เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี
เด็กหญิง ประเสริฐ (أُخْتٌ صَغِيْرَةٌ ) รัศมีแห่งดวงตา เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี

ค่าความเร็วแสงในอัลกรุอ่าน


คำว่า "นูร" ซึ่งแปลว่าแสงนั้น มีกล่าวอยู่หลายต่อหลายแห่งในกุรอานและฮาดิษ นูร ในที่นี้อาจจะ มีนัยไปถึงคำว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มนุษย์รู้จักในปัจจุบัน

ความเร็วแสง
GREATEST SPEED OF C


แสงเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มนุษย์คุ้นเคยมาตลอด นักคิด นักปรัชญา นับตั้งแต่ยุคดึกดำบรร สนใจพยาามจะหาคำตอบให้ได้ว่า  แสงคืออะไรกันแน่ นักวิทยาศาสร์มุสลิม เช่น อิบนู ซินา, อิบนู ฮัยตัม,อูลัก เบค และท่านอิ่นๆในช่วงปี 900-1300 ได้พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับแสง อิบนู ซินา เชื่อว่า แสงมีความเร็วจำกัดค่าหนึ่ง อิบนู ฮัยตัม กล่าวว่าการที่ตามองเห็นเพราะมีแสง
จากวัตถุเข้าสู่ตา หมายถึงเรามองไม่เห็นแสงแต่แสงทำให้เรามองเห็นวัตถุต่างๆ ซึ่งความคิด เหล่านี้ได้ส่งผ่านมายังนักวิทยาศาสตร์ยุโรป ในสมัย Ronassanceหรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ นักวิทยาศาสตร์ยุโรปหลายคนในช่วงปี 1600 เป็นต้นมาเช่น กาลิเลโอ โรเมอร์ ฮอยเกน
เฟรสเนล เป็นต้น ได้สนใจและ พยายามวัดความเร็วของแสง โดยวิธีต่างๆกัน ปรากฏว่า ความเร็วของแสงที่วัดได้มีค่าสูงมากคือ ประมาณสามแสนกิโลเมตรต่อวินาที และมีค่าคงที่สำหรับตัวกลางที่เป็นสูญญากาศ หากแสง เคลื่อนที่ในตัวกลางอื่นๆความเร็ว
จะลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหักเหของแสง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จึงมีความเร็วเท่ากับแสง ตามทฤษฏีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกเวล ไอสไตน์ได้อาศัยคุณสมบัติของแสงที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด และสิ่งอื่นๆจะไม่ สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง มาสร้างทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษอันโด่งดัง และทฤษฏี สัมพัทธภาพทั่วไป (ประมาณปี 1900-1905) ซึ่งเป็นสนใจชองนักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แม้แต่วันนี้ทฤษฏีเหล่านี้ ยังถือว่าใหม่อยู่ แสงนั้นเกี่ยวข้องกับจักรวาลโดยครง เพราะ จักรวาลนั้นกว้างใหญาไพศาลยิ่งนัก ระยะทางระหว่างดวงดาวนั้นวัดกันเป็นปีแสง หมายถึงระยะเวลาที่แสงใช้เวลาในการเดินทาง ถึงแม้ว่าในระยะปี 1400 เป็นต้นมาโลกมุสลิมเกือบจะไม่มีนักวิทยาศาสตร์เลยก็ตาม
แต่หลักการแล้วอิสลามคือศาสนาของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นยุคใหน สมัยใด กุรอาน ไม่เคยล้าสมัย ความเร็วแสงหรือนูร มีกล่าวเป็นนัยๆอยู่ในกุรอาน ในกุรอาน ซุเระฮฺ อัซซัจญะดะฮฺ อายัตที่ 5 และซูเราะฮฺ อัลฮัจย์ อายัตที่ 47 ได้กล่าวถึงตัวเลขบางค่า
ที่เกี่ยวกับเวลา เป็นการเดินทางของปรากฏการณ์บนฟากฟ้าที่เทียบกับเวลาบนโลก จากอายัต ทั้งสอง นี้เราสามารถวิเคราะห์ในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ว่าความเร็วในการเดินทางของปรากฏการณ์ที่ในกุรอานกล่าว ถึง คือ ความเร็วแสง อายัตทั้งสองมีดังนี้

 

ความว่า "พระองค์บริหารงานจากฟากฟ้าสู่ แผ่นดิน หลังจากนั้นจะขึ้นไปยัง พระองค์ภายใน 1 วันซึ่งระยะเวลา ของมันเท่ากับ 1000 ปี จากจำนวน ที่พวกเจ้าเคยนับ" 32:5

ความว่า "และพวกเขา ที่เร่งต่อเจ้าให้มีการลงโทษ โดยเร็วและอัลลอฮฺจะไม่ผิดสัญญาของ พระองค์ อย่างแน่นอนและแท้จริงวันหนึ่ง ณ องค์อภิบาลของเจ้านั้น เหมือนดังพันปีตามจำนวนที่พวกเจ้านับ" 22:47
                                                                                          การวิเคราะห์
ดวงจันทร์เป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด การนับเดิอนมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้
1.โดยดวงจันทร์โคจรรอบโลก และดวงจันทร์ เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับตำแหน่ง บนโลก ทำให้ดวงจันทร์ที่เราสังเกตเห็นบนโลกเป็นจันทร์เสี้ยว ช่วงเวลาที่เราเห็นดวงจันทร์ครบรอบคือ 29.53 วัน เรียกว่า Synodic month(เดือนทางจันทรคติ) 2.แต่ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกนั้นทั้งโลกและดวงจันทร์ก็โคจรรอบ ดวงอาทิทย์ด้วย ดังนั้นตำแหน่งของดวงจันทร์ถ้าเทียบกับดาวก็จะแตกต่างกันด้วย ช่วงเวลาที่ตำแหน่งของ ดวงจันทร์เปลี่ยนไปครบรอบเมื่อเทียบกับดาว เป็นเวลา 27.32 วัน เรียกว่า Siderial month ซึ่งเป็นเวลาที่แท้จริงของ การโคจรครบรอบของดวงจันทร์ โดยมีรัศมีการโคจรเกือบเป็นวงกลม   r = 84264 กม.

                                                Lunar month and Terrestrial day
      Period                                 Sideral                                                                          Synodic
Lunar Month T        27.321661 วัน หรือ 655.71986 ชม.                                                29.5309 วัน
Terrestrial Day t     23 ชม. 56 นาที 4.0906 วินาที หรือ 86164.0906 วินาที               24 ชม. หรือ 86400 วินาที

    ปรากฏการในฟากฟ้า(Cosmic affair)เดินทางจากฟากฟ้ามายังโลก ใน 1 วัน หรือ 1 วันในอีกมิติหนึ่ง
วัดได้ 1,000 ปีสำหรับมนุษย์ (12,000 เดือน ) ดังนั้นถ้า ระยะทาง คือ ความเร็วคูณเวลา จะได้
(ความเร็วแสง)X(Sideral Terrestrial day) = (หนึ่งพันปีของ Lunar Year) X (จำนวนเดือนต่อปี) X (moon orbit length)
เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
                              Ct = 12,000 L
  เมื่อ C=ความเร็วของปรากฏการบนฟากฟ้า,
  t=ระยะเวลา 1 วัน = 86,164.0906 วินาที (sidereal day) และ
                             L=Vcos@T
เมื่อ V=average orbital velocity of moon =3,682.07 km/hr
                             @ =angle travelled by earth moon system=26.92848
T =sidereal lunar month = 655.71986 hr
  จะได้
                             Ct=12,000Vcos@T
  ดังนั้น
                   C =(12,000Vcos@T)/t จะได้C C=12,000x3,682.07x0,89157x655.71986/86,164.0906       ได้
                                                                                   C = 299,792.5 km/s
ค่า C ที่ได้เป็นค่าเดียวกับความเร็วของแสงหรือความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เคลื่อน ที่ผ่านสูญญากาศแสดงว่าอายัตที่ กล่าวมานั้น อัลลอฮฺบอกเป็นนัยถึงค่าคงที่ของจักรวาลค่านี้ ค่าที่ยอมรับปัจจุบันคือ
                                                                                    C=299,792.458 km/s
คำว่า "นูร" ซึ่งแปลว่าแสงนั้น มีกล่าวอยู่หลายต่อหลายแห่งในกุรอานและฮาดิษ นูร ในที่นี้อาจจะ มีนัยไปถึงคำว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มนุษย์รู้จักในปัจจุบัน

                                                                             อัลลอฮฺ ฮูอักบัร

หมายเลขบันทึก: 104020เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ค่าความเร็วแสงในอัลกรุอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท