เทคนิคการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


กำหนดบทเรียนโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การเร้าความสนใจ การทดสอบการประเมิน และการมีปฏิสัมพันธ์ และต้องอาศัยทฤษฎีพื้นฐาน การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละระดับ ดังนั้นจึงต้องกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ คือ กำหนดเนื้อหารายวิชา กำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม รวมทั้งจะต้องออกแบบตัวอักษรให้มีขนาดเหมาะสมกับตัวสื่อ และการสื่อความหมายรวมทั้งจะต้องมีศิลปะในการออกแบบการใช้สีจะต้องเน้นถึงการรับรู้ของผู้เรียนและเร้าใจ เสียงที่ใช้จะต้องสื่อกับผู้เรียนและสอดคล้องกับเนื้อหาการใช้ลักษณะต่าง ๆ จะช่วยเน้นย้ำให้ผู้เรียนเกิดความจำและแยกแยะความสำคัญของเนื้อหาได้

เหตุสำคัญที่นักการศึกษานำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน คือ
1. นำเสนอสิ่งเร้าต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน ได้ เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีเสียงบรรยายเสียงดนตรีและมีสีที่ดึงดูดและเร้าความสนใจรวมทั้งมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้จดจำได้ดี
2. สามารถประเมินผลการตอบสนองของผู้เรียนได้ เช่นการตัดสินคำตอบ การเฉลยคำตอบ สรุปและรวบรวมผลการทำแบบทดสอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรงของผู้เรียนได้ เช่นการชดเชย การให้กำลังใจ การให้รางวัล หรือการให้คะแนน
4. การให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไปได้ เช่น สามารถที่จะเลือกเรียนเนื้อหาลำดับใดก่อนหลัง
5. มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือบทเรียนซึ่งจะให้คำถาม คำตอบ หรือการให้ข้อมูลย้อนกลับรวมทั้งสามารถเลือกและตัดสินใจได้ครับ

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีนั้น
ควรออกแบบให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอน 9 ขั้นตอน ดังนี้
1. การเร้าความสนใจ (Gain Attention) เป็นการสร้างบทเรียนที่เริ่มต้นของกิจกรรมที่เรียน โดยที่ผู้เรียนต้องสนใจเนื้อหาบทเรียนด้วยการสร้างสิ่งเร้าบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยภาพ และเสียง
2. บอกวัตถุประสงค์ Specified Objection ให้ผู้เรียนทราบถึงประเด็นสำคัญของเนี้อหาวัตถุประสงค์ของการเรียนเค้าโครงโดยรวม และวัตถุประสงค์ย่อยและหัวข้อที่สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหา ให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหาในส่วนใหญ่ได้
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) โดยวิธีการประเมินความรู้เดิมของผู้เรียนในรูปแบบตาง ๆ เช่นให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ ให้เนื้อหาโดยสรุปหรือวิธีการซักถามหรือพูดคุย
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) คือการนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องและตรงกับเนื้อหา โดยมีเสียงหรือคำพูดสั้น ๆ เข้าใจได้ง่ายชัดเจนและได้ใจความ
5. กำหนดและชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guided Learning)โดยใช้เทคนิคการกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้โดยเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่
6. กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses) โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ และคิดร่วมกันรวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะในลักษณะสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provided Feedback) โดยการบอกผู้เรียนให้ทราบว่าขณะนี้ผู้เรียนได้ศึกษาส่วนใดอยู่ และบอกลำดับของเนื้อหา
8. ทดสอบความรู้ (Assessment Performance) โดยทดสอบความรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และท้ายสุดของบทเรียนประเมินผลผู้เรียนว่าผ่านเกณฑ์ในระดับใด

หมายเลขบันทึก: 106554เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์..วรรธนชัย ๏(。◕‿◕。)๏ ♫ ♬ ♪ ♩ ♭  

  • ครูอ้อยเคยจัดทำ CAI  และ บทเรียน e-Learning ค่ะ  ตอนนี้เลิกฮิต  แต่ยังทำได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ..ดีจังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท