ปัญหาเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย


ปัญหาด้านการผลิต เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่ำและฐานะยากจน
ปัญหาด้านการผลิตที่พบได้แก่
1) ปัญหาด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ปัญหาด้านี้ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้าน ปัจจัยเพื่อการผลิต เช่น ปัญหาการถือครองกรรมสิทธ์ิที่ดินเนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็น ของตนเอง ซึ่งทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ เกษตรกรต้องแบ่งปันรายได้จากผลผลิตเป็นค่าเช่า ให้แก่เจ้าของที่ดิน และเกษตรกรมักไม่ยอมลงทุนปรับปรุงที่ดิน เนื่องจากถือว่าที่ดินไม่ใช่กรรมสิทธ์ิของตนเอง
2) ปัญหาแหล่งน้ำในการผลิต ประเทศไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมมาก แต่ในสมัยต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องมีการขยายพื้นที่การ เกษตร เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ปริมาณป่าไม้ลดลง และเมื่อป่าไม้มีน้อยทำให้เกิดปัญหา ทางภูมิอากาศ กล่าวคือ เกิดปัญหาปริมาณน้ำฝนลดน้อยลง หรือเกิดภาวะฝนแล้ง ทำให้เกษตรกร ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งปริมาณน้ำที่จะได้จากเขื่อนชลประทาน ก็มีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ซึ่งจะเห็นว่ามีหลายจังหวัดไม่สามารถทำนาปรังได้ หากไทยไม่สามารถ แก้ไขแหล่งน้ำได้ ไม่เพียงแต่ด้านเกษตรกรรมเท่านั้น ยังจะประสบปัญหาด้านการผลิต ประเทศไทยจะประสบ ปัญหาด้านการผลิตต่อเนื่อง แต่ยังรวมถึงด้านอุตสาหกรรมและการบริการ ต่าง ๆ อีกด้วย
3) ปัญหาด้านการปลูกพืชไม่เหมาะสมกับที่ดิน ปัญหานี้พบว่าเกษตรกรในบางพื้นที่ ทำการ เพาะปลูกโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของดิน
4) ปัญหาด้านทุนดำเนินงานในการผลิตของเกษตรกร ปัญหานี้พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาหนี้สิน และการขาดแคลนทุนดำเนินการ การกู้ยืมเงินยังอาศัยแหล่งทุนเอกชน (สินเชื่อนอกระบบ) ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และจัดให้มีแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมอยู่แล้วก็ตาม เช่น ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น
5) ปัญหาด้านวิธีการผลิต ปัญหาด้านการผลิตของเกษตรกรคือ ยังใช้วิธีการเพาะปลูก ไม่ถูกต้อง ทำให้ผลผลิตที่ได้รับไม่สูงเท่าที่ควร
6) ปัญหาด้านคุณภาพของผลิตผลและโรคของสัตว์ ปัญหาด้านนี้พบว่าผลิตผลทาง การเกษตรบางชนิดมีปัญหาด้านคุณภาพซึ่งมีผลมากจากวิธีการผลิต เช่น ถั่วมีเชื้อรา ขณะขนส่งในระยะทาง ไกลๆ อาจเน่าเสียได้ หรืออาจมีปริมาณของสารพิษตกค้าง จากการใช้สารเคมี ผลผลิตจากสัตว์ก็เช่นเดียวกัน อาจมีปัญหาสัตว์เป็นโรค ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของโรคสัตว์บางชนิด เช่น โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อยและ อื่น ๆ
7) ปัญหาการเก็บรักษาผลผลิต ปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาที่พบมากทั้งในด้านความ เสียหาย ซึ่งเกิดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆ และความเสียหายที่เกิดจากการบรรจุหีบห่อขณะขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลไม้ที่ช้ำง่าย เช่น องุ่น กล้วย มะละกอ เป็นต้น
8) ปัญหาด้านการประมง พบว่ามีปัญหาสำคัญ 3 เรื่อง คือ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตน่านน้ำของประเทศอันเกิดจากการจับ สัตว์น้ำมากเกินไป ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงมาก โดยเฉพาะน่านน้ำบริเวณชายฝั่ง และอ่าวไทย
- การประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การประกาศเขต เศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zones) เพื่อห้ามการจับปลาและการแสวงหาทรัพยากรใต้ทะเล เป็นต้น
- การขึ้นราคาน้ำมัน
9) ปัญหาด้านการเหมืองแร่ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจแหล่งแร่ยังไม่สมบูรณ์วิธีการ ผลิตยังไม่มีประสิทธิภาพ การขัดแย้งระหว่างการทำเหมือนแร่กับผลประโยชน์ฝ่ายอื่น เป็นต้น
10) ปัญหาด้านอุตสาหกรรม เช่น คุณภาพของสินค้ายังไม่สามารถแข่งขันในตลาดต่าง ประเทศได้ นอกจากนี้ยังขาดอุตสาหกรรมพื้นฐาน รวมทั้งอุตสาหกรรมยังไม่ขยายตัวสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง
11) ปัญหาด้านการป่าไม้
ปัจจุบันการตัดไม้ทำลายป่ายังคงเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียป่าไม้ เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่ประเทศควรมีเนื้อที่ป่าไม้ และปัญหาที่ตามมาก็คือ เกิดปัญหา น้ำท่วมใน หลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่าง ปี 2544-2545 ได้แก่ บ้านน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และหลายอำเภอในจังหวัดสุโขทัย เป็นต้น โดยปัญหาน้ำท่วมนี้ได้ ทำลายพื้นที่การเกษตรเสียหายมาก และขณะนี้ป่าไม้ที่มีค่าเชิงเศรษฐกิจ ก็ถูกลักลอบตัดจนเหลือน้อยมาก แม้กระทั่งป่าอนุรักษ์ก็เหลือน้อยด้วยเช่นกันจากสภาพของป่าไม้ที่ถูกทำลาย ทั้งที่ถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์ และธรรมชาตินั้น รัฐบาล


ทุกสมัยก็พยายามที่จะหาทางแก้ไข ดังนี้
ป่าอนุรักษ์ ป่าอนุรักษ์ คือสภาพป่าธรรมชาติที่ยังคงสภาพความเป็นป่าโดยสมบูรณ์ อยู่มากที่ควรอนุรักษ์ไว้โดยรฐบาลก็ได้กำหนดนโยบายในการเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้สูงขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 25 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด
ป่าเศรษฐกิจ ป่าเศรษฐกิจ คือ สภาพป่าที่ปลูกขึ้นเพื่อดำเนินการเพื่อเอื้อ ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ เป็นการทดแทนป่าไม้ธรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากการประมูลของธุรกิจ โดยรัฐบาลจะนำ เอาสภาพป่าที่เสื่อมโทรมหรือหมดสภาพแล้วมาให้ประมูล
ป่าชุมชน ป่าชุมชน คือป่าที่รัฐสนับสนุนให้ครัวเรือนหรือประชาชน ทั่วไปปลูกขึ้น เพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือบริโภคในครอบครัวหรือชุมชน


ปัญหาด้านการตลาดและราคา
ส่วนใหญ่ปัญหาปริมาณผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน รวมทั้งคุณภาพของผลผลิตก็ไม่ได้ มาตรฐาน จึงทำให้ถูกกดราคา และเกษตรกรไม่สามารถต่อรองราคาได้


ปัญหาความเสื่อมโทรมแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหาความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งลักษณะของปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ปัญหาน้ำเสียตามแหล่งธรรมชาติ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและ แม่น้ำบางปะกง เพราะแม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านในบริเวณที่มีโรงงานและชุมชนตั้งอยู่ค่อนข้างหนาแน่น นอกจากนี้ ยังมีปัญหา การเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ และปัญหาการเสื่อมโทรม ของทรัพยากรธรณี เช่น แร่และพลังงาน เป็นต้น


ปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ
คุณภาพชีวิต หมายถึง มาตรฐานการดำรงชีวิตอันเหมาะสมของประชากรในสังคม ซึ่งพบว่า คุณภาพชีวิตของคนไทยยังอยู่ในระดับล้าหลัง ตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)


ปัญหาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เนื่องจากประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ในลักษณะที่ค่อนข้างมาทางเสรีนิยม ทำให้การค้าค่อนข้างเปิดกว้าง การติดต่อการค้ากับต่างประเทศจึงมีมากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ปัญหาด้านการค้าที่เกิดขึ้นตามมาคือ การขาดดุลการค้า เสียเปรียบทางการค้ากับต่างประเทศ



ความเห็น (3)

นอกจากนี้ผมยังอยากทราบวิธีการี่จะแก้ปัญหาให้แก่เกษตกรด้วยอ่ะครับ ช่วยลงให้ผมที

จะเอาไปทำรายงานส่งอาจารย์เขาอ่ะ ไวไวหน่อยนะครับรีบ(ขอบคุณครับ)

เข้าใจง่ายเรียบเรียงได้ดี และมองได้ทะลุปรุโปร่ง. สุดยอดครับอาจารย์

เงี่ยน อยู่กทม.


0659874529

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท