beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

วิธีเก็บเงิน "ช่วยเหลือผู้อื่น" โดยไม่เบียดเบียนตัวเอง


เป็นเรื่องของวิธีการประหยัดเงินจากประสบการณ์จริงของผม

       วันนี้ ระหว่างนั่งรถโดยสาร ผมนึกถึงหัวข้อบันทึกนี้ได้ เลยรีบเก็บมาฝากท่านผู้อ่านครับ (เดี๋ยวจะลืมบันทึกไป)

       เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ "การประหยัด อดออม" ซึ่งส่วนมากเราทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อญาติของเรา แต่ครั้งนี้ เราก้าวข้ามไปอีกขั้นหนึ่งครับ คือ "เก็บเงินไว้ช่วยเหลือคนอื่น ที่ไม่ใช่ญาติของเรา (ในชาตินี้)" ครับ  (ทุกเรื่องเป็นประสบการณ์จริงของผม)

  1. บ้านหลังหนึ่ง (คนมีหลายบ้าน) ผมอยู่แถวสะพานใหม่ ปกติเวลาผมจะไปขึ้นรถทัวร์ที่หมอชิต ๒ ผมก็จะใช้บริการรถสาธารณะของ ขสมก. ท่อนแรก ผมก็จะขึ้นรถจากสะพานใหม่ไปลงป้ายที่ ธนาคารทหารไทย (แถวจตุจักร) ค่ารถก็อยู่ประมาณ ๑๖ ถึง ๒๐ บาท (๒๐ บาทเป็นรถตู้)  จากนั้น (ท่อนที่สอง) ก็ต่อรถ ปอ.ที่ไปหมอชิต ๒ ราคาจะตกประมาณ ๑๔ บาท (ขึ้นครั้งล่าสุด)
    ถ้าคิดเรื่องประหยัดสตางค์ หลายท่านก็คงคิดว่า เปลี่ยนจากรถปอ. (ปรับอากาศ) มาใช้บริการรถธรรมดา (รถร้อน)  ๒ ทอด ทอดละ ๘ บาท ก็จะเป็นเงิน ๑๖ บาท
    แต่ผมมีวิธีดีกว่านั้นครับ ไม่เบียดเบียนต้วเองจนเกินไป คือบริเวณเส้นทางถนนพหลโยธินขาเข้า จะมีรถป.๒ (ปรับอากาศชั้นสอง) ขาเข้า (เป็นรถสายสั้น) วิ่งจาก บางปะอิน-กรุงเทพฯ (หมอชิต ๒)  มาผ่านตรงสะพานใหม่ ถ้าพอทราบเวลา ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง จะมีรถผ่านหนึ่งคัน (ช่วงกลางวัน)  อย่างเช่น เวลาประมาณ ห้าโมงครึ่ง (ห้าโมงเย็น) จะมีรถผ่านมา เราก็โบกให้จอด (ถ้าไม่มีผู้โดยสารลง)  แล้วเราก็ขึ้นไปหาที่นั่ง (ส่วนมากรถจะว่าง) พนักงานเก็บเงินก็จะมาขอเก็บค่าโดยสาร เราก็จ่ายไป ๑๐ บาท เราก็จะถึงหมอชิต ๒ ได้ โดยใช้เงินแค่ ๑๐ บาท เท่านั้นเอง
    ถึงตรงนี้ จะพบว่า ในเป้าหมายที่เราจะเดินทางไป คือ หมอชิต ๒ เหมือนกัน ตรงนี้เราจะประหยัดเงินไปได้ถึง ๒๔ บาท (จากข้างต้น ๒๐+๑๔-๑๐ = ๒๔ บาท) นอกจากไม่เบียดเบียนตนเองแล้ว เงินที่เราประหยัดได้ (๒๔) บาท เราก็จะนำมา "หยอดกระปุก" ไว้
  2. เวลาเดินทางด้วยเครื่องบิน เส้นทางพิษณุโลก-กรุงเทพฯ เรามักพบผู้โดยสารจาก มน. ที่มาจากต่างหน่วยงานเกิน ๑ คนเสมอ หากเราหาผู้ร่วมทาง เดินทางไปรถสาธารณะ (แท๊กซี่) ด้วยกัน และ Share กันออก เราก็จะมีส่วนต่างจากที่เราเบิกค่าแท๊กซี่มา  ประมาณ ๕๐-๑๐๐ บาท ส่วนที่เรานำไปเบิกแต่ไม่ได้จ่ายจริง เราก็นำมา "ใส่กระปุก" ไว้ 
  3. บางครั้งเราเก็บเงินที่หาเจ้าของไม่ได้ ในที่สาธารณะ ไม่ทราบว่าจะคืนใคร เราก็นำมา "เก็บใส่กระปุก" ไว้
  4. รอไอเดียดีๆ จากท่านผู้อ่าน....

         นานวันเข้า เงินในกระปุกเราเต็ม เราก็เอาออกมา "ทำบุญ" บริจาคทานให้ก้บ "ผู้ด้อยโอกาส" หรือ บริจาคให้มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น

        หมายเหตุ

  1. ผมพึ่งเริ่มเก็บเงินแบบนี้ครับ
  2. มีเงินอีกประเภทหนึ่งที่ผมเริ่มได้ คือค่าตอบแทนวิทยากร ผมจะพยายามแบ่งครึ่งออกมาครับ ส่วนที่แบ่งครึ่งมานั้นเอาไปฝากธนาคารสะสมเป็นกองทุน เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เบิกเงินทางราชการไม่ได้ หรือไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์   神奇的蜂爷   shen2  qi2  de1  feng1  ye2

beeman by Apinya
หมายเลขบันทึก: 104140เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

P

เป็นideaที่ดีมากค่ะ ขอนำไปใช้สอนหลานนะคะ

เริ่มสอนหลานตั้งแต่เล็กแล้วค่ะ

ที่นี่

  • เก็บเงิน ออมเงิน เป็นเรื่องที่ดี
  •  แต่ไม่ต้องถึง กับ
  •  อด มา เพื่อ ออม ครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์beeman
  • วันนี้ผมได้รับวีซีดีเรียบร้อยแล้วครับ ขอบพระคุณมากครับ
  • แต่เป็นเรื่อง เสียงกู่จากครูใหญ่ครับ ไม่ใช่ครูสมพรคนสอนลิงที่ขอครับ
  • เพื่อทราบและกรุณาเอื้ออาทรต่อไปครับ
  • รีบจัดการโทรไปบอก "พัชรา" แล้วครับ
  • เธอจะรีบส่งไปให้ใหม่โดยมิชักช้า

สวัสดีค่ะอาจารย์beeman

  • ติดตามอยู่ค่ะ
  • อ่านแล้วเป็นประโยชน์มากค่ะ ได้ตัวอย่างอีกหนึ่งแนวทาง ที่โรงเรียนก็มีโครงงานการออมค่ะ
  • ขอถามข้อสงสัยว่าถ้าให้นักเรียนสมัครblogในlearners. เพื่อให้นักเรียนส่งงานทางblog แต่ทดลองบ้าง ปัญหาคือดึงเข้าแพลนเน็ตไม่ได้ เข้าใจว่าอยู่คนละวงกัน ก็เลยยังงงอยู่หรือจะให้เด็กสมัครในgotoknow แต่เห็นมีแต่ผู้ใหญ่มากกว่า ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
  • อยู่คนละวงกันจริงๆ ครับ สร้างแพลนเน็ตข้ามวงไม่ได้ (เพื่อป้องกันปันหาการจราจร) 
  • ความจริงทำ Link  บล็อกได้ แต่ก็มีปัญหาทางปฏิบัติหลายข้อ
  • ดังนั้นทางที่ดี คุณครูแขไข เข้าไปสมัคร Learners ก่อน โดยใช้รหัสทุกอย่างเหมือน GotoKnow เลย (จำง่าย)
  • เปิดบล็อก มีบันทึกที่ต้องการสอนนักเรียนสักเล็กน้อย
  • แล้วสร้าง Planet ที่นั่นเลยครับ
  • ขอบคุณสำหรับคำตอบจากตัวอักษรและคำพูดค่ะ
  • จะทดลองสร้างและเชื่อมโยงดูค่ะ
  • ขอบคุณครับ
  • รายงานสดจากโรงเรียนนาบัววิทยา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท