แง่มุมหนึ่งของนักมานุษยวิทยาในเวทีพัฒนาสื่อเพื่อเด็กกลุ่มชาติพันธุ์


ในทางมานุษยวิทยา เรามักสนใจเรื่องที่ไม่เป็นทางการนะครับ โดยเฉพาะเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ผู้คนมองว่า “ธรรมดาๆ” นี่แหละ ว่ามันมี “รหัสความคิด” อะไรซ่อนอยู่ หากมองในแง่มุมสื่อ รูปแบบการสร้างสรรค์-แพร่กระจาย-บริโภคสื่อและข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นทางการ เป็นรูปแบบที่มีคนสนใจศึกษาน้อยมาก ทั้งๆที่เป็นรูปแบบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ อันนี้ทางมานุษยวิทยาน่าจะไปช่วยเติมเต็มได้

ศูนย์จัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เชิญผมไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และระดมความเห็นในหัวข้อ ทิศทางการพัฒนาสื่อเพื่อเด็กเยาวชนกลุ่มพิเศษเมื่อ 22 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้สื่อเพื่อเด็ก โดยการสนับสนุนจากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)   

 

เด็กเยาวชนกลุ่มพิเศษที่ว่านี้ ได้แก่ กลุ่มเด็กพิการ กลุ่มเด็กชาติพันธุ์ กลุ่มแรงงานเด็ก กลุ่มแรงงานข้ามชาติ กลุ่มเด็กเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีนักวิชาการด้านสื่อ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสื่อเด็ก รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบกลุ่มเด็กเหล่านี้ เข้ามาร่วมประชุมกันเป็นจำนวนมาก และมีนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์จากจุฬา เข้ามาร่วมสังเกตการณ์อีก จนห้องประชุมเล็กๆ ต้องใช้เก้าอี้เสริมเต็มห้อง   

 

ผมเองก็ยังถือว่าเป็น มือใหม่สำหรับวงการนี้ แถมจะว่าไปก็ยังเยาว์วัยนักเมื่อเทียบกับคณาจารย์แต่ละท่านที่ผาดโผนอยู่ในยุทธจักรและมานั่งกันอยู่ในห้องประชุมนี้ แต่เอาเถอะ ไหนๆก็อุตสาห์มาร่วมกับเขาแล้ว เดินทางห่างลูกน้อยเมียสาว นั่งรถทางยาวอ่อนเพลียมาตั้งไกล น่าจะได้เสนอความเห็นอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการนี้บ้าง ส่วนที่ประชุมจะรับหรือเปล่านั้น ก็สุดแล้วแต่  

เข้าไปห้องประชุม ผมก็ค่อนข้างตื่นตาตื่นใจ เพราะไม่ค่อยคุ้นหน้าใครเลย คงเป็นเพราะผมเป็นคนนอกวงการสื่อมาตลอด แต่วันนี้  โชคชะตาพัดพามาให้มาจับงานด้านนี้ ก็ต้องฝากเนื้อฝากตัวเอาไว้   

ผมคิดว่ากรอบคิดหลักของทางผู้จัด มองเห็นจุดอ่อนของการพัฒนาสื่อสารมวลชนกระแสหลักบ้านเรา ที่ไม่เพียงมัวเมาอยู่ในวัตถุนิยมและการทำให้วัฒนธรรม-อัตลักษณ์กลายเป็นสินค้า (commoditization) แต่ยังขาดข้อมูลที่มาจากคนทำงานวิจัย คนทำงานพัฒนาที่อยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มเด็ก พิเศษเหล่านี้

วันนี้ เราจึงได้เห็นคนหลากหลายระดับที่ทำงานโดยมีกลุ่มเด็กเป้าหมายร่วมกัน มาระดมความคิดเห็นอย่างน่าชื่นใจ อาทิ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) , มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์, มูลนิธิกระจกเงา, มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชนชนบท, มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน, มูลนิธิเพื่อชีวิตไทย, ชมรมผู้บริโภคสื่อสีขาว, มูลนิธิผู้หญิง, อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ (สท.)   

 

ส่วนตัวผม ก็มาในฐานะผู้นำสโมสรเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน (สยชช.) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เพิ่งก่อตั้งได้ปีเศษๆ และในฐานะนักมานุษยวิทยาไร้สังกัดที่ทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับทุนดำเนินโครงการด้านสื่อเด็กจาก แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)  กลุ่มงานชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม มช. และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมพยายามนึกวิเคราะห์เวทีที่ผ่านมานี้ ภาพรวมเท่าที่ดูแนวทางที่โครงการต้องการจะมาจากหลักคิดสาขานิเทศศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ โดยโครงการพยายามแตกยอดออกจาก นิเทศศาสตร์กระแสหลัก ซึ่งมุ่งสร้างสื่อแบบ mass production แต่หันกลับมาสนใจกลุ่มเด็กที่มีรสนิยมการบริโภคสื่อที่หลากหลาย มีบริบททางสังคมวัฒนธรรมเฉพาะ และใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนให้พวกเขาเหล่านี้ มีพื้นที่ทางสังคม มีอำนาจต่อรองกับ ความไม่เท่าเทียม กันในการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสทางสังคมมากขึ้น ตรงนี้มีความชัดเจน และเป็นแก่นที่ทุกคนเข้าใจได้ไม่ยาก</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สิ่งที่เราค้นพบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็คือ ปัญหาและสถานการณ์เด็กมีความซับซ้อน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกลุ่มเด็กเองก็มีการซ้อนทับ สลับสับเปลี่ยนกลุ่มได้เรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้เองกระมัง ที่เป็นเงื่อนไขให้ นักวิชาการด้านสื่อก็ดี ด้านเด็กก็ดี รวมทั้งองค์กรเด็กที่มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นไม่สามารถทำงานโดดเดี่ยวได้ แต่ต้องเชื่อมกันเป็นเครือข่าย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อันว่าเครือข่ายนี้เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นเรื่องที่ดี และผมก็อยากให้มีการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายอย่างนี้มากๆ โดยเฉพาะในลักษณะทีมสหวิชาชีพ ที่พยายามลดช่องว่างในการเรียนรู้ โดยไม่ยึดว่าใคร ใหญ่กว่าใคร หรืออาจจะเรียกอย่างหนึ่งว่า เป็น ประชาคมวิชาการ ด้านการพัฒนาสื่อเด็ก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>  </p><p>แต่สิ่งสำคัญมากที่ผมอยากจะเน้นย้ำ นอกเหนือที่แลกเปลี่ยนกันในเวทีวันนั้นแล้ว มีอยู่อีกสองเรื่องครับ คือ   </p><p>1.เรื่องความทันสมัย (up-to-date) ของข้อมูล อันนี้ทีมงานจำเป็นต้องสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นในรูปการประชุม หรือมีสื่ออะไรถึงกันในเครือข่าย เพื่อแจ้งความเคลื่อนไหวในพื้นที่ โดยเฉพาะข้อมูลที่ถูกส่งผ่านจากระดับฐานล่างหรือรากหญ้า  ผมยกตัวอย่างสถานการณ์การรับสื่อของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ ว่าท่านรู้หรือไม่ว่า ตอนนี้บนดอย แทบทุกหมู่บ้าน มีจานดาวเทียมกันหมดแล้ว ข่าวสารข้ามโลกเสริฟตรงจากอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ทะลุทะลวงไปหมด ทีวีไทยอาจมีค่าแค่ละครและข่าวเท่านั้น ละครไม่สนุกก็ดูวีซีดีก็ได้  </p><p>พูดถึงวีซีดี แต่ก่อนผมเคยดีใจว่าเมืองแม่ฮ่องสอนนี่ เป็นจังหวัดเดียวกระมังที่ไม่มีโรงภาพยนตร์ มาบัดนี้ กลายเป็นว่า ทุกบ้านกลายเป็นโรงภาพยนตร์กันไปแล้ว คือเป็นโฮมเทียเตอร์กันเลย ที่น่าหนักใจคือ เด็กชาวเขาชั้นประถมที่นี่ก็ดูหนังโป๊กันแล้ว ดูแล้วก็เอาไปลองทำกัน หนักหน่อยก็ร่วมกันเป็นทีม (Group Sex)แล้วเด็กเอาจากไหน ก็เอามาจากพี่ๆที่ไปรับจ้างขายวีซีดีที่สีลม ถามว่าทำไมต้องไปขายวีซีดี ทำอย่างอื่นไม่ได้เหรอ จะทำได้อย่างไร ที่ดินถูกป่าไม้ห้ามทำกิน ระบบนิเวศทรุดโทรม ต้องส่งลูกหลายคนเข้าเรียน หนี้สินท่วมหัว สารพัดปัญหาทั้งที่เรื้อรัง และปัญหาใหม่ๆมารุมเร้า ทั้งในเรื่องความรุนแรงในหมู่วัยรุ่น และยาเสพติด เหล่านี้ขยายตัวขึ้นมากต่อมาก แต่ผู้คนทั่วไปก็ยัง หลับไหล กับข่าวสารเหล่านี้  </p><p>หรืออย่างความเชื่อว่า เพราะความยากจน ชาวเขาถึงต้องมาทำงานในเมือง ปัจจุบันก็ไม่จริงแล้ว เพราะตอนนี้ ไม่ว่าชาวเขารวยหรือจน ก็ลงมาในเมืองกันทั้งนั้น ถ้าเก็บเงินพอมีฐานะก็จะซื้อบ้านอยู่ในเมือง บางกลุ่มซื้อบ้านอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนใหม่เลย ในขณะที่บนดอยกลับมีคนพื้นราบและชาวต่างชาติหันไปจับจองที่ดินมากขึ้น  การตัดสินใจในการเลือกรับสื่อ พฤติกรรมการรับสื่อและได้รับอิทธิพลจากสื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางความเชื่อจารีตประเพณี และบริบทในการเข้าถึงทรัพยากรเป็นสำคัญ  เช่น สังคมลีซูจะมีข้อห้ามว่าเด็กผู้หญิงควรจะดูอะไร ไม่ควรดูอะไร โดยเฉพาะในเรื่องทางเพศ (sexuality) ถือเป็นเรื่องสกปรก ผิดบาป แต่พออยู่ในเมือง  ผู้หญิงลีซู กลับกลายเป็นกลุ่มที่ทำงานในภาคขายบริการทางเพศเป็นจำนวนมาก   </p><p>นอกจากนี้ ยังมีมิติการต่อรองตอบโต้หรือสร้างพื้นที่สื่อทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ  และไม่เป็นทางการในชีวิตประจำวัน อันสะท้อนศักยภาพของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีนัยยะของการสร้างสรรค์และไม่ได้ยอมจำนนหรือตกเป็น ผู้ถูกกระทำเสมอไป หลากหลายไปตามแต่กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีบริบททางสังคมวัฒนธรรมและต้นทุนทางสังคมที่ต่างกันออกไป เช่น บางกลุ่มอาจจะเลือกผลิต/บริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านความสัมพันธ์ในแนวระนาบ เช่น เพื่อนฝูง แต่บางกลุ่มเชื่อถือข้อมูลจากความสัมพันธ์ในแนวตั้งมากกว่า เช่น จากพ่อแม่ ผู้อาวุโส สิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งถ้าจะมองในแบบความสัมพันธ์โรแมนติกก็จะไม่เห็นอะไร หากหันมามองในมิติของความสัมพันธ์เชิงอำนาจก็จะพบเงื่อนไขที่มากำกับชัดขึ้น  </p><p> </p><p>ในทางมานุษยวิทยา เรามักสนใจเรื่องที่ไม่เป็นทางการนะครับ โดยเฉพาะเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ผู้คนมองว่า ธรรมดาๆนี่แหละ ว่ามันมี รหัสความคิดอะไรซ่อนอยู่ หากมองในแง่มุมสื่อ รูปแบบการสร้างสรรค์-แพร่กระจาย-บริโภคสื่อและข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นทางการ เป็นรูปแบบที่มีคนสนใจศึกษาน้อยมาก ทั้งๆที่เป็นรูปแบบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ อันนี้ทางมานุษยวิทยาน่าจะไปช่วยเติมเต็มได้  </p><p> </p><p>2. การเพิ่ม มันสมอง และขยายพรมแดนให้กับงานเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ลำพังมันสมองของนักมานุษยวิทยาอิสระตัวเล็กๆอย่างผมคนเดียว ร่วมกับเอ็นจีโอที่ทำงานด้านนี้อีกสองสามองค์กร ผมว่ายังคับแคบอยู่นะครับ และพวกเราแต่ละคนก็ยังมีอคติ  หรือ “bias” ที่เจ้าตัวเองก็อาจจะยังมองไม่เห็นอยู่ ไม่มาก ก็น้อย   </p><p> </p><p>การจะเข้าใจพฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มเด็กชาติพันธุ์ได้ จะอาศัยแต่ประสบการณ์อย่างเดียวไม่พอ หากแต่ต้องเข้าใจ จักรวาลวิทยา” (cosmology) หรือวิธีคิดต่างๆ วิธีเข้าใจโลก หรือโลกทัศน์ที่มีเอกลักษณ์ประจำกลุ่มชาติพันธุ์อันเป็นผลมาจากการหล่อหลอมทางสังคมอย่างยาวนานของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ด้วย ซึ่งตัวผมเองก็ยัง อ่อนหัดนัก น่าจะได้เชิญนักชาติพันธุ์วรรณา (ethnographer) หรือนักวิจัยชาวเขารุ่นอาวุโส มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันด้วย (ผมเองยังคงแวะไปคุยกับบางท่านเหล่านี้อยู่เนืองๆ อาจจะช่วยแนะนำให้ได้)  อีกด้านหนึ่ง ข้อมูลเรื่องเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับบริบทในประเทศเป็นส่วนมาก ถ้ามีโอกาสได้เชื่อมโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่แวดล้อมในประเทศเพื่อนบ้าน หรือในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หูตาของเราก็จะกว้าง และได้สหายเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย เพราะประเด็นชาติพันธุ์ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ มัน “Shifting Boundaries”  ไปแล้ว  </p><p></p><p> โดยสรุป ผลลัพธ์ของชุดองค์ความรู้นี้เป็นเรื่องใหญ่ และกำลังจะพลิกโฉมหน้าวงการสื่อสารมวลชนไทย จะเคลื่อนหรือออกแบบชุดองค์ความรู้ไปในแนวไหน คงต้องมองสถานการณ์ในพื้นที่ให้ถ่องแท้ ซึ่งลำพังการประชุมไม่กี่ชั่วโมงและประเด็นก็มีมากมายนี้ได้แต่แตะข้อมูลผิวๆ จำเป็นครับที่ต้องมีการรวบรวมข้อมูลให้รอบด้านและลงลึกกว่านี้ แต่ผมเชื่อมั่นว่าไม่เกินความสามารถของคณะทำงานชุดนี้ครับ   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ท้ายสุด ผมรู้สึกดีใจที่วงการสื่อ ได้เปิดรับนักวิจัยข้ามสาขาหน้าใหม่ ที่ โนเนมกับงานนิเทศศาสตร์เช่นนี้ เข้าไปร่วมแชร์ไอเดียด้วย ซึ่งถ้าผมเอาแต่ทำงานอยู่ภาคสนาม ไม่ได้เข้าประชุมแลกเปลี่ยนอะไรกับเขา ความคิดก็จะตกอยู่ในกับดักแห่งอารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ส่วนตัว จึงต้องขอขอบคุณทางผู้จัดที่เปิดโอกาสมา ณ โอกาสนี้ครับ</p> 

หมายเลขบันทึก: 106295เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ยินดีด้วยครับ

เสียดายที่ผมไม่มีโอกาสไป จะได้นำเสนอในเยาวชน ๒ กลุ่มชาติพันธุ์ คือ "จีนยูนนาน" และ "ลีซู" ที่ผมคุ้นชิน

ร่วมด้วยช่วยกันครับ มีอะไรแจ้งผมมาได้เลยครับ

 

สวัสดีครับเอก

  • การประชุมครั้งที่ผ่านมา ผมก็เป็น "เด็กใหม่" ครับ และเผอิญว่าทีมงานของศูนย์ ที่ มสธ. ก็ยังใหม่ เกิดการประสานงานไม่ทั่วถึง ก็เลยพลาดโอกาสที่จะได้เชิญเอกไป ทั้งๆที่ผู้จัดเองก็จองห้องเอาไว้ให้เอกแล้ว
  • ประชุมครั้งนี้ ผมเองก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องนำเสนออะไร เพราะดูเหมือนทางผู้จัดจะเตรียมคนนำไว้แล้ว ในฐานะคนทำงานด้านชาติพันธุ์และใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ผมก็เลยเอา "มวยวัด" ไปเสริมเวที เผื่อจะชัดในสถานการณ์เชิงพื้นที่มากขึ้น ถ้าเอกไปอาจจะหงุดหงิดก็ได้ เพราะการประชุมยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร
  • อย่างไรก็ตาม หากทางส่วนกลางเขาสนใจ "นักวิชาการชายขอบ" อย่างเรา ก็อาจจะได้ไปคุยกันอีกเร็วๆนี้
  • แต่ไม่ว่าส่วนกลางจะเดินเรื่องสื่อเด็กกลุ่มชาติพันธุ์หรือไม่ อย่างไร เราก็ต้องเดินต่อไป เพราะนี่เป็น "บ้าน" ที่เราผูกพันครับ

สวัสดีครับ

  • เป็นมุมหนึ่งที่ดี  มีความรู้เพิ่ม  ต้องช่วยเติมเสริมแต่ง  สรรแบ่งกำลังใจให้แก่กันและกัน
  • "โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน"
  • ขอบคุณครับที่นำความรู้มาให้

ขอบคุณที่มาร่วมงานที่ทางเราจัดขึ้น และได้แสดงความคิดเห็นออกมาด้วยนะครับ เดี๋ยวทางเราจะเอาข้อมูลส่วนนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานด้วยครับ แล้วก็ขออนุญาต ทำลิงค์จากหน้าเว็บ www.ccdkm.org มาที่หน้านี้ด้วยนะครับ

ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา : CCDKM

  • เกือนหนึ่งปีผ่านไป ผมแวะกลับมาดูบันทึกนี่อีกครั้ง เอ้อ แฮะ มีคนเข้ามาโพสต์โดยผมยังไม่ได้ตอบ ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ
  • โดยเฉพาะทาง CCDKM ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน ทางผมก็ดีใจมากครับที่ตามมาอ่าน นับว่าเป็นโชคดีของผมที่สุโขทัยธรรมาธิราชหยิบยื่นโอกาสนี้ให้
  • ในส่วนของบันทึกนี้ ยินดีมอบเป็นประโยชน์แก้ทุกท่าน นำไปใช้ได้ครับ
  • ยินดีที่ได้รู้จักกับเว็บของ CCDKM น่าสนใจมาก
  • งานสื่อในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่หนุนเสริมโดย สสย. ปีนี้ 2551 มีทิศทางขยับเป็นรูปธรรมชัดขึ้นครับ ผมเป็นทีมกลๆไกภาคช่วยเขาดูแลยุทธศาสตร์อยู่ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมอีกสิบกว่าองค์กรครับ Please see www.childmedia-n.net
  • หวังว่าจะได้มีโอกาสรับใช้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท