทางการดูแลที่เป็นรูปธรรมขึ้น คือเมื่อมีผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Admitted จะซักประวัติเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ และปรึกษาแพทย์แก้ตามสามเหตุ เช่น เบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ได้ จะประเมินในด้านความเครียด ภาวะซึมเศร้า ปัญหาในด้านจิตใจเพิ่มขึ้น และจะให้คำปรึกษา หรือใช้ยาในรายที่จำเป็น หลังจากแก้ปัญหาตามสาเหตุแล้ว จะมีการติดตามผลน้ำตาลในเลือด หลังจากจำหน่ายแล้ว จะส่งทีมเยี่ยมบ้านลงติดตามเพื่อประเมินสภาพแวดล้อมและการดูแลตนเอง และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละรายจนครบ ๑ ปี จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ๓ เดือน ผู้เข้าโครงการทั้งหมด ๗ ราย พบว่าใน ๓ เดือนที่ผ่านมา ยังไม่พบผู้เป็นเบาหวานเข้าโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอีก และจากการติดตามเยี่ยมบ้านพบว่าญาติสามารถบอกถึงวิธีการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นเมื่อมีระดับน้ำตาลเลือดต่ำได้ถูกต้อง จากการดูแลผู้ป่วยในเชิงลึกทำให้พบว่าในการให้ความรู้เรื่องการดูแลตัวเองต้องให้ทุกครั้งที่พบผู้ป่วย ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดความรู้ที่ถูกต้องแล้วจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด และพบว่าการดูแลหรือให้ความรู้ คำแนะนำต่างๆ ควรทำเฉพาะรายจะเกิดประโยชน์และประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะทำให้รู้ปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายที่ได้จากประสบการณ์จริงในครั้งนี้ คือจากการติดตามไปเยี่ยมบ้านมีผู้เป็นเบาหวานรายหนึ่ง เป็นเบาหวานมาประมาณ ๗ ปี รับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลตลอด มาทุกครั้งจะมีการให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองรายกลุ่ม แต่อยู่ที่บ้านผู้ป่วยปรับยาเพิ่มเอง โดยไม่ได้มีการเจาะน้ำตาลในเลือด คือประเมินจากความรู้สึกตัวเองว่าทานยาน้อยไป ทำให้เป็นสาเหตุการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

        ในทางปฏิบัติจริง ระดับโรงพยาบาลชุมชนขนาด ๓๐ เตียง การที่จะให้คำปรึกษาหรือดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนมีความจำกัดในเรื่องเจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการ มีจำนวนน้อยและแต่ละคนมีงานที่รับผิดชอบหลายหน้าที่พร้อมๆ กัน ประกอบกับจำนวนผู้ป่วยในแต่ละวันที่มารับบริการจำนวนมาก แต่ทางทีมการดูแล ได้พยายามทำให้ได้มากที่สุด คือเริ่มจากการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนก่อน คือเริ่มทำในผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และคัดจากผู้ที่มาเข้ากลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า ๑๘๐ mg% ซึ่งผ่านการทำกลุ่มไปแล้วอย่างน้อย ๒ เดือนติดๆ กัน โดยยังเน้นถึงความสมัครใจของผู้ป่วย ส่วนผลการดำเนินงานของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่คัดมาดูแลเป็นรายบุคคล ทางทีมดูแลจะนำมาเล่าให้ฟังในครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 10763เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2005 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จากการดื่มเบียร์หรือ ไวท์ที่มีแอลกอฮอล มากฯ จะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำหรือไม่ เพราะมันมีอาการหนาวสั่น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท