ถึงอยู่ไกลแต่ใจก็รักงานประจำ


หลังจากได้อ่านการเปิดตัวของโครงการ patho- OTOP 3 แล้วไม่ทราบตอนนี้มีกี่โครงการแล้ว แต่ได้ข่าวมาว่ามีไม่น้อยกว่า 10 โครงการ ผมและทีม(ห้องเค็ม)กะจะส่งซัก 2 โครงการ แต่กลัวทำไม่ทัน เลยส่งซัก 1 โครงการก่อน คือ

ชิ่อโครงการ การเปรียบเทียบผลการตรวจ BUN ,Creatinine ระหว่างซีรัมกับ พลาสม่า(NAFและ EDTA )

วิธีการทำ คือ นำซีรัมที่ทราบค่า BUNและ Creatinine แล้ว และพลาสมา(NAF blood) ของผู้ป่วยในหน่วยเคมีและ(EDTA blood)หน่วยโลหิตวิทยา แล้ว ในรายเดียวกัน มาเปรียบเทียบผลการตรวจว่า สามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ เพราะในแต่ละวันมีการโทรขอเพิ่ม lab BUN ,Creatinine แต่คนไข้บางรายไม่ได้เจาะ clotted blood มา แต่เจาะ EDTA หรือ NAF ทำให้ต้องเจาะเลือดคนไข้ใหม่

และอีกโครงการถ้าทำทัน คือ

ชิ่อโครงการ การเปรียบเทียบผลการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ตรวจหา Electrolye(Na+,K+,CL,CO2)ในซีรัมที่ปั่นแยกทันทีกับ ซีรัมที่ไม่ได้ปั่นแยก

วิธีการทำ

  1. นำซีรัมที่ทราบผลการตรวจ Electrolyte แล้ว มาเก็บไว้ที่เวลาต่างๆ(1,2,3,4,5,6 ชั่วโมงเป็นต้น)นำมาตรวจอีกตามเวลาที่ set ไว้ แล้วเปรียบเทียบผลกับครั้งแรก
  2. นำซีรัมที่ไม่ได้ปั่นแยกมาตรวจหา Electrolyte เปรียบเทียบเหมือนกันกับข้อที่1

       การทำเรื่องนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับเรื่องแรก คือ การเพิ่ม lab electrolyte แต่มีปัญหาว่าถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้ค่าไม่ดี (โจทย์วิจัยของผมครับ) ผมเลยจะตอบโจทย์นี้ดูว่าจะตอบได้หรือเปล่า ต้องลองครับ   

   คิดไว้ 2 เรื่องครับ ถ้าทำได้ก็จะทำให้ไม่ต้องเจาะคนไข้ซ้ำอีก ครับ แต่ถ้าใช้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ครับ คิดเสียว่าได้ประสบการณ์ครับ

หมายเลขบันทึก: 105433เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นี่ถือว่าเป็นการสมัครเลยนะคะนายดำ  เอาทั้งสองโครงการนั่นแหละ หาผู้ร่วมโครงการช่วยกันทำ ไม่น่าจะมีปัญหานะ 

ตอนนี้มีโครงการเกิน 10 โครงการแล้วค่ะ น่าจะอยู่ที่ 15-18 โครงการ เกือบจะเป็น R2R ล้วนๆ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท