วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร จังหวัดชุมพร


วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร

วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกัน จัดเวทีวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร ขึ้นที่ กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนหมู่ที่ 4 ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองชุมพร โดยในช่วงเช้า ได้ใช้ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัด ปรึกษาหารือทีมงานก่อนออกไปดำเนินการจัดเวที ประกอบด้วย คุณวันทนา บัวทรัพย์ จาก กรมส่งเสริมการเกษตร คุณประถม มุสิกรักษ์ จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 สงขลา และทีมของสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร รวมถึง พี่สัมพันธ์ ภู่กาม จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชุมพร ได้เตรียมการในเรื่องคุณอำนวย และประเด็นปรึกษาหารือกับกลุ่ม รวมถึงรูปแบบในการจัดเวที </p><p>            </p><p>    ช่วงบ่ายเข้าพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลถ้ำสิงห์ เข้าไปพบกับกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน ซึ่งได้นัดสมาชิกกลุ่มไว้ โดยมาพบกันที่บ้านของคุณนรินทร์ เกตุพิมล ทีมงานได้เข้าไปชี้แจงวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ จากนั้นก็ได้แบ่งกลุ่มสมาชิกออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนตามประเด็นที่ได้รับมอบหมาย โดยมีทีมงานเป็นคุณอำนวย เมื่อดำเนินงานในกลุ่มของตนเองเสร็จ ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่นจนครบ แล้วมีการสรุปเป็นภาพรวมของกลุ่มใหญ่ในแต่ละประเด็น พบว่า </p><p>        </p><p></p><p>      กลุ่มที่ 1วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิต การจัดการผลผลิต             </p><p>ผู้มีส่วนได้เสีย                       </p><ul>

  • ร้านค้าเคมี เครดิต แนะนำ                       
  •  ธนาคารหมู่บ้าน/ธกส.กองทุนหมู่บ้าน
  • คนงาน+จัดทำดูแลตัดแต่งผลนายทุน
  • พ่อค้า เรื่องราคา
  • เพื่อนบ้านช่วยสืบราคา
  • จนท.ช่วยแนะนำด้านการผลิต
  • </ul><p>ช่องทางการตลาดทุเรียนของกลุ่ม</p><ul>

  • วิธีการขาย ขายเหมา /นับลูกเหมา/ขายกก./ตัดไปขายเอง
  • ช่วงเวลาที่ขายได้ราคาดี เดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี     
  • </ul><p>สิ่งที่ควรปฏิบัติของเกษตรกร</p><ul>

  • จดบันทึก นับตั้งแต่วันดอกบาน-หรือตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง บำรุงต้น
  • ต้องประมาณการเรื่องผลที่จะได้รับและผลเสียที่จะตามมาเรื่องตัดดอก/ผล
  • ดูแลให้สมบูรณ์ตั้งแต่ดอก-ผล
  • ใส่ปุ๋ยบำรุงรักษาและดูแลฟื้นฟูต้นที่ไม่ให้ผล เพื่อปีต่อไป           
  • </ul><p>กลุ่มที่2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม พื้นที่ ดิน น้ำ ภูมิอากาศ                        </p><p>1.พื้นที่ดิน สภาพทั่วไป ราบเชิงเขา ดินแดงเก็บน้ำดีระบายน้ำดี  ปัญหา (1) มีผลต่อแหล่งน้ำ (2) ปัจจุบันดินเป็นกรดทำให้ทุเรียนเกิดโรครากเน่าโคนเน่า เกิดการใช้สารเคมีมาก การแก้ไขปัญหา (1) เจาะบ่อบาดาล (2) ปลูกพืชแซมหลายชนิด (3) ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพไว้หญ้าคลุมดิน ตัดหญ้า (4) สำรวจดิน ใส่โดโลไมท์ (5) ลดการใช้สารเคมี                        </p><p>2.น้ำ  สภาพทั่วไป ใช้น้ำบาดาล บ่อน้ำตื้น น้ำฝน ปัญหา -ลงทุนสูง(ที่พักน้ำ) ไฟฟ้า ไฟตก ค่าไฟแพง น้ำมันแพง ฝนทิ้งช่วง การแก้ไขปัญหา -อบต.ทำโครงการขยายไฟฟ้า 3 เฟส พร้อมเพิ่มหม้อแปลง                        </p><p>3.อากาศ สภาพทั่วไป ร้อนจัด ระบบนิเวศผิดไป ฤดูเปลี่ยนไป ปัญหา  (1) กรณีเกิดพายุ ทำให้เกิดการหักโค่น ผลผลิตเสียหาย อากาศร้อนจัดนานทุเรียนตาย (2) ไม่ออกดอก ออกไม่ติด (3)ต้นทุเรียนอ่อนแอ ขาดน้ำ </p><p>กลุ่มที่ 3  ขั้นตอนการผลิตทุเรียน ตั้งแต่การผลิตถึงผู้ซื้อ</p><ul>

  • สภาพพื้นที่ ดินดี
  • ฟื้นฟูสภาพต้น   (1) ตัดแต่งกิ่ง  (2)ใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นทางใบ 15-15-15 ใส่ปุ๋ยคอกช่วย (3) รดน้ำ ปราบวัชพืช ควรตัดหญ้า (4) เร่งให้แตกใบอ่อน ดูแลให้สมบูรณ์ แต่งกิ่งแขนงตามกิ่ง
  • เตรียมต้นสะสมอาหารก่อนออกดอก  (1) ใส่ปุ๋ยดินสูตร 8-24-24  (2) บำรุงให้อาหารทางใบ ดูแลใบให้สมบูรณ์ สะสมอาหาร (3) ให้น้ำเป็นระยะ ประมาณ 1 เดือน (4) พักการให้น้ำ เพื่อให้ทุเรียนสร้างตาดอก
  • ระยะออกดอกถึงหางแย้ไหม้  (1)  ฉีดยาป้องกันเชื้อราพร้อมให้น้ำเรื่อยๆ (2) ตัดแต่งดอกช่วงมะเขือพวงเหลือดอกที่สมบูรณ์และตำแหน่งดอกที่ไว้ (3) ช่วงหางแย้ไหม้ ฉีดยากันรา ให้น้ำ ฉีดยาฆ่าแมลงกับเพลี้ยไฟ           
  • ช่วงลูกเท่าไข่ไก่  (1) แต่งลูก (2) ใส่ปุ๋ย 13-13-21 รดน้ำสม่ำเสมอ (3) ฉีดยาป้องกันหนอนเจาะผล ทุก 10 วันป้องกันเชื้อรา (4)โยงกิ่ง           
  • หลังดอกบาน-4 เดือน  (1) พร้อมเก็บเกี่ยวขายติดต่อพ่อค้า (2) ตกลงการซื้อขายระหว่างการผลิตเจ้าของสวนเรื่องราคา เช่น เหมาตัดเป็นรายกก.หรือ เหมาหมด พ่อค้ามาซื้อในสวน                                         
  • </ul><p>กลุ่มที่ 4 ปัญหาข้อจำกัดของกลุ่มทุเรียนถ้ำสิงห์</p><ul>

  • ไม่สามารถรวมกลุ่มขายได้ คุณภาพไม่เหมือนกัน
  • ทางกลุ่มไม่สามารถกำหนดราคาได้
  • ปัญหาขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้ง
  • ไฟฟ้า กระแสไม่เพียงพอ
  • </ul>

    คำสำคัญ (Tags): #km เกษตรชุมพร
    หมายเลขบันทึก: 105365เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)
    •  ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน
    • ผู้มีส่วนได้เสีย เสียวๆ ครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท