ค่าบาทแข็ง 15% รอบ 1 ปี ฉุดส่งออกแข่งได้น้อยลง


สศอ. สรุปผล 1 ปีที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่ากว่า 15% ฉุดความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกลดลง นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รอง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวในงานสัมมนา ค่าเงินบาทกับการปรับตัว ของอุตสาหกรรมไทย : แนวโน้มและผลกระทบว่า จากการวิเคราะห์ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นช่วงต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบัน มีการปรับค่าแข็งขึ้น 15.5%  ผลดังกล่าวทำให้ขีดความสามารถ   การแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลง ในตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรป และสหรัฐ เนื่องจากสินค้าไทยราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง  สถานการณ์ในขณะนี้ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพื่อส่งออก ได้แก่ สินค้าเกษตรแปรรูปทั้งสัตว์น้ำ ผักและผลไม้ สินค้าแฟชั่น และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านเรือน ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าได้ประโยชน์ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมัน และอุตสาหกรรมเหล็ก ความผันผวนของค่าเงินบาททุก 1% จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) รวม และผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม (จีดีพีอุตสาหกรรม) ประมาณ 0.1% และ 0.09% ตามลำดับ นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้นทุนหลักในเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานของไทยยังสูงกว่าเมื่อเทียบกับจีน อินเดีย และเวียดนาม  แต่ต่ำกว่าประเทศเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์  ขณะที่ผลิตภาพแรงงานไทยยังสูงกว่าจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย แต่ต่ำกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ในด้านมูลค่าเพิ่มสินค้าและมูลค่าการผลิต ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 12  สูงกว่าตุรกี จีน เวียดนาม และศรีลังกา เอกชนควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิต โพสต์ทูเดย์  22  มิ.ย.  50
คำสำคัญ (Tags): #ค่าเงินบาท
หมายเลขบันทึก: 105476เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท