การใช้รีโมทเซนซิงในการติดตามไฟป่าในประเทศไทย


รีโมทเซนซิง ไฟป่า ประเทศไทย

เทคโนโลยีรีโมทเซนซิง ที่ใช้อากาศยาน คือ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่ได้ส่งขึ้นไปสำรวจจากอวกาศ และถ่ายทอดสัญญาณที่ตรวจวัดได้จากภาคพื้นดิน ไปยังสถานีรับสัญญาณ

ดาวเทียมที่ใช้ ในรูปนี้เป็นดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง ชื่อ Terra - ใช้กล้อง MODIS ซึ่งเป็นดาวเทียมของ NASA

ซึ่งสามารถประยุกต์ในการตรวจหาจุดไฟป่าที่ไหม้ในประเทศไทย (จุดสีแดงที่เห็นบนภาพดาวเทียม) โดยใช้กระบวนการสีผสม และการเลือกช่วงคลื่นที่สามารถตรวจวัดความร้อนในจุดภาพ ซึ่งแสดงผลได้ ดังรูป    ภาพที่ถ่ายได้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2545



Thailand_2002008 

 ภาพอ้างอิงจาก http://earthobservatory.nasa.gov/Newsroom/NewImages/images.php3?img_id=7257

ซึ่งการเป็นเจ้าของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโดยประเทศไทยเอง จะทำให้เราสามารถประเมินทรัพยากรของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และรายละเอียดของภาพที่ดีกว่า

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของไทยที่กำลังพัฒนาอยู่ชื่อ THEOS จะส่งขึ้นไปยังอวกาศในปี 2550 นี้ โดยทีมพัฒนาของ สทอภ. และบริษัทประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านอวกาศและการออกแบบอากาศยานให้กับวิศวกรไทย (ระดับปริญญาเอก) ที่จะสามารถออกแบบอากาศยานในรุ่นถัดๆ ไปได้เอง

เป็นความคาดหวังของคนไทยที่จะเห็นดาวเทียมฝีมือคนไทย ในอนาคตที่ไม่ไกลนี้

 

หมายเลขบันทึก: 105360เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท