Strategically Integrated HRD and Designing and Developing Performance Improvement (2)


Strategically Integrated HRD and Designing and Developing Performance Improvement

2.  Designing and Developing Performance Improvement

1.2.1 Organizational Performance หมายถึง ผลงานในระดับขององค์การ ซึ่งแสดงออกมาทั้งทางด้านการเงิน และไม่ใช่การเงิน ซึ่งหลัก ๆ นิยมแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

1. Product and Service

2. Customer Focus

3. Financial and Market -Place

4. Operational องค์การในโลกยุคปัจจุบันที่จะอยู่รอดได้อย่างดี ต้องเป็นองค์การที่มีความเป็นเลิศ (Organization Excellence) คือ การบูรณาการทุกระบบย่อยองค์การให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน องค์การที่มุ่งความเป็นเลิศนอกจากสนใจผลสำเร็จขององค์การ “What” แล้วยังให้ความสนใจด้วยว่า ต้องใช้ความสามารถ (Competency) อะไรในการทำให้สำเร็จ “How”

1.2.2 The Individual Performance กระบวนการบริหารผลงาน ประกอบด้วย

 กลยุทธ์005

จะเห็นว่าในกระบวนการดังกล่าวมีกิจกรรมหลัก ๆ ที่ HRD มีส่วนในการส่งเสริมให้บุคคลและหน่วยงานต้องจัดทำขึ้น ประกอบด้วย

 - การกำหนดเป้าหมาย

- ทำความตกลงกันเรื่อง ผลงานที่คาดหวัง (Performance Agreement)

 - Development Plan

- Performance Standard and Measurement

 - Monitoring and Feedback

- Formal Review and Joint Agreement

 - Performance Appraisal

- Reward

1.2.3 Performance Improvement ในกระบวนการบริหารผลงาน สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องเป็นบริบทร่วมกันระหว่าง

- ผู้บริหารที่จะต้องกำหนดนโยบาย ว่าด้วยการปรับปรุงงาน

 - หัวหน้างาน (Manager) ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนทีมงานให้มีการปรับปรุงงาน

- พนักงานมีความรับผิดชอบในการปรับปรุงงาน

 - HR หรือ HRD มีหน้าที่สนับสนุน ให้คำปรึกษาและใช้ HR / HRD Tools ต่าง ๆ ช่วยในการปรับปรุงงาน โดยเฉพาะการฝึกอบรม พัฒนา สอนงาน ฯลฯ

1.2.4 Workforce Capability Building through Competency Development and Management สิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดในกระบวนการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ คือ การพัฒนาความสามารถของทรัพยากรบุคคลให้อยู่ในระดับที่องค์การต้องการ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในความหมายนี้ จึงไม่สามารถแยกออกการกระบวนการบริหารผลงานและการวางแผนกลยุทธ์ได้ ดังกระบวนการตามภาพข้างล่างนี้

กลยุทธ์006

จากภาพจะพบว่า ส่วนที่เป็น Input เป็นสาระสำคัญด้านการกำหนดกลยุทธ์ และการบริหารผลงาน ที่ต้องใส่ในระบบเพื่อการพัฒนาบุคคล ส่วนในด้าน Output เป็นสิ่งที่ HRD ต้องดำเนินการเพื่อการพัฒนาใน Process หลักที่มีความต่อเนื่อง 4 Process คือ

 - กำหนดความต้องการในการพัฒนางานและพัฒนาคน (Requirement Management)

 - Development Right Competency

- Supply Right Competency

 - Competency and Performance Management

1.2.5 Trend of Workforce Learning and Development แนวโน้มในการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่กำลังเกิดขึ้น คือ

1. รูปแบบการเรียนรู้ที่ได้ผลดี ต้องเป็น Learning By Doing เช่นใช้การ Practice, Discussion, Apply Skill เป็นต้น

2. กรอบความคิดในการเรียนรู้ในอนาคตจะเป็น

 - เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 - เรียนรู้ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา หลากหลายวิธี

- กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง

- เน้น On Demand, On Job, Needs Based

 - Trainer เป็น Facilitator - เรียนรู้เป็นทีม

3. การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ การ (Informal)จะมีความสำคัญสูงขึ้น ๆ

4. การเรียนรู้ในรูปแบบประสมประสาน (Blended Learning)

1.2.6 Return on Training and Development การประเมินผลในการฝึกอบรมและพัฒนา ได้มีนักวิชาการนำเสนอวิธีการตั้งแต่ขั้นประเมินพื้นฐาน จนถึงขั้นแสดงผลตอบแทนทางการเงินที่ผ่านการคำนวณอย่างซับซ้อน ดังแสดงในภาพนี้

 กลยุทธ์007

จากภาพข้างต้นพบว่า การประเมินผลโครงการ/กิจกรรม ด้านการฝึกอบรมพัฒนาสามารถทำได้ 5 ระดับ คือ

1. ระดับปฏิกิริยา (Reaction) เป็นการวัดจากความรู้สึกของผู้เรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

2. ระดับการเรียนรู้ (Learning) เป็นการวัดสิ่งที่เป็นความรู้ ที่ทดสอบได้จากผู้ผ่านโครงการฝึกอบรม/เรียนรู้

3. ระดับประยุกต์ (Application) เป็นการวัดผลของการนำความรู้ไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง

4. ระดับผลลัพธ์ (Business Impact) เป็นการวัดผลสำเร็จที่เกิดกับธุรกิจ หรือผลตาม KPI ที่เกิดจากการที่องค์การมีการฝึกอบรม/พัฒนาเกิดขึ้น

5. ระดับ ROI คือ วัดผลโครงการฝึกอบรม พัฒนาในเชิงผลตอบแทนการลงทุน

บรรณานุกรม

บดินทร์ วิจารณ์ (2550) .เอกสารการบรรยาย Strategically Integrated HRD Niven,Poul R.(2005).

Balance scorecard diagnostics: maintaining maximum performance. New Jersey:

 John Wiley & Sons .Inc. Kearns,Paul.(2003). HR Strategy: Business Focus .Individually Centered. Amsterdam: Butterworth Heinemann.

คำสำคัญ (Tags): #กลยุทธ์
หมายเลขบันทึก: 104917เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท