เรียนรู้จากผู้ป่วย....แพทย์รุ่นใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์...ที่ รพ.จุฬาฯ


ว่าที่...หมอในฝัน...แพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ การเรียนรู้จากผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เมื่อสัปดาห์ก่อนด้วยความอนุเคราะห์ของ นพ.พรเลิศ ทำให้ได้มีโอกาสเข้าสังเกตการณ์ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ ที่ รพ.จุฬาฯ ซึ่งนำกรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันร่วมกับอาจารย์แพทย์  ประโยคหนึ่งที่ยังจำได้ดีคือ ว่าที่คุณหมอคนหนึ่งเล่าว่าได้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เป็นผู้สูงอายุ แล้วแกบอกว่า "ทำไมตายยากเหลือเกิน ทำไมไม่ตายเสียที"  ประโยคธรรมดา ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งในหลายมิติที่ "ว่าที่คุณหมอ"ตีความออกมาหลายแง่มุม บางคนว่าเป็นเพราะผู้ป่วยรายนี้อายุมากแล้วและเห็นการเสียขีวิตของคนในครอบครัวมามาก รวมทั้งเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันจนอาจรู้สึกว่าน่าจะถึงเวลาของตนเองเสียที  ไม่ได้รู้สึกเป็นทุกข์กับโรค  ขณะที่คนไข้อยู่เพราะญาติ/ลูกหลานต้องการให้ยื้อชีวิตผู้ป่วยไว้ให้นานที่สุด แพทย์จึงต้องช่วยรักษารักษาชีวิตผู้ป่วย  แต่คำถามคือ "เป็นความต้องการของคนไข้หรือไม่" ..... ในกรณีอย่างนี้....แพทย์จะทำอย่างไร

.....คำตอบจากวงเรียนรู้นี้ คือ แพทย์ควรมีทางเลือกการรักษาที่หลากหลายและดีที่สุด ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย และญาติก็ยอมรับได้ แพทย์จึงต้องฝึกทักษะในการสื่อสาร ซักถามเพื่อให้ได้รายละเอียดรอบด้านของผู้ป่วย ทั้งการซักถามจากตัวผู้ป่วยเอง การซักถามจากญาติใกล้ชิด

หน้าที่ของแพทย์คือรักษาโรคที่เป็นความเจ็บป่วยของคนไข้ และทำให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปอย่างสบายใจ หรือในกรณีผู้ป่วยระยะสุดท้ายเมื่อไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ก็ควรทำให้ผู้ป่วยจากไปอย่างมีความสุข 

 

 

 

   
หมายเลขบันทึก: 107389เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านค่ะ  ตอนนี้ทีมสื่อสาร แผนพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ อยากทำบทความอีกเรื่องหนึ่งในกรณี ของ มอ. คือ ในแง่ที่ว่า  ในการเรียนของนักศึกษาแพทย์คนทั่วไปมักรับรู้ว่าการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับร่างกายและอวัยวะของมนุษย์นั้น นศพ.เรียนกับ "อาจารย์ใหญ่" ซึ่งไม่มีชีวิต แต่การเรียนการสอนที่ให้ นศพ.เรียนรู้จากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ให้แง่มุมที่แตกต่างกันอย่างไร และมีจุดเน้นในเรื่องการมีหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างไร    อาจจะต้องรบกวนขอสัมภาษณ์ คุณหมอสกล และ คุณหมอจารุรินทร์ ในเร็ว ๆ นี้ค่ะ

เรื่องราวอย่างนี้ ต้องช่วยกันทำให้ มีการสื่อในวงกว้าง สิ่งที่แพทย์ ต้องเรียนรู้นอกตำรา เรื่องราว ความหมาย ของคำว่า สุข ทุกข์ของคน  นอกเหนือจาก โรค ความเจ็บป่วย   เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในยุคสมัยนี้ ครับ

จริง ๆแล้ว อาจารย์ใหญ่ ยังมีชีวิตนะครับ  ไม่ใช่เพียงแค่อวัยวะที่นักศึกษาแพทย์ ใช้เพียงศึกษา แต่บนร่างกาย มีความตั้งใจ  ความปรารถนาดี   ความมีหัวใจของความเป็นมนุษย์    ที่นักศึกษาแพทย์ ต้องตอบสนองต่อ ความตั้งใจดีนั้น เมื่อจบเป็นแพทย์แล้ว    ผมได้ศึกษา ร่างกาย อาจารย์ใหญ่เมื่อ 20 ปี ก่อน มาถึงตอนนี้ อาจารย์ใหญ่ของผม ก็ยังมีชีวิตอยู่ ตลอดเวลา  อาจารย์ใหญ่ผม ชื่อ หลวงพ่อ บัญชา อปมโห ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท