สไตล์วิชาเกินแบบบ้านนอก


ถ้านักวิชาการไม่ออกมาสัมผัสกับโจทย์ในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แทนการนั่งกอดทฤษฎีโบราญที่ไปลอกเขามาจนรากงอก การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

มุมที่คิดและมองของชาวบ้าน บางที่ก็ขาดความสมบูรณ์ในแง่ของวิชาการ ครั้นจะบอกกล่าวกันตรงๆก็จะไม่สนุก อย่ากระนั้นเลย ชวนนักวิชาการตัวจริงเสียงจริงมาลงไม้ลงมือเสียเลย..เมื่อวานนี้เราจึงปล่อยให้ดร.แสวง รวยสูงเนิน ลงพื้นที่ไปศึกษา:กรณีทำนาแบบพิสดารของแม่หนูพวน ส่วนผมและคณะยังติดภาระต้องรับหน้าสื่อเป็นวิทยากรให้นักการป่าไม้ระดับชุมชน แต่ใจก็กังวลอยู่เสมอว่าวิชาเกินอย่างเราจะมีโอกาสออกไปตามรอยวิชาการหรือไม่ในวันนี้ ถ้าโอกาสหลุดลอยไป กว่าจะได้โจทย์ได้สมมุติฐานเด็ดๆมันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะการพบปะของจอมยุทธระดับนี้

 

 (อ.แสวง เจ้าเก่า มาเก๋าส์กว่าเดิม ชูประเด็นเด็ดเผ็ดร้อนจนหัวใจระอุ)

นับว่าสวรรค์มีตาจัดสรรเวลาให้เราในช่วงบ่าย คุณสมพิศ ไม้เรียง อาสาเป็นสารถีถอยรถตัวเองมาขน ดร.วรภัทร์ คุณทวีสิน ดร.ขจิต และผมบึ่งไปบ้านเม็กดำ ที่แม่หนูพวนได้จัดการวิชาทำนาภาคพิสดาร ไปถึงเจอคุณยายนั่งอยู่บนแคร่ใต้ร่มไผ่ ทราบภายหลังว่าเป็นคุณแม่ของคนที่เรากำลังไปหา ยายเล่าว่าอาจารย์แสวงมาที่นี่ เพิ่งกลับไป ในขณะที่เราตั้งหลักว่าจะเริ่มตรงไหนดี อาจารย์วรภัทร์เจ้นไปที่คันนา นั่งเบิ่งควายกินต้นข้าวกล้าอย่างมีความสุข นั่งสงบแผ่เมตตาให้แม่พระธรณีกับควายดัวอ้วน

แม่หนูพวนถีบจักรยานมาถึงในจังหวะพอดี จึงชวนกันไปเดินชมบริเวณท้องนา ที่ออกแบบไว้หลายกิจกรรม เช่น มุมปลูกผักบนคันนา บ่อเลี้ยงปลา3-4บ่อ ปล่อยผักกระเฉดน้ำ ต้นโสน และบัวในบึง แม่หนูพวนชวนไปดูที่โน่นที่นี่ จบลงด้วยการสนทนาปัญหาชีวิตบนแคร่ไม้ไผ่ เฟอร์นิเจอร์รับแขกกลางท้องทุ่งแบบง่ายๆ พวกเรารุมซักถามในประเด็นที่ตนเองสนใจ นักวิชาการเกษตรก็จะถามขั้นตอนการทำนา ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ สัดส่วนการลงทุน อาจารย์วรภัทร์แทบจะเผ่นไปขี่ควาย หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นเราก็เดินทางกลับ ก่อนจะถึงมหาชีวาลัยเสียงโทรศัพท์อาจารย์แสวงถามมา เธออยู่ไหน คงแปลกใจไม่นึกว่าเราจะไปเม็กดำ เพราะชวนแล้วก็ไม่มีใครไปด้วย  

หลังจากทุกคนนั่งเก้าอี้ครบถ้วน จึงเปิดประเด็นมุมที่มองในสายตานักวิชาการ สะท้อนเบื้องหลังความคิดที่น่าจะเป็นของแม่หนูพวน พิจารณาถึงสาเหตุและเหตุผลแต่ละข้อ อาจารย์แสวงนั้นเป็นผู้สันทัดกรณีในการมองเบื้องหลังวิธีคิดวิธีทำได้และเอียดหมดจด อาจารย์จึงอธิบายในสิ่งที่น่าจะเป็น พร้อมมีเหตุผลกำกับลำดับขั้นตอน ให้เห็นที่มาของประกายความคิด ของนักสู้ชีวิตที่ใช้ความพยายามประสานความรู้ความกล้า ที่จะทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เราประเมินออกมาได้ว่า คนที่จะเรียนรู้นั้นไม่จำเป็นต้องเอาระดับการศึกษาระดับสูงต่ำมาเป็นเงื่อนไข ขอแต่ใจติดเทอร์โบความกระหายใคร่รู้ ก็จะดิ้นรนไปหาคำตอบได้อย่างพลิกแพลงพิสดาร  

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้านักวิชาการไม่ออกมาสัมผัสกับโจทย์ในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แทนการนั่งกอดทฤษฎีโบราญที่ไปลอกเขามาจนรากงอก การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ ที่คิดว่าทุกวันนี้ประเทศเรายังไม่มีแผนแม่บทที่มีความชัดเจนน่าเชื่อถือและไว้วางใจหลายเรื่อง เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนา การเมือง การคลัง มันกำลังเละเป็นวุ้นอยู่หรือเปล่า จัดประชุมสัมมนากันไปแล้ว สุดท้ายก็วนมาจัดที่หัวข้อเดิม บางหน่วยงานนึกได้ก็อาจจะเลี่ยงการตั้งหัวข้อใหม่ หรือไม่ก็ก๊อปปี้มาทั้งแผง เปลี่ยนเฉพาะหัวข้อก็จัดการฝึกอบรมกันหน้าระรื่น     

หมายเลขบันทึก: 107137เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 06:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะพ่อครูขา

หนิงมานั่งแถวหน้า  ขอเรียนรู้ผ่าน blog นะคะ

แอบไปเจอของฝากจากคุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ มอบให้พี่จุ๋ม

สวัสดีครับ
    ตามอ่านละเอียดละออ แบบ Deep Reading ก็เห็นจังเห็นจริง .. โดนครับ โดน โดน โดน.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท