กลุ่มแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์อิสลาม


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม

๒. กลุ่มแนวความคิดในเศรษฐศาสร์อิสลาม ( The School of Thoughts in Islamic Economics)ตามที่เราได้ทราบถึงความเป็นมาของเศรษฐศาสตร์อิสลามในเบื้องต้นแล้วว่า วิชาทางเศรษฐศาสตร์อิสลามนั้น ด้วยหลักการแล้วได้มีมาตั้งแต่การมาของอิสลาม แต่ในสมัยต้นของอิสามมิได้แยกวิชาต่างๆ ออกเป็นสาขาวิชาย่อย แต่จะรวมอยู่ในหลักการอิสลามโดยรวม เนื่องด้วยยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง การเข้ามาของแนวความคิดที่แปลกปลอมในอิสลามจนทำให้เกิดวิชาต่างๆ ขึ้นมา วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลามถือเป็นวิชาใหม่ที่เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 ในหลักการแล้วนักเศรษฐศาสตร์อิสลามเห็นพ้องกันว่าวิชาเศรษฐศาสตร์อิสลามกับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะเศรษฐศาสตร์ทั่วไปไม่มีพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจ แต่ในระบบอิสลามนั้นมีพระเจ้าเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนอย่างไรก็ตามเมื่อมีคำถามในเรื่องหลักการทางเศรษฐศาสตร์อิสลามก็เริ่มที่จะมีทัศนะที่หลากหลายเกิดขึ้น ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลามที่สามารถรวบรวมได้จนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้กลุ่มที่ 1 ทัศนะในกลุ่มแรกนี้นำโดย Bagir as-Sadr ด้วยงานเขียนของเขาที่ชื่อว่า อิกติศอดุนา  ทัศนะในกลุ่มนี้มรความเห็นว่า วิชาเศรษฐศาสตร์นั้นไม่เคยไปในทางเดียวกันกับอิสลาม เศรษฐศาสตร์ก็เป็นเศรษฐศาสตร์ อิสลามก็ยังคงเป็นอิสลาม ทั้งสองไม่สามารถที่จะรวมกันได้เลย เพราะทั้งสองมาจากปรัชญาที่แตกต่างกัน อีกด้านหนึ่งต่อต้านอิสลาม อีกด้านหนึ่งเป็นอิสลาม                 ตามทัศนะของกลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความแตกต่างทางปรัชญามีผลต่อความแตกต่างทางมุมมองในเรื่องเศรษฐกิจ ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นเพราะความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด ส่วนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของมุษย์มีอยู่จำนวนจำกัด ตามทัศนะกลุ่มนี้ปฎิเสฐขัอคิดเห็นดังกล่าว เพราะพวกเขาเห็นว่าอิสลามนั้นไม่รู้จักกับคำว่าทรัพยากรมีอยู่จำกัด หลักฐานที่ใช้คือ อายาตอัลกุรอ่านที่มีใจความว่า แท้จริงทุกๆ สิ่งนั้นเราสร้างมันตามสัดส่วน (สูเราะห์อัลกอมัร อายาตที่ 49)                 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺนั้นได้สร้างทรัพยากรที่มีอยู่อย่างพอเพียงต่อมนุษย์ในการมีชีวิตในโลกนี้                ทัศนะกลุ่มนี้เช่นกันได้ปฎิเสฐแนวความคิดที่ว่า มนุษย์นั้นมีความต้องการที่ไม่จำกัด ดูได้จากตัวอย่าง การที่มนุษย์ดื่มน้ำ เมื่อเขาอิ่มเขาก็จะหยุดกินทันที เป็นการไม่จริงที่มนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด (จงเปรียบทัศนะนี้กับทฤษฎีอรรถประโยชน์เพิ่ม กฎของการลดน้อยถอยลงและกฎของ Gossen ในวิชาเศรษฐศาสตร์)                ทัศนะกลุ่มนี้มีความเห็นว่า เศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม จนทำให้ผู้ที่แข็งแรงเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า มีสิทธิในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรมากกว่า จนทำให้มีความร่ำรวยอย่างล้นหลาม คนที่จนก็จนอย่างน่าเอ็นดู ด้วยเหตุนั้นเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความขาดแคลนทรัพยากร แต่เกิดขึ้นจากความละโมบของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด                ด้วยเหตุนั้นพวกเขาเห็นว่า คำว่าเศรษฐศาสตร์อิสลามไม่เพียงแค่ไม่เหมาะสมหรือผิดเท่านั้น แต่ยังทำให้หลงผิดไปด้วย ดังนั้นให้หยุดใช้คำว่า เศรษฐศาสตร์อิสลามเสีย และเสนอศัพย์ใหม่ให้ ซึ่งมาจากปรัชญาอิสลาม นั้นก็คือค่ำว่า อิกติศอด ซึ่งมาจากรากเดิมของคำว่า กอสด มีความหมายว่า ความสมดุล ในฐานะที่เท่าเทียมกัน เหมาะสมหรือกึ่งกลาง                ในแนวทางเดียวกันพวกเขาได้ปฎิเสฐและสลัดทิ้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั่วไป และพยายามที่จะสร้างและเรียบเรียงทฤษฎีใหม่ที่ได้มาจากการค้นคว้าจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะห์                นักคิดในกลุ่มนี้นอกจาก Bagir as-Sadr แล้วก็ยังมี  Abbas Mirakhor, Baqir al-Hasani, Kadim as-Sadr, Iraj Toutonchian, Hedayati คนอื่นๆ กลุ่มที่ 2                 ทัศนะของกลุ่มนี้มีความเห็นที่แตกต่างจากกลุ่มแรก ทัศนะของกลุ่มนี้กลับเห็นด้วยกับทัศนะที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด อาจจะเป็นจริงว่าอุปสงค์รวมและอุปทานของข้าวสารที่มีอยู่บนโลกนี้อยู่ในจุดดุลยภาพ แต่ถ้าเราไปมองในสถานที่ที่หนึ่งหรือในเวลาเวลาหนึ่งจะพบว่ามีการขาดแคลนเกิดขึ้น แถมยังเกิดขึ้นบ่อยเสียด้วย ตัวอย่างเช่น อุปทานข้าวในประเทศอิทิโอเปีย บังลาเทศ แน่นอนย่อมมีความขาดแคลนมากกว่าข้าวสารในประเทศไทย ดังเหตุนั้นความขาดแคลนนั้นย่อมมี และอิสลามก็ยอมรับ ดังหลักฐานที่มีใจความว่า และแน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิวด้วยความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีกับผู้อดทนเถิด (สูเราะห์อัลบากอเราะห์ อายาตที่ 155)                 ส่วนความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด ถือเป็นเรื่องปกติ ด้วยหลักฐาน ที่มีใจความว่า การสะสมทรัพย์สมบัติเพื่ออวดอ้าง  ได้ทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน จนกระทั่งพวกเจ้าเข้าไปยังหลุมฝังศพ เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ และเปล่าเลยพวกเจ้าจะได้รู้ มิใช่เช่นนั้น ถ้าพวกเจ้าได้รู้อย่างแท้จริงแล้ว (สูเราะห์อัตตากาซูร อายาตที่ 1-5)                 และก็ได้มีฮาดีษของท่านรซูลที่มีใจความสรุปว่า มนุษย์นั้นไม่เคยมีวันที่เขามีความพอเพียง ถ้าให้ทองหนึ่งก้อน เขาก็จะขอก้อนที่สอง ถ้าให้ก้อนที่สอง เขาก็จะได้ก้อนที่สาม และต่อๆ ไป จนกว่าเขาจะเข้าหลุมฝังศพ                ถ้าดูแล้วกลุ่มทัศนะนี้ก็ไม่มีความแตกต่างจากแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป แล้วใหนละที่เป็นอิสลาม?                 ความแตกต่างของทัศนะนี้กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปอยู่ที่การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหา ในการที่มนุษย์เจอกับปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่สิ้นสุด ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องเลือก และให้ความสำคัญก่อนหลังเพื่อตอบสนองความต้องการ  และจะตัดสินใจเลือกในสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับเขาก่อน ในการตัดสินใจของมนุษย์ที่ไม่มีศาสนาจะตัดสินใจตามความอำเภอใจของเขา แต่สำหรับมนุษย์ที่มีศาสนาจะตัดสินใจตามหลักการศาสนาที่มาจากอัลกุรอ่านและสุนนะห์                นักคิดกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งคือ M.Umer Chapra, M.A.Mannan, M.Nejatullah Siddiqi และคนอื่น ส่วนใหญ่พวกเขาทำงานกับ Islamic Development Bank (IDB) ซึ่งมีงบประมาณอยู่มาก และสามารถขยายแนวความคิดได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตที่จบจากตะวันตก ด้วยเหตุนั้นพวกเขาจึงไม่ทิ้งทฤษฎีทั่วไปลงในถังขยะ                 การเอาสิ่งที่ดีและมีประโยชน์จากเชื้อชาติไม่ใช่สิ่งที่ฮาราม ท่านนบีได้กล่าวว่าวิชาความรู้สำหรับมุสลิมเปรียบเสมือนสิ่งของที่สูญหาย หากมีการพบเจออุมมัตอิสลามเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะได้รับ ประวัติศาสตร์ได้จารึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้ที่นักวิชาการมุสลิมได้จับเอาวิชาความรู้จากวัฒนธรรมอื่น เช่น ยูนาน อินเดีย จีน เปอร์เซีย เป็นต้น จนทำให้มีการเพิ่อทางความรุ้และให้แสงสว่างให้กับอิสลาม กลุ่ม 3                 ทัศนะของกลุ่มนี้จะวิจารณ์ทัศนะของทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาว่า กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่พยามค้นหาสิ่งใหม่ ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่คนเขาค้นพบมาแล้ว และสลัดทิ้งทฤษฎีเก่าเอาทฤษฎีใหม่ ส่วนกลุ่มที่ 2 ถูกวิจารณ์ว่าเป็นกลุ่มที่ลอกเลียนแบบเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกโดยให้ดอกเบี้ยหายไปและแทนด้วยซะกาตและเนียต(เจตนา)                ทัศนะของกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่คิดเชิงวิจารณ์ พวกเขามีความเห็นว่าการวิเคราะห์เชิงวิจารณ์ไม่ใช่เฉพาะกับระบบทุนนิยมหรือสังคมนิยมเท่านั้น แต่กับระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามก็เช่นกัน พวกเขามีความเชื่อมั่นว่าอิสลามนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด แต่เศรษฐศาสตร์อิสลามนั้นยังไม่แน่นอน เพราะเศรษฐศาสตร์อิสลามคือผลมาจากการวิเคราะห์ของมนุษย์จากอัลกุรอ่านและสุนนะห์ จนค่าของความเป็นจริงไม่เป็นสิ่งเด็จขาด ทฤษฎีหรือสิ่งค้นพบจำเป็นต้องทดสอบความถูกต้องอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเศรษฐศาสตร์ทั่วไป                นักคิดกลุ่มนี้คือ Timur Kuran (หัวหน้าสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ของ University of Southern Califonia) , Jomo (Yale, Cambridge, Harvard, Malaya) Muhammad Arif  และคนอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 104238เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

นำหน้าจังนะเรา

ยินดีด้วย

Alhamdulilah semuga berjaya Di dunia dan Akhirat (A-min)

Terima kasih

As'kum

            Smoga Economics Islam akn meliputkn msyrkt di bmi ini,Insya Allah.

Amin. 

 

เศรษฐศาสตร์อิสลามอาจจะยังใหม่ในสายตาคนบ้านเรา เเต่กลับจะมีการประยุกต์ใช้มากขึ้นในอนาคต......ฟันธง..............
อินชาอัลลอฮฺเศรษฐศาสตร์อิสลามจะเติบโต และมีบทบาทมากที่สุดในสังคมมลายูสลาตันไทย......อามีน
อินชาอัลลอฮฺ เศรษฐศาสตร์อิสลามได้รับการยอมรับ..........อามีน

ความฝัน...อิสลามกับคนช่างฝันนั้นมีเยอะ แต่อิสลามยังขาดคนที่ลงมือทำอย่างจริงจัง

อินชาอัลลอฮ์ เราต้องทำได้ เศรษฐศาสตร์อิสลามจะเกิดขึ้นและเป็นที่ยอมรับ ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครหล่ะจะทำ แล้วถ้าไม่ใช่เดี๋ยวนี้ แล้วจะเป็นเมื่อไหร่

เศรษฐศาสตรือิสลามดีที่สุด

เศรษฐศาสตร์อิสลามต้องอยู่คู่กัน เมื่อใดที่ออกนอกกรอบของคำว่าอิสลาม

จะต้องเผชิญกับระบบที่ ซอลิม

ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง

หนูอยากทราบว่าอายะฮฺอัลกรุอ่านที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

มีทั้งหมด เท่าไร และอายะฮฺอะไรบ้างค่ะ

เรียน อ.ณรงค์ หัศนี

ผมเป็นศิษย์เก่าของ ของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ของคณะอิสลามศึกษา สาขาอูศุลุดีน รหัส 46 นะครับ คือตอนนี้ผมกำลังเรียนในระดับปริญญาโท คณะบริหาร ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาการจัดการนวัตกรรม ซึ่งตอนนี้ผมกำลังทำวิจัยเกียวกับการประกอบธุรกิจของธนาคารอิสลามนะ ผมติดปัญหาที่ว่า ผมมีข้อมูลเกียวกับทฤษฎีเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินในทัศนะของอิสลามไม่เพียงพอกับงานวิจัยของผมนะครับ และยังขาดข้อมูลในเชิงลึกอยู่นะครัย ผมรบกวนอาจารย์ในเรื่องขอคำแนะนำของเรืองเอกสารหรือแหล่งข้อมูลเชิงลึกนะครับ

ซุกรอนยะซากัลลอฮุคอยรอนยะซา

คอลิตบินอิดริส

ไม่ทราบว่าฆอเล็ดอยู่ที่กรุงเทพหรืออยู่ที่ใต้ตอนนี้ หากอยู่ที่ใต้ก็สามารถถ่ายเอกสารหรืองานวิจัยของอาจารย์ที่เคยทำมาแล้วที่เกี่ยวกับธนาคารอิสลาม แต่งานวิจัยที่อาจารย์เคยทำนั้นเป็นภาษาอินโดนีเซีย และเอกสารภาษาอินโดนีเซีย อาจารย์คิดว่าฆอเล็ดน่าจะอ่านได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท